อังคณา

ผู้เขียน : อังคณา

อัพเดท: 21 ก.ค. 2008 11.20 น. บทความนี้มีผู้ชม: 44029 ครั้ง

EQ หรือความฉลาดทางอารมณ์มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ และนักวิจัยได้ยืนยันแล้วว่า...EQ ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง...


ความฉลาดทางอารมณ์มีความสำคัญอย่างไร?

ความฉลาดทางอารมณ์มีความสำคัญอย่างไร?

 

จากการศึกษาค้นคว้าของผู้ที่มีความสนใจในเรื่องของความฉลาดทางอารมณ์ จะเห็นได้ว่าความฉลาดทางอารมณ์เป็นเรื่องที่มีความหมายและมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตของมนุษย์  

ทำไม? ความฉลาดทางอารมณ์จึงมีความสำคัญมากกว่าเชาว์ปัญญา

 

Goleman ได้ชี้ให้เห็นว่า…

ทำไมความฉลาดทางอารมณ์จึงมีความสำคัญมากกว่าเชาว์ปัญญา

โดยกล่าวว่าเป็นระยะเวลายาวนานที่คนเราให้ความสำคัญกับสมอง

โดยไม่ใส่ใจสิ่งสำคัญที่ช่วยส่งเสริมความสำเร็จในชีวิต

คือกลุ่มของทักษะทางอารมณ์ที่สามารถสอนได้

ไม่เหมือนเชาว์ปัญญาที่ยากแก่การสอนและพัฒนา

ความฉลาดทางอารมณ์ช่วยอธิบายว่า...

ทำไมบุคคลที่มีความฉลาดทางปัญญาสูง ไม่สามารถประสบความสำเร็จในชีวิต ในขณะที่บางคนมีความฉลาดทางปัญญาธรรมดากลับเป็นผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตสูงสุด

นอกจากนี้ความฉลาดทางอารมณ์เป็นความสามารถที่จะจัดการและตรวจสอบอารมณ์ของตนเองทุกนาที จูงใจตนเองไปยังเป้าหมาย เข้าใจผู้อื่นและจัดการกับความขัดแย้งและสัมพันธภาพระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี

(Goleman 1995 : 45-46)

 

 นอกจากนี้ Goleman ยังเชื่อว่าบุคคลที่ขาดความฉลาดทางอารมณ์ก็จะนำไปสู่การเกิดปัญหาด้านสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจได้ โดยเกิดผลเสียต่อบุคคลและประสิทธิภาพในการทำงานขององค์การ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Peter (2007 : ออนไลน์) ที่พบว่า ความฉลาดทางอารมณ์มีผลต่อพฤติกรรมและสุขภาพ กล่าวคือ การมีเหตุผลในการใช้อารมณ์ (การเข้าใจและการควบคุมอารมณ์) เพื่อการตัดสินใจและการปฏิบัตินั้นเกี่ยวข้องกับสุขภาพ การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และสุขภาพดูเหมือนจะช่วยให้คนเราใช้ความรู้ในทิศทางที่เหมาะสม เพื่อทำให้การตัดสินใจดีกว่าด้วย

“คนที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงหรือมีทักษะทางอารมณ์ที่ได้รับการพัฒนา

มาเป็นอย่างดี จะเป็นคนที่สามารถรับรู้ เข้าใจและจัดการกับความรู้สึกของตนเองได้ดี รวมทั้งเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น จึงมักประสบความสำเร็จ

มีความพึงพอใจในชีวิต สามารถสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ออกมาได้เสมอ

ตรงกันข้ามกับคนที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ มักจะเต็มไปด้วยความขัดแย้งภายในจิตใจ พลอยทำให้ขาดสมาธิในการทำงานและมีความคิดที่หมกมุ่น กังวล ไม่ปลอดโปร่ง”

(กรมสุขภาพจิต 2550: ออนไลน์)


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที