จิรประภา

ผู้เขียน : จิรประภา

อัพเดท: 04 ก.ย. 2008 17.00 น. บทความนี้มีผู้ชม: 26461 ครั้ง

In trend กับวัยรุ่นไทย - ร้ายแต่ไม่ไร้สาระ ไม่ว่าท่านจะอายุเท่าไหร่ เด็ก วัยรุ่น วัยเรียน วัยทำงาน หรือผู้ปกครอง ท่านสามารถจะตามทันกระแสของวัยรุ่นไทยได้ โดยดิฉันจะเป็นผู้จับกระแสวัยรุ่นมาบอกเล่าให้ทราบเอง วันนี้ขอเสนอของเล่นที่กำลังฮิตและ In มากๆ มาทำความรู้จักกันค่ะ เผื่อใครจะอยากเอาไปเล่นแก้เครียดเวลาทำงานก็ได้นะคะ


มาสนุกกับ รูบิค ต่อค่ะ

*    หลักการทำงาน

ลูกบาศก์ของรูบิค  มีขนาดมาตรฐานโดยประมาณ 2 1/8 นิ้ว (5.4 ซ.ม.) กว้าง ยาวและสูง ลูกบาศก์ประกอบด้วยลูกบาศก์ขนาดย่อม 26 ชิ้น ชิ้นกลางหน้าของแต่ละด้าน จะเป็นชิ้นที่มีสีหน้าเดียว และเชื่อมต่อกับกลไกการหมุนที่แกนกลาง

32885_200px-Abierto.jpg

ลูกบาศก์ของรูบิค  ( Square-1 )

 ซึ่งชิ้นกลางหน้าที่ยึดติดกับแกนกลางนี้จะเป็นโครงสร้างที่ขัดส่วนที่เหลือไว้ด้วยกัน และหมุนไปมาได้ ดังนั้นทั้งหมดจะมี 27 ชิ้นส่วน แกนกลางสำหรับหมุน 1 ชิ้น ชิ้นกลางหน้า 6 ชิ้น และ ชิ้นอื่นๆ อีก 20 ชิ้น ซึ่งสามารถประกอบเข้ากับชิ้นกลางหน้าที่ยึดติดกับแกนหมุนได้พอดี

โดยจะมีส่วนที่ออกแบบให้ยึดขัดกันไม่ให้หลุดออกจากกัน แต่หมุนไปมาได้ การแยกชิ้นส่วนของลูกบาศก์ก็ไม่ได้ยากอะไร เพียงแต่งัดชิ้นที่เป็นมุมให้หลุดออกมาส่วนที่เหลือก็จะหลุดออกจากกันเอง

การแก้ปัญหาลูกบาศก์ของรูบิคโดยวิธีการแยกส่วนประกอบเป็นวิธีที่ง่าย แต่ขาดความท้าทายนอกเหนือจากชิ้นกลางหน้าแล้ว จะมีลูกบาศก์ขนาดย่อมอีก 20 ชิ้น มี 12 ชิ้นเป็นชิ้นขอบ ซึ่งมีสี 2 ด้าน และ 8 ชิ้นเป็นชิ้นมุม ซึ่งมีสี 3 ด้าน

 

*    การเรียงสลับ

ลูกบาศก์ของรูบิค มีจำนวนรูปแบบการเรียงสลับเปลี่ยนที่แตกต่างกันทั้งหมด ประมาณ 43 ล้าน ล้าน ล้าน (quintillion) รูปแบบ  ถึงแม้จะมีรูปแบบการจัดเรียงเป็นจำนวนมาก แต่ทุกรูปแบบสามารถแก้ได้ภายในการบิด 29 ครั้งหรือ น้อยกว่า

 

*    การแข่งขัน

มีการจัดการแข่งขัน ปั่นลูกบาศก์ (speedcubing) เพื่อหาผู้ที่สามารถแก้ปัญหาลูกบาศก์ของรูบิคได้เร็วที่สุด การแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงบูดาเปสต์ ในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1982 ผู้ชนะเลิศการแข่งขันในครั้งนั้นคือ มิน ไท (Minh Thai) นักศึกษาชาวเวียดนามจาก นครลอสแอนเจลิส โดยใช้เวลา 22.95 วินาที สถิติโลกอย่างเป็นทางการที่ยอมรับโดย สหพันธ์ลูกบาศก์โลก (World Cube Association) ซึ่งเป็นองค์กรควบคุมการจัดการแข่งขัน

และ สถิติ ในปัจจุบันคือ 14.52 วินาที (โดยการเฉลี่ยจากการแก้ปัญหาลูกบาศก์ 5 ลูก) ของ "แมกกี" มากิซูมิ โชทาโร่ (Shotaro "Macky" Makisumi) นักศึกษาโรงเรียนมัธยม ชาวญี่ปุ่น ซึ่งอาศัยในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย จากการแข่งขันที่ เมืองพาซาดีนา มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ในวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 2004 ในขณะนั้นมากิซูมิ ซึ่งมีอายุ 14 ปี เป็นนักเรียนมัธยม เกรด8 ได้เข้าร่วมการแข่งขันฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. 2004 จัดขึ้นที่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย (Caltech) นอกจากนี้แล้วเขายังเป็นผู้ทำสถิติเร็วที่สุดในการแก้ลูกบาศก์ลูกเดียวโดยใช้ 12.11 วินาที

นอกจากนี้ยังมีสถิติอื่นที่ไม่เป็นทางการ ที่ใช้เวลาน้อยกว่านี้ แต่เนื่องจากไม่ได้มีการจัดการแข่งขัน และ จับเวลา ที่เป็นมาตรฐาน ดังนั้นมีเพียงสถิติที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ลูกบาศก์โลกเท่านั้น ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป

ในปี ค.ศ. 2004 สหพันธ์ลูกบาศก์โลก ได้จัดทำมาตรฐานใหม่ โดยใช้อุปกรณ์จับเวลาที่เรียกว่า นาฬิกาจับเวลาสแตคแมท (Stackmat timer)

ในปี ค.ศ. 2007 คาวาซากิเฮฟวี่อินดรัสทรีส์ (Kawasaki Heavy Industries) ผู้ผลิตเครื่องจักรของญี่ปุ่น โชว์ตัวหุ่นยนต์ชื่อ "Cube-kun" ที่มีความสามารถการเล่นรูบิคได้อย่างรวดเร็ว

                *    การแบ่งประเภทของรูบิคในปัจจุบัน

32885_moo.jpg

ภาพ รูบิค แบบต่างๆ จากซ้าย -> ขวา ได้แก่ รูบิคล้างแค้น , ลูกบาศก์ของรูบิค , รูบิคศาสตราจารย์ , รูบิคพกพา
          1.     รูบิคล้างแค้น (Rubik’s Revenge)
ชื่อค่อนข้างน่ากลัวนะคะ มีขนาด 4x4x4 มีวิธีการเรียงสับเปลี่ยนที่แตกต่างกันทั้งหมด     7.4*1045 วิธี
          2.     รูบิคพกพา (Pocket Cube)

มีขนาด 2x2x2 มีวิธีการเรียงสับเปลี่ยนที่แตกต่างกันทั้งหมด  3,674,160 วิธี

          3.    รูบิคศาสตราจารย์ (Professor’s Cube)

มีขนาด 5x5x5 มีวิธีการเรียงสับเปลี่ยนที่แตกต่างกันทั้งหมด  2.8*1074 วิธี

*    การแข่งขันในประเทศไทย

การแข่งขันแก้รูบิคไม่ได้มีเพียงแต่ในต่างประเทศ

เท่านั้นนะคะ ในประเทศไทยของเราเองก็ได้มีการจัดการแข่งขันทักษะการแก้รูบิคขึ้นเช่นกัน จัดให้มีขึ้นครั้งแรกโดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ภายในงานถนนสายวิทยาศาสตร์ประจำปี 2551 ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างวันที่ 23-26 มกราคม พ.ศ. 2551 ชื่อ “การแข่งขัน รูบิก อพวช. (NSM Rubik’s Cube Speed Contest 2008)

                ได้ผู้ชนะเลิศที่ทำเวลาได้เร็วที่สุดจากการแข่งขันในวันสุดท้ายของงาน โดยกติกาการแข่งขันนั้นผู้ผ่านรอบคัดเลือกเข้าสู่รอบสุดท้ายต้องแก้ลูกบาศก์รูบิคให้สีแต่ละด้านตรงกันภายใน 5 นาที ซึ่งผู้ที่ทำเวลาได้เร็วที่สดเป็นผู้ชนะเลิศ โดยแบ่งการแข่งขันเป็น 3 ระดับคือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และประชาชนทั่วไป ผลการแข่งขันเป็นดังนี้

-          ระดับประถมศึกษา

ผู้ชนะเลิศ ด.ช. ธีรัช   จารุวัฒนกุล  ชั้น ป.1 ร.ร.อัสสัมชัญ ลำปาง ทำเวลาได้ 30.56 วินาที

                - ระดับมัธยมศึกษา

                ผู้ชนะเลิศ นายกิตติกร  ตั้งสุจริตธรรม ชั้น ม.5 ร.ร.หอวัง ทำเวลาได้ 13.38 วินาที

-          ระดับประชาชนทั่วไป

ผู้ชนะเลิก นายชลเทพ  กิจสินธพชัย นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำเวลาได้ 21.46 วินาที

                ทั้งนี้ นายกิตติกร  ตั้งสุจริตธรรม เคยชนะเลิศอันดับ 1 จากการแข่งขันรูบิก “Toy R Us” ของบริษัทเอกชนเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ด้าน นายธนากร   พละชัย รองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เผยถึงการจัดการแข่งขันรูบิกในงานถนนสายวิทยาศาสตร์ว่า “การแข่งขันรูบิกนอกจากต้องใช้ความคิดในทางทฤษฎีแล้ว ยังต้องฝึกทักษะ ซึ่งคล้ายกับการคิดเลขที่ทุกคนสามารถคิดได้ แต่ขึ้นอยู่กับว่าใครจะคิดได้เร็วกว่า”

 

                เอาล่ะค่ะคิดว่า ทุกท่านคงรู้จักของเล่น รูบิค ชิ้นนี้เป็นอย่างดีแล้ว ไม่ใช่เพียงเฉพาะเด็กๆเท่านั้นนะคะที่เล่นได้ นักศึกษา ประชาชน ผู้ใหญ่วัยทำงาน หรือแม้แต่ผู้ปกครองก็สามารถร่วมเล่นรูบิคกับเด็กๆของเราได้ ซึ่งนอกจากจะให้ความเพลิดเพลินแล้ว ยังเป็นการฝึกทักษะ ฝึกสมอง และกระชับความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัวอีกด้วยค่ะ ดิฉันจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะได้ร่วม In trend กับกิจกรรมของเด็กวัยรุ่นไทย ที่ไม่ไร้สาระชิ้นนี้ด้วยกันนะคะ

 

øvøvøvøvøvøvøvøvøvøv

 

เอกสารอ้างอิง

1.        www.wikipedia.org.  วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เรื่อง ลูกบาศก์ของรูบิค

2.        www.manager.co.th หัวข้อข่าว แบไต๋วิธีแก้ไข “รูบิก” แบบเริ่มต้นกับแชมป์เด็กไทย โดยผู้จัดการออนไลน์ ลงวันที่ 7 มีนาคม 2551

3.        www.manager.co.th หัวข้อข่าว 13.38 วิ เร็วสุดของแชมป์ รูบิก บนถนนสายวิทย์ 51 โดยผู้จัดการออนไลน์ ลงวันที่ 26 มกราคม 2551

 

øvøvøvøvøvøvøvøvøvøv


       



บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที