ธีระพงษ์

ผู้เขียน : ธีระพงษ์

อัพเดท: 10 พ.ย. 2008 21.19 น. บทความนี้มีผู้ชม: 252407 ครั้ง

บทความในส่วน ของ Cross Function Team นี้ ต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่าผมเองนั้น มิได้เป็นผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

แต่บทความที่เขียนนี้ เขียนขึ้นจากประสบการณ์ ที่ได้ลงมือปฏิบัติในหน่วยงานคุณภาพขององค์กร ซึ่งองค์กรที่ผมทำงานอยู่ได้ พยายามสร้างระบบคุณภาพ

ที่มุ่งสร้างพฤติกรรม การทำงานเป็นทีมให้เกิดขึ้นกับบุคลากรในองค์กร โชคดีที่ผู้บริหารระดับสูง ให้ความสำคัญ และพยายามพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนเป็น 4 ปี

บทความนี้จะเป็นการบันทึกประสบการณ์จากจุดเริ่มต้นจนสู่ความสำเร็จ ซึ่งหวังว่าจะผู้อ่านจะสามารถนำไปแนวทาง เพื่อพัฒนาสู่การปฏิบัติ ในองค์กรของตนได้

13/10/2008 เรื่องเด่นวันนี้

ขอบคุณผู้อ่านที่แวะเข้ามาเยี่ยมบทความเล็กๆ เรื่องนี้ อย่างไรก็ดีหากไม่เป็นการรบกวนจนเกินไปช่วยติชมด้วยทั้งจากผู้อ่าน และผู้รู้เพื่อการพัฒนาต่อยอดครับ หรือผู้อ่านต้องการให้เสริมในมุมไหนผมจะยินดีเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณล่วงหน้าครับ


ระบบวงจร คุณภาพ PDCA จากหลักการสู่วิธีการปฏิบัติ และสร้างทีมคุณภาพ ตอนที่2



ระบบวงจร คุณภาพ PDCA จากหลักการสู่วิธีการปฏิบัติ และสร้างทีมคุณภาพ ตอนที่2


ระบบของความรู้ความเข้าใจเชิงลึก

 

การสร้างความรู้ความเข้าใจนั้นจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง และทำให้การองค์ที่พัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งนั่นจะประกอบด้วย

 

1.        ทฤษฏีการเรียนรู้ (กำหนดสมมติฐาน, ทดสอบ, และการพัฒนา)

2.        ทฤษฏีตัวแปร (วิเคราะห์ ปัจจัย และสิ่งที่ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพ)

3.        ทฤษฏีระบบดำเนินการ (เข้าใจ และจัดการกับสภาพแวดล้อมภายใน และสภาพแวดล้อมภายออกองค์กร)

4.        จิตวิทยาในที่ทำงาน สร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ, มีการสื่อสารที่ดี, มีระบบผลตอบแทนที่ดี, และสนับสนุนการทำงานเป็นทีม


วงจรแห่งการเรียนรู้ PDCA

 

ทฤษฏีคุณภาพ PDCA มีพื้นฐานอยู่บนการสร้างความรู้ความเข้าใจเชิงลึก ร่วมถึงการสร้างภาวะผู้นำ และกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง ความเข้าใจนั้นจะทำให้หลักการเปลี่ยนแปลงไปสู่วิธีการปฏิบัติ วงจรคุณภาพ PDCA (Plan, Do, Check, Act) นั้นจะสนับสนุนให้เกิด ความรู้ความเข้าใจเชิงลึก และก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ยั่งยืน วงจร PDCA บางครั้งจะถูกเรียกว่า “วงจรแห่งการเรียนรู้”


 

1)       วางแผนเพื่อให้เกิดการพัฒนา (มีเชิงรับ/ เชิงรุก)

2)       นำแผนไปใช้ดำเนินการในระดับปฏิบัติการ

3)       ติดตามความคืบหน้า และวิเคราะห์ว่ามีสิ่งที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง

4)       แก้ไข และพัฒนาว่ามีสิ่งใดที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติม

5)       กลับสู่ขั้นตอนที่ 1 นำความรู้ใหม่ที่ได้มานั้น มาสร้างเป็นแผน

6)       กลับสู่ขั้นตอนที่ 2 เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 

วรจรคุณภาพนี้ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ที่สามารถควบคุม นำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเชื่อมโยง จึงนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นกับองค์กร

สร้างภาวะผู้นำด้วย  14 หลักการของเดมมิ่ง

 

วงจรแห่งการเรียนรู้ ไม่สามารถแสดงศักยภาพได้เต็มที่ หากบุคลกรในองค์กรให้ความใส่ใจไม่มากพอ และขาดซึ่งภาวะผู้นำ หลักการ 14 ประการนั้นสามารถนำปรับใช้เพื่อให้การเรียนรู้ และสร้างภาวะผู้นำ หลักการทั้ง 14 นี้เป็นสิ่งที่ ผู้บริหารจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ และสร้างความร่วมมือร่วมใจให้เกิดขึ้นภายในองค์กร

 

1.        กำหนดเป้าหมายเพื่อการพัฒนาองค์กรที่ชัดเจน และประกาศให้พนักงานทุกระดับรับทราบ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องชัดเจนในสิ่งที่ได้แถลงออกไป เพราะนั่นถือว่าเป็นฉันทามติ

2.        บุคลากรทุกระดับ ต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง, เรียนรู้หลักการ และวิธีการใหม่ๆ

3.        อย่าหวังพึ่งการตรวจสอบ ว่าเป็นวิธีการที่ก่อให้เกิดคุณภาพแต่เพียงอย่างเดียว แต่บุคลากรทุกระดับต้องเข้าใจว่าการตรวจสอบนั้น มีเป้าหมายเพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน และลดต้นทุน ดังนั้นบุคลากรจะต้องมีสำนึก PDCA อยู่ตลอดเวลา

4.        ความสำเร็จของธุรกิจมิได้อยู่ที่การลดต้นทุนแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึงคุณภาพที่ได้มาด้วย

5.        การพัฒนาระบบคุณภาพ ทั้ง การผลิต และบริการ จะต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน บนการใช้ค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่า

6.        ให้ความสำคัญต่อการอบรม และพัฒนา

7.        สร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นกับบุคลากรทุกระดับ (สุดยอดผู้นำคือ บุคคลที่สร้างผู้นำ)

8.        ขจัดความกลัว, สร้างความเชื่อ และสร้างสรรบรรยากาศแห่งความคิดสร้างสรร

9.        ทลายกำแพงที่เป็นอุปสรรคต้องการทำงานเป็มทีม เป้าหมายของทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นระดับปฏิบัติการ, ฝ่าย, ทีม จะต้องเหมาะสม ซึ่งเป้าหมายของทุกระดับ จะต้องตอบสนองเป้าหมายหลักขององค์กร

10.     ยกเลิกคำขวัญ หรือ แรงกระตุ้น และ เป้าหมาย ที่เป็นไปไม่ได้

11.     ต้องไม่มุ่งเน้นการผลิตในรูปแบบเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมุ่งการให้ความรู้ และความเข้าใจในเรื่องวิธีการเพื่อการพัฒนา, สร้างความสามารถให้แก่กระบวนการผลิต มากกว่าการมุ่งบริหารจัดการตามวัตถุประสงค์ (Management by objective: MBO)

12.     สร้างความภาคภูมิใจให้แก่บุคลากรในงานที่เขารับผิดชอบ

13.     สนับสนุนให้กำลังใจ บุคลากรให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง

14.     มุ่งมั่นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดทั่วทั้งองค์กร

 

หลักการไม่สามารถเป็นจริงได้ หากหลักการนั้นไม่ได้ถูกนำไปใช้ ภาวะผู้นำก็แฉกเช่นเดียวกัน ไม่สามารถเกิดเป็นรูปธรรมได้หากละเลยการนำหลักการนั้นไปปฏิบัติ อย่างต่อเนื่อง และจริงจัง


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที