ประยูร

ผู้เขียน : ประยูร

อัพเดท: 27 ธ.ค. 2008 22.29 น. บทความนี้มีผู้ชม: 63494 ครั้ง

บันไดไปสู่การเป็นหัวหน้าที่ดี


ผู้นำ กับ การตัดสินใจ (ตอนจบ)

5197_decision-making.jpg



หัวหน้าต้องกล้าตัดสินใจ (2)

ประเด็นที่สอง ที่เกี่ยวกับการตัดสินใจ  ก็คือ ความทันกาล.
หากเปรียบเทียบกับ การขับรถยนต์ข้างต้น ก็คือ การตัดสินใจ ที่จะชะลอรถ การแซงหรือ การเบรก นั่นเอง.
ความผิดพลาดในการตัดสินใจ ในแต่ละสถานการณ์ อาจนำไปสู่อุบัติเหตุได้
ดังเช่นที่ที่ Lee Iacocca ผู้บริหารชั้นนำ เคยกล่าวไว้ว่า

 Even a correct decision is wrong when it was taken too late. Lee Iacocca

มักมีความเข้าใจ ที่คลาดเคลื่อนอยู่ ระหว่าง กล้าตัดสินใจ กับ รีบตัดสินใจ
ในข้อเท็จจริง การตัดสินใจแต่ละครั้ง ผู้นำมักมีกระบวนการ ที่ใช้เวลาพอสมควร
ผู้นำ มักจะต้องครุ่นคิดถึงทิศทางของธุรกิจ ปัญหา หรือ อุปสรรคที่อาจจะมี ตั้งแต่เมื่อปัญหายังไม่เกิด
ดังนั้น เมื่อปัญหามันแสดงตัว และ ต้องการการตัดสินใจ ผู้นำที่เตรียมพร้อมอยู่แล้ว จึงมักสามารถตัดสินใจได้ โดยทันที. ทั้งนี้ โดยไม่ใช่ การ”ด่วนตัดสินใจ”.

ประเด็นที่สาม ที่เกี่ยวกับการตัดสินใจ คือ การประกัน ความถูกต้องของการตัดสินใจนั้น. ในข้อเท็จจริง เมื่อเราตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งไปแล้ว ผลที่จะเกิดขึ้น จากทางเลือกอื่นๆ เราไม่มีทางที่จะรู้ได้. เพราะเราไม่ได้เลือก. ในทางปฏิบัติ การประกันความถูกต้อง ของการตัดสินใจที่ดีที่สุด ก็คือ

• ก่อนการตัดสินใจ คิดตรึกตรองให้รอบคอบ คิดทางหนีทีไล่ และ เตรียมมาตรการลด หรือ จำกัดความเสี่ยงต่างๆ
• เมื่อตัดสินใจทางใดทางหนึ่งไปแล้ว ให้ยึดมั่น ดำเนินไปในทิศทางนั้น อย่างแน่วแน่

ปรมาจารย์อย่าง ดรักเกอร์ ถึงกับกล่าวว่า การจะทำนายอนาคตนั้น วิธีที่ดีที่สุด คือการสร้างอนาคตนั้นด้วยมือของเราเอง.  (The best way to predict the future is to create it.)

อย่างไรก็ตาม เพื่อลดความเสี่ยง ของการตัดสินใจ จึงขอนำเสนอ ลำดับขั้นตอน ที่จำเป็น อันได้แก่

• การพิจารณา โจทย์ของการตัดสินใจ ให้ถูกต้อง และชัดเจน
• การพิจารณาทางเลือกต่างๆ ของการตัดสินใจนั้นๆ ว่า มีอะไรบ้าง
• วิเคราะห์ความเสี่ยง ข้อดี และ ข้อเสีย ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการตัดสินใจในแต่ละทางเลือก
• กำหนดมาตรการ ที่จะลด หรือ จำกัดความเสี่ยงต่างๆ
• ตัดสินใจ ใช้ทางเลือก ที่มีผลดีที่สุด ผลกระทบด้านลบน้อย และ เตรียมมาตรการทั้งหลาย เพื่อลด หรือ จำกัดความเสี่ยง
• เมื่อตัดสินใจแล้ว ให้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายอย่างมุ่งมั่น และ แน่วแน่

ในตอนท้ายนี้ ขอสรุป ผลสัมฤทธ์ของการจัดสินใจ ดังนี้

ผลสัมฤทธิ์ของการตัดสินใจ  =  (กำหนดโจทย์ที่ถูกต้อง) X (ตัดสินใจทันกาล) X (ตัดสินใจถูกต้อง)
ความผิดพลาดที่จุดใดจุดหนึ่ง ย่อมส่งผล ให้ผลสัมฤทธิ์รวม เสียหายได้.


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที