มานพ

ผู้เขียน : มานพ

อัพเดท: 16 ส.ค. 2010 20.30 น. บทความนี้มีผู้ชม: 640932 ครั้ง

จากตอนที่ 1 เมื่อหลักการถูกนำมาประยุกต์แล้ว สภาพจริงจะดำเนินการได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับ กลวิธี และสติปัญญาของผู้บริหาร


เมื่อนำมาใช้ร่วมกับระบบสมศ.

สมมติฐาน

                  บัณฑิตส่วนใหญ่ที่จบการศึกษาไปน่าจะมีงานทำ และหลักสูตรที่เรียนจบไปแล้วสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานรวมทั้งประกอบอาชีพอิสระภายในเวลา 1 ปีได้อย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่าร้อยละ............

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                         1. ทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานในภาพรวมเกี่ยวกับความคาดหวังและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาตามที่สถานประกอบการหรือองค์การต้องการ

             2. ได้ข้อมูลที่ทันกับยุคสมัยในการปรับเนื้อหาสาระการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชาตลอดจนเป็นสารสนเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจเพื่อการจัดตั้งคณะและสาขาวิชาสำหรับอนาคต

                            3.  ได้ข้อมูลสำหรับความพร้อมในการเตรียมการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ.      

 

ขอบเขตในการวิจัย

                            ขอบเขตประชากร

                            การวิจัยสถาบันครั้งนี้จะทำการศึกษากลุ่มสถานประกอบการหรือองค์การทั้งหมดที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความคาดหวังและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาในส่วนของความพึงพอใจและทัศนคติที่มีต่อสถาบัน

                         ขอบเขตเนื้อหา

                         เนื้อหาของการทำวิจัยสถาบันเรื่องนี้ผู้วิจัยจะทำการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความคาดหวังและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาเพื่อให้ทราบตัวแปรหลัก  เช่น เพศ  อายุ  คณะที่สำเร็จการศึกษา  ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม  และตัวแปรตาม เช่น  ตำแหน่งงาน  ลักษณะงานที่ทำ ความพึงพอใจและทัศนคติที่สถานประกอบการหรือองค์การมีต่อสถาบัน และแนวโน้มความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต  

                             

วิธีดำเนินการวิจัย

              1. การวิจัยครั้งนี้จะต้องใช้การสื่อสารทางไปรษณีย์เป็นหลักเพราะสถานประกอบการหรือองค์การทั้งหมดที่รับผู้สำเร็จการศึกษาเข้าไปทำงานส่วนใหญ่มีที่ตั้งอยู่กระจายทั่วประเทศและเนื่องจากเป็นการวิจัยโดยอาศัยแบบสอบถามทั้งหมดจึงต้องมีการทดสอบแบบสอบถามก่อนเพื่อให้มั่นใจว่าแบบสอบถามสามารถสื่อความหมายเป็นไปตามที่ผู้วิจัยต้องการ

           2. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

               กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการมีงานทำและประกอบอาชีพอิสระโดยไม่นับรวม  การอุปสมบท  การถูกเกณฑ์ให้เข้ารับราชการทหารหรือศึกษาต่อโดยจะทำการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามในงานวันประสาทปริญญาบัตรของบัณฑิตรุ่นแรก

               กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความคาดหวังและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาของกลุ่มสถานประกอบการหรือองค์การทั้งหมดที่รับประชากรในกลุ่มที่ 1 เข้าไปทำงาน

               เมื่อได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้แล้วดำเนินการส่งไปตามที่อยู่ของสถานประกอบการหรือองค์การทั้งหมดที่รับผู้สำเร็จการศึกษาเข้าไปทำงาน

                         3. วิธีการรวบรวมข้อมูล  ผู้วิจัยจะแยกแบบสอบถามของประชากรกลุ่มที่ 1 ที่มีงานทำและประกอบอาชีพอิสระเพื่อดำเนินการรวบรวมแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์มาทำการบันทึกข้อมูลของการทำวิจัยและผลการทำวิจัยโดยผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยซึ่งผ่านการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์เนื้อหาในการบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ ตามแบบบันทึกดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว  ส่วนแบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการมีงานทำและประกอบอาชีพอิสระของผู้สำเร็จการศึกษาจะถูกประมวลผลแยกส่วนจากกันโดยผู้ช่วยวิจัยซึ่งผ่านการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์เนื้อหาในการบันทึก โดยจะให้ผู้วิจัยจะทำการตรวจสอบซ้ำอีกครั้งหนึ่งเพื่อความถูกต้องเรียบร้อยและจะเก็บรักษาเพื่อเป็นการจัดเตรียมสารสนเทศสำหรับความพร้อมในการเตรียมการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ.      

           4.  การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย 

           ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและทำการแจกแจงความถี่และอธิบายแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป  SPSS V. 11.5 

 

 

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที