มานพ

ผู้เขียน : มานพ

อัพเดท: 16 ส.ค. 2010 20.30 น. บทความนี้มีผู้ชม: 640955 ครั้ง

จากตอนที่ 1 เมื่อหลักการถูกนำมาประยุกต์แล้ว สภาพจริงจะดำเนินการได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับ กลวิธี และสติปัญญาของผู้บริหาร


กิจกรรม 5 ส อีกหนึ่งบทสรุปของ ISO

การนำกิจกรรม  5    เข้ามาใช้ในสถานศึกษามีความแตกต่างจากการนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเพราะผู้ปฏิบัตินั้นเป็นผู้เรียนในสถานศึกษาได้แก่  นักเรียน  นักศึกษาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบใกล้ชิดกับพื้นที่อยู่แล้ว   ถ้าหากสถานศึกษานั้นเป็นโรงเรียนจะเห็นได้จากการมีเวรประจำวันรับผิดชอบทำความสะอาดชั้นเรียนของตนเอง  และสามารถจัดให้มีกิจกรรมในโรงเรียนเพื่อทำความสะอาดห้องเรียนและบริเวณต่าง ๆ   ในและรอบ ๆ  บริเวณโรงเรียน  แต่สำหรับสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาจะมีอุปสรรคเรื่องการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้นักศึกษาเพราะส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของนักการภารโรง   

          พื้นที่ในสถานศึกษาสามารถแบ่งออกเป็น  10  ประเภทใหญ่ ๆ  ได้ดังนี้ 

1.               อาคารเรียน    ประกอบด้วย  ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ระเบียงชั้นเรียน  กันสาด  บันไดหรือลิฟต์      

2.       บริเวณทางเดิน  ประกอบด้วย  ทางเดินรอบ ๆ พื้นที่ทั้งหมด   

3.       โรงอาหาร  ห้องอาหาร  ประกอบด้วย ห้องครัว  ห้องจำหน่ายอาหารรวมทั้งการแต่งกายของผู้จำหน่ายอาหาร 

4.       ห้องสมุด  สำนักงานวิทยบริการ  ประกอบด้วย   โต๊ะเก้าอี้สำหรับอ่านหนังสือ  ชั้นหนังสือ  พื้นห้อง  โต๊ะอาจารย์บรรณารักษ์  ห้องพักผู้บริหารห้องสมุด  สวิตช์ไฟฟ้า  พัดลม เครื่องปรับอากาศ   โต๊ะวางของ   ถังขยะ  หลอดไฟ           

5.       บริเวณเสาธง  พระพุทธรูป  สวนหย่อม  สระน้ำ  แท่นพิธี  ประกอบด้วย  ทางเดินรอบ ๆ  ตัวเสาธง  องค์พระพุธรูป  สนามหญ้า   ต้นหญ้า   สระน้ำ      

6.       บริเวณจอดรถ  ประกอบด้วย  ที่จอดรถยนต์ผู้บริหาร   บุคลากร    ผู้เรียน    

7.       สนามกีฬา ประกอบด้วย พื้นสนามหญ้า  อุปกรณ์เครื่องเล่น เครื่องกีฬา      

8.       ห้องน้ำ ประกอบด้วย  ประตู  พื้นห้องน้ำ  บริเวณชักโครก  อ่างล้างมือ  รางแขวน  ที่ดึงกระดาษชำระ  ถังขยะ  หลอดไฟ  

9.       ห้องผู้บริหาร  ประกอบด้วย โต๊ะทำงาน  ตู้ใส่เอกสาร ชั้นหนังสือ  เก้าอี้  โซฟา  พื้นห้อง   เพดาน  ฝาผนัง  ปลั๊กไฟฟ้า  สวิตซ์ไฟฟ้า  สวิตซ์เครื่องปรับอากาศ  พัดลม      

10.   ห้องพักอาจารย์  ประกอบด้วย  โต๊ะทำงาน  ตู้ใส่เอกสาร  ชั้นหนังสือ  เก้าอี้ โซฟา พื้นห้อง   เพดาน  ฝาผนัง  ปลั๊กไฟฟ้า  สวิตซ์ไฟฟ้า  สวิตซ์เครื่องปรับอากาศ  พัดลม     

             ในส่วนรายละเอียดของพื้นที่ในสถานศึกษาของแต่ละแห่ง  มีความแตกกันออกไปตามประเภทและขนาด  เช่นโรงเรียนอนุบาล  ที่สนามกีฬาจะมีเครื่องเล่นเด็ก  เช่นกระดานลื่น     กระดานหก(Sea  saw) และชิงช้า ม้าหมุน แต่ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในส่วนนี้จะไม่มี  ดังนั้นการแบ่งพื้นที่และการออกแบบใบตรวจให้คะแนนพื้นที่จะต้องใช้ดุลยพินิจของกรรมการผู้รับผิดชอบของแต่ละพื้นที่นั้น ๆ  ในการใส่รายละเอียดในรายการที่จะตรวจให้คะแนน               

สรุปขั้นตอนของกิจกรรม  5    กับความสัมพันธ์ของวงจรคุณภาพ
                  การเริ่มต้นวางแผนนำระบบกิจกรรม  5   มาใช้ในสถานศึกษา  กิจกรรม  5    เป็นกิจกรรมที่ทำให้ระบบบริหารจัดการในสถานศึกษามีระบบมีคุณภาพ  มีระเบียบเรียบร้อย  ทำให้โรงเรียนมีความน่าอยู่  ผู้เรียนมีความรู้สึกว่าสถานศึกษาน่าเรียน เมื่อช่วยกันทำความสะอาดจะเกิดความรักสถานศึกษา  มีความรู้สึกว่าสถานศึกษาเป็นของตนเอง  การวางแผนไม่ใช่สิ่งง่ายแต่ไม่ยากจนเกินไปสำหรับการดำเนินการเพื่อให้เป็นระบบและต่อเนื่อง    

ขั้นตอนการวางแผนนำกิจกรรม  5   มาใช้ในสถานศึกษา

1.  ประกาศนโยบายโดยผู้บริหารสูงสุดของสถานศึกษาแห่งนั้น  เป็นการแสดงว่าผู้ที่มีอำนาจในการให้คุณให้โทษได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้  เพราะจะต้องตระหนักถึงคุณภาพที่จะต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง       

2.   อบรมครู  อาจารย์  นักการภารโรงและ  ผู้เรียน  เพื่อปลูกจิตสำนึกสร้างความตระหนักในการรักษาความสะอาด เพราะเรื่อง  5   เป็นเรื่องของทุกคนจะต้องร่วมมือกัน 

       3.   แต่งตั้งกรรมการ  แบ่งขนาดพื้นที่ตามความเหมาะสม

       4.   สร้างเกณฑ์ในการให้คะแนนโดยกำหนดแบบฟอร์มในการให้คะแนนร่วมกันเพื่อสร้าง

              ความเข้าใจร่วมกัน  เพราะทุกคนจะทราบเกณฑ์ในการให้คะแนน  ร่างคำสั่งแต่งตั้ง

              คณะกรรมการการดำเนินกิจกรรม  5     

       5.   กำหนดวันตรวจประเมิน  ตรวจอย่างน้อยเดือนละ 1  ครั้ง 

       6.   รวบรวมใบตรวจให้คะแนน

       7.    เรียงลำดับการให้คะแนนจากมากไปหาน้อย

       8.    ติดประกาศให้เจ้าของพื้นที่ทราบ

       9.    เชิญเจ้าของพื้นที่ที่ได้คะแนนตรวจต่ำกว่ามาตรฐานเข้าพบชี้แจงรายละเอียด  พร้อมบันทึกข้อบกพร่อง  พร้อมหาแนวทางแก้ไข  เสนอผู้บริหารระดับสูงต่อไป

     10.    ติดตามผลการดำเนินการแก้ไข    และเปรียบเทียบกับการตรวจครั้งต่อไป               

     11.    รักษาระบบให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง           

ขั้นตอนที่  1  -  4 คือ  ขั้นตอนการวางแผน  ( P )  ขั้นตอนที่  5  - 8  คือขั้นตอนการปฏิบัติ    (D) 

ขั้นตอนที่  9  คือ  ขั้นตอนการตรวจสอบ  ( C )    ขั้นตอนที่  10  -11  คือ  ขั้นตอนการกระทำการเพื่อแก้ไขเพื่อการวางแผนในการทำงานต่อไป (A)     ตามวงจรคุณภาพของเดมมิง

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที