มานพ

ผู้เขียน : มานพ

อัพเดท: 15 ส.ค. 2009 10.07 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1881785 ครั้ง

การเดินทางของมนุษย์จะต้องมีแผนที่ การสร้างตึก สร้างบ้าน จะต้องมีพิมพ์เขียว การทำธุรกิจเช่นกันจะต้องมีแผน แผนที่ว่านี้คือแผนธุรกิจ เพื่อความสำเร็จและขออนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรือเวลาที่ท่านต้องการหุ้นส่วน เพื่อให้เขาเหล่านั้นเชื่อว่าการทำธุรกิจของท่านมีความน่าเชื่อถือเพียงใด มิใช่พูดแค่ลมปาก แต่เป็นจริงได้ ที่สำคัญชาวบ้าน ที่จะทำธุรกิจ ไม่มีรู้ความสามารถที่จะเขียนแผนธุรกิจได้ เพราะจะต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ความเชียวชาญในระดับหนึ่ง จึงจะสามารถเขียนขึ้นมาได้ บทความนี้ จะเขียนขึ้นอย่างง่าย ๆ สำหรับคนที่จะทำธุรกิจแต่ไม่มีพื้นฐานความรู้ ขาดความเชี่ยวชาญ ในการทำจัดทำแผนธุรกิจ และไม่เชียวชาญในการประกอบการธุรกิจ


องค์ประกอบของแผนธุรกิจ

องค์ประกอบของแผนธุรกิจ

1.       บทสรุปสําหรับผูบริหาร (Executive Summary)

              ส่วนนี้มีความสำคัญมากที่สุด เพราะเป็นส่วนแรกที่ผู้ร่วมลงทุนที่จะอ่านและจะต้องตัดสินใจจากส่วนนี้ว่าจะอ่านรายละเอียดของแผนธุรกิจหรือไม่   บทสรุปสำหรับผู้บริหารเป็นส่วนหนึ่งของแผนธุรกิจที่จัดทำขึ้นหลังจากการทำแผนธุรกิจแล้วเสร็จ    ควรมีความยาวประมาณ  2 -  3  หน้า  ฉะนั้น  ส่วนนี้จะต้องให้ความสำคัญมากที่สุด
               ดังนั้น บทสรุปผู้บริหารจะต้องแสดงให้เห็นประเด็นสำคัญอย่างน้อยสองประการคือ
               1. 
สรุปแนวคิดรายละเอียดของธุรกิจและชี้ให้เห็นว่าสำหรับธุรกิจที่กำลังคิดอยู่นี้จะทำมีโอกาสเกิดขึ้นได้จริงๆ ในตลาด ไม่เพ้อฝัน โดยมีข้อมูล  ที่สนับสนุน และอ้างอิงจากแหล่งที่มาน่าเชื่อถือ   
               2.   ต้องชี้ให้เห็นว่าสินค้าหรือบริการของธุรกิจที่จะทำนั้นมีความแตกต่างและเป็นที่ต้องตาต้องใจของลูกค้า  บทสรุปผู้บริหารจึงต้องเขียนให้เกิดความน่าเชื่อถือ หนักแน่น และชวนให้ติดตามรายละเอียดที่อยู่ในแผนต่อไป ผู้เขียนแผนควรระลึกไว้เสมอว่าคุณภาพของบทสรุปผู้บริหารจะสะท้อนถึงคุณภาพของแผนโดยรวม จึงควรให้เวลากับการเขียนส่วนนี้อย่างพิถีพิถัน 
              ส่วนHOW  TOว่าจะเขียนอย่างไร   ให้น่าสนใจ  มีกลวิธีในการเขียน  
ข้อพิจารณาเพื่อการเขียนบทสรุปผู้บริหาร

          ธุรกิจที่จะทําเป็นธุรกิจอะไรและมีแนวทางในการริเริ่มดำเนินการอย่างไร

              อธิบายว่าจะทำธุรกิจอะไรและแนวคิดของธุรกิจนั้นเป็นอย่างไร  พยายามอธิบายให้เห็นว่าสินค้าหรือบริการที่จะทำนั้นจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต     คุณภาพชีวิต    รวมทั้งการอำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภค    หรือวิถีการใช้สินค้าหรือบริการไปจากเดิมอย่างไร บอกด้วยว่าธุรกิจจะก่อตั้งเมื่อไรสินค้า/บริการมีคุณสมบัติพิเศษอะไรในแง่รูปลักษณ์ ประโยชน์ใช้สอยเทคโนโลยี นวัตกรรม ฯลฯ        ที่จะได้เปรียบเหนือคู่แข่งและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม(Value Add) ขีดความสามารถทางการแข่งขัน (Competitive Advantages) หากธุรกิจดำเนินการมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และจะต้องกล่าวประวัติความเป็นมาของกิจการที่ดำเนินธุรกิจอยู่ (Company Profile) ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตลอดจนผู้ก่อตั้ง    ปีที่ก่อตั้ง ทุนจดทะเบียน   ทุนที่ชำระแล้ว รวมทั้งกิจกรรมที่สำคัญเช่นการหาผู้ร่วมลงทุน  การเพิ่มทุน   นอกจากนี้ ควรจะกล่าวถึงขนาดของธุรกิจ   ความก้าวหน้าของธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา  เพราะความเติบโตก้าวหน้าจะสะท้อนออกมาในรูปของเงินทุนและความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้นในกรณีที่ไม่ใช่ธุรกิจใหม่                           
         
   มีโอกาส  และอุปสรรคที่เกิดในกาดำเนินธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมนั้นเป็นอย่างไร

              โอกาสคือ  ปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจของเราไม่สามารถควบคุมได้แต่กลับส่งผลดีต่อธุรกิจ  โอกาสที่ว่านี้ทำไมจึงส่งผลดี และจะสามารถใช้โอกาสนั้นด้วยวิธีใด  ข้อมูลส่วนนี้อาจนำเสนอในรูปข้อเท็จจริง  ด้านสภาพเศรษฐกิจเช่น ปัจจุบันน้ำมันราคาแพงและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นอีก เรามี  โอกาสในธุรกิจการค้าปลีกรถจักรยาน


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที