คงเดช

ผู้เขียน : คงเดช

อัพเดท: 11 ธ.ค. 2008 22.56 น. บทความนี้มีผู้ชม: 25175 ครั้ง

อาจเป็นด้วยเหตุว่าเมืองไทยเราอยู่ในเขตร้อน คนไทยเราก็เลยมักจะใจร้อน และชอบให้อะไรต่อมิอะไรเสร็จเร็วๆ ไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องการพัฒนาองค์การ องค์การไทยเรามักจะนิยมใช้เครื่องมือสำเร็จรูป หรือวิธียอดนิยม เป็นทางลัดในการบรรลุเป้าหมายเสมอๆ แต่นั่นคือคำตอบที่ถูกที่สุดแล้วหรือ?


การพัฒนาองค์การคือการเปลี่ยนแปลง

ผมอยากให้แยกประเด็นออกจากกันให้ชัดเจนระหว่าง "พัฒนา" กับ "ปรับปรุง" ครับ
 
พจนานุกรรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้คำนิยามของคำสองคำนี้เอาไว้ดังนี้

พัฒนา = การทำให้เจริญขึ้น
ปรับปรุง = แก้ไขให้เรียบร้อยยิ่งขึ้น

ดูเหมือนจะใกล้เคียงกัน แต่จริงๆ แล้ว พัฒนานั้นยิ่งใหญ่กว่ามาก... สำหรับการปรับปรุงนั้น เราอาจจะไม่ต้องไปเปลี่ยนแปลงอะไรเลย เพียงแต่ทำให้กลับมาดีดังเดิม ก็อาจเรียกได้ว่าปรับปรุงแล้ว ในขณะที่หากเราต้องการพัฒนานั้น จะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ไม่มากก็น้อย

ปัญหาก็คือ คนเรามักกลัวความเปลี่ยนแปลงครับ ฝรั่งเขาเรียกว่า คนเรามักจะมี Status Quo หรือถ้าจะให้แปลให้เข้าใจง่ายๆ ก็เหมือนกับ Comfort Zone หรือพื้นที่หรือโซนที่หากเราอยู่ตรงนี้แล้วจะรู้สึกอุ่นใจ รู้สึกสบายใจ การที่จะไปเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง ก็คือการไปทำให้คนเราต้องออกจาก Comfort Zone นั้นๆ ซึ่งผลที่ตามมาก็จะแตกต่างกันออกไป มีได้ทั้งแง่บวก (Positive) และแง่ลบ (Negative) เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถบรรเทาให้ความรุนแรงลดน้อยลงได้

อย่างไรเสีย อุปสรรคในการพัฒนาองค์การก็คือ คนที่ยึดติดกับ Status Quo หรือ Comfort Zone นั่นเอง ในทางจิตวิทยาเราเชื่อว่า เราสามารถที่จะใช้ความรู้ด้านพฤติกรรมศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนได้

หนังสืออ้างอิง
1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที