คงเดช

ผู้เขียน : คงเดช

อัพเดท: 11 ธ.ค. 2008 22.56 น. บทความนี้มีผู้ชม: 25141 ครั้ง

อาจเป็นด้วยเหตุว่าเมืองไทยเราอยู่ในเขตร้อน คนไทยเราก็เลยมักจะใจร้อน และชอบให้อะไรต่อมิอะไรเสร็จเร็วๆ ไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องการพัฒนาองค์การ องค์การไทยเรามักจะนิยมใช้เครื่องมือสำเร็จรูป หรือวิธียอดนิยม เป็นทางลัดในการบรรลุเป้าหมายเสมอๆ แต่นั่นคือคำตอบที่ถูกที่สุดแล้วหรือ?


รู้จักกับองค์การกันก่อน (ภาคแรก)

มีคนเคยให้สูตรลับซึ่งนำมาสู่ความสำเร็จเอาไว้ว่า

ความสำเร็จ เกิดจากการมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ต้องการจะทำอย่างถ่องแท้ แลมีะวางเป้าหมาย โดยมีกลยุทธ์ที่ดีและสอดคล้องซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายนั้นๆ และจึงนำไปลงมือปฏิบัติ แต่ก็มีหลายต่อหลายองค์การที่พยายามก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือพยายามพัฒนาองค์การ โดยการนำระบบต่างๆ หรือเครื่องมือต่างๆ มาช่วยในการบริหารจัดการ หรือพัฒนาองค์การ แต่แล้วก็ไม่ประสบความสำเร็จ และก็ลงความเห็นว่าเป็นเพราะระบบหรือเครื่องมือดังกล่าวไม่ดี ไม่ตอบสนองต่อความต้องการ หรือไม่สามารถใช้กับองค์การของตนได้

จริงๆ แล้วเป็นเช่นนั้นหรือ?!?

ผมคิดว่าเกิดจาก 2 สาเหตุสำคัญครับ คือ
1. การขาดความรู้วามเข้าใจในสิ่งที่กำลังจะทำ
2. การวางเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม

ผมจะขอค่อยๆ ลงลึกไปทีละสาเหตุ โดยในตอนนี้จะขอพูดถึงสาเหตุแรกกันก่อน ซึ่งเป็นที่มาที่ผมจั่วหัวตอนว่า "รู้จักกับองค์การกันก่อน"

"รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง" คือคำคมจากตำราพิชัยสงครามซุนวู ที่ถูกกล่าวถึงบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในแวดวงการบริหารการจัดการ ผมคิดว่าถูกต้องอย่างยิ่งเลยทีเดียว...

สมมติผมให้ผู้อ่านทุกท่านลองนึกถึง "องค์การ" ของคุณขึ้นมา คุณจะนึกถึงอะไร? บางคนอาจจะนึกไปถึงตัวตึกตัวอาคาร ห้องและสถานที่ต่างๆ ที่เป็นที่ตั้งขององค์การของคุณ ซึ่งมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม ในขณะทีอีกหลายๆ คนก็อาจจะนึกไปถึงตัวชื่อองค์การ ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานหรือบุคคล ทั้งภายในและภายนอกองค์การ ซึ่งมีลักษณะที่ค่อนออกไปทางนามธรรม

แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันลึกลับซับซ้อนกว่าที่คุณคิดครับ

Katz และ Hahn (1978) ได้ให้นิยามขององค์การเอาไว้ดังนี้ครับ

... that of an energic input-output system in which the energic return from the output reactivates the system. Social organizations are flagrantly open systems in that the input of energies and the conversion of output into further energic input consists of transactions between the organization and its environment.

นั่นคือ องค์การนั้นเปรียบเสมือนระบบมีการไหลเวียนของพลังงานที่เป็นขาเข้า เข้าสู่กระบวนการอะไรบางอย่างภายในระบบนั้นๆ แล้วเปลี่ยนออกมาให้อยู่ในรูปของผลลัพธ์ ซึ่งจะย้อนกลับไปเป็น Input ให้แก่ระบบอีกครั้ง ซึ่งพอจะเขียนออกมาให้อยู่ในรูปของผังอย่างง่ายได้ตามภาพด้านล่าง

88325_process flow.png

นอกจานี้ ระบบการไหลเวียนของพลังงานดังกล่าว ก็ยังมีส่วนที่มีปฏิสัมพันธ์กับภายนอกอีกด้วย

พลังงานขาเข้า อาจมาได้จากหลายต่อหลายแหล่ง และอยู่ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กำลังพล ตัวเงินลงทุน ฯลฯ
การดำเนินการ ก็สามารถมีได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิต การให้บริการ ฯลฯ
พลังงานขาออก ก็สามารถเป็นไปได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น สินค้า บริการ ตัวบุคคล ตัวเงิน ฯลฯ

หากมองในแง่นี้แล้ว เราก็อาจจะแบ่งย่อยองค์การออกเป็นระบบย่อยต่าๆ ได้อีก และแต่ละระบบย่อยนี้ก็จะเชื่อมต่อสัมพันธ์ระหว่างกันไป โดยระบบเหล่านี้ไม่ได้อยู่คงทนถาวร แต่มีเกิดและมีดับไปตามกาลเวลาและความเหมาะสม (ในเวลาที่ต้องการขยายตลาด ก็อาจมีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมา แต่เมื่อมีการเปลี่ยนกลยุทธ์ ก็อาจจะมีการรวบหน่วยงานสองหน่วยงานเข้าเป็นหนึ่งเดียวได้ เป็นต้น)

ยกตัวอย่างเช่น

บริษัททำการกู้ยืมเงินมา (พลังงานขาเข้า) เพื่อซื้อวัตถุดิบ (พลังงานขาเข้า) เข้ามาทำการผลิต (การดำเนินการ) ได้ออกมาเป็นสินค้า (พลังงานขาออก) ซึ่งนำไปขายในท้องตลาด (สภาพแวดล้อมภายนอก) และได้เงินกลับมาที่บริษัท (พลังงานขาเข้า) อีกครั้ง

ร่ายมายาวถึงตรงนี้ ก็เอาต่อในภาคจบอีกทีนะครับ

หนังสืออ้างอิง
1. Katz, D. Kahn, R. L. (1978). The social psychology of organization, 2nd. ed. New. York: John Willy & Sons. หน้า 20

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที