ประยูร

ผู้เขียน : ประยูร

อัพเดท: 25 ธ.ค. 2008 20.20 น. บทความนี้มีผู้ชม: 37167 ครั้ง

มารู้จักนักสู้ ซึ่งทุ่มเทชีวิตจิตใจ เพื่อพัฒนาธุรกิจ และ เศรษฐกิจของญี่ปุ่นหลังสงคราม มาเข้าใจ ปรัชญา แนวคิด และ บุคลิกของผู้คนเหล่านี้


มัตสุชิตะ โคโนซุเกะ (Matsushita Konosuke) ผู้ก่อตั้งบริษัทไฟฟ้ามัตสุชิตะ (Panasonic) (ตอนจบ)

5197_51XKNREEP4L._SL160_.jpg


มัตสุชิตะ โคโนซุเกะ ผู้ก่อตั้งบริษัทไฟฟ้ามัตสุชิตะ

ผู้บริหารคนหนึ่ง ลุกขึ้นแย้งว่า
“ แต่ที่ โตโยตาเรียกร้องเรานั้น เขาขอให้เราลดราคาทันที 5% แล้วภายในหกเดือนลดลงอีก 15% รวมแล้ว เป็น 20%� มันเป็นไปไม่ได้นะครับ...”

มัตสุชิตะจึงกล่าวตอบ และ ชี้แจงไปว่า..
“ การลดต้นทุนนั้น หากกำหนดเป้าหมายกันเพียงแค่ 5% หรือ 10% บางครั้งอาจจะไม่เกิดประโยชน์
แต่เมื่อกำหนดเป้าหมายไว้ที่ 20% เราก็ไม่สามารถใช้เทคนิคหยุมหยิมเล็กๆได้อีก
หากเราต้องการบรรลุเป้าหมาย เราต้องเริ่มเปลี่ยนตั้งแต่ขั้นแนวคิด กันทีเดียว
เป็นต้นว่า อาจจะต้องคิดว่า ทำอย่างไร ขนาดถึงจะลดลงไปเป็นครึ่งหนึ่ง
ไม่เช่นนั้น เป้าหมายระดับนี้ ก็บรรลุไม่ได้..

ดังนั้น นี่ไม่ใช่แค่เพียงการต่อรองเพื่อลดราคา กับโตโยตาเท่านั้น
แต่เราต้องเข้าใจว่า นี่คือเสียงเรียกร้อง ที่ต้องการเห็น อุตสาหกรรมของญี่ปุ่นพัฒนาต่อไปได้..

ลองคิดดูซิ..หากเราสามารถผลิตสินค้า ซึ่งมีราคาลดลงได้ถึง 20% แล้วจะเกิดอะไรขึ้น..??
สินค้าเช่นนี้ ไม่เพียงขายให้กับโตโยตาได้เท่านั้น หากแต่ ยังขายไปที่ใดๆในโลก ก็ยังได้..”

หลังจากนั้น บรรยากาศของการประชุมก็เปลี่ยนไป
ผู้บริหารอีกคนหนึ่ง ลุกขึ้นกล่าวว่า
“..หากเราทำสำเร็จ..บริษัทต่างๆทั่วโลก จะวิ่งมาหาเรา และ ขอให้เราขายสินค้าผ่านเขา.......อย่างแน่นอน..
หากคิดได้เช่นนี้แล้ว...ข้อเรียกร้องเช่นนี้ ไม่ใช่วิกฤติหรอก..
มันกลับเป็นลิขิตของฟ้า ที่จะให้บริษัทสามารถโตแบบก้าวกระโดดต่างหาก..
มันเป็น..โอกาส..มากกว่านะ.......”

ผลหรือครับ...
บริษัทมัตสุชิตะ สามารถลดต้นทุนลงได้ 20% ตามเป้าหมาย
และ ประตู ก็เปิดให้ บริษัทนี้ ก้าวไปเป็น บริษัทชั้นนำของโลก ด้านวิทยุติดรถยนต์..

ก่อนจะจบ
ผมคิดว่า บทเรียนสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่มัตสุชิตะให้กับเรา ก็คือ
ทุกครั้ง ที่เราพบอุปสรรค พบความยากลำบาก
เรามักจะพบบุคคลสองประเภท
ประเภทแรก ก็คือ ผู้ที่พร้อมจะปฏิเสธ ว่าทำไม่ได้ เป็นไปไม่ได้
บุคคลกลุ่มนี้ จะมองเห็นสิ่งที่อยู่ข้างหน้าตน เป็นอุปสรรค เป็นวิกฤติ
และพร้อมที่จะหยุด หรือ เลิกราไป
ในขณะเดียวกัน ก็มีบุคคลอีกประเภทหนึ่ง ที่พร้อมจะหันหน้าเผชิญกับปัญหาเหล่านั้น
พินิจพิจารณา ปรับวิธีคิด หามุมมองใหม่ๆ
เพราะเขามองว่า นี่เป็น “โอกาส”
ผู้ที่ประสบความสำเร็จ จึงเป็นบุคคล ผู้ที่พร้อม จะหันหน้าสู้ปัญหา และ ใช้ปัญญา เพื่อแก้ไข




บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที