ประยูร

ผู้เขียน : ประยูร

อัพเดท: 25 ธ.ค. 2008 20.20 น. บทความนี้มีผู้ชม: 37303 ครั้ง

มารู้จักนักสู้ ซึ่งทุ่มเทชีวิตจิตใจ เพื่อพัฒนาธุรกิจ และ เศรษฐกิจของญี่ปุ่นหลังสงคราม มาเข้าใจ ปรัชญา แนวคิด และ บุคลิกของผู้คนเหล่านี้


โมริตะ อะกิโอะ (Morita Akio) ผู้ร่วมก่อตั้งโซนี และ พัฒนาแบรนด์โซนี มุ่งสู่ตลาดโลก (ตอนที่ 1)

โมริตะ อะกิโอะ (Morita Akio) ผู้ร่วมก่อตั้งโซนี และ พัฒนาแบรนด์โซนี มุ่งสู่ตลาดโลก

5197_51T88JYAKBL.jpg

อย่ากลัวที่จะทำผิดพลาด แต่ต้องมั่นใจนะ ว่าคุณไม่พลาดเป็นครั้งที่สอง
Don't be afraid to make a mistake. But make sure you don't make the same mistake twice.
Akio Morita

Morita Akioเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทโซนี พร้อมกับ Ibuka Masaru  ทั้งคู่ นับเป็นการผสมผสาน ที่ลงตัวอย่างงดงาม ของบริษัทเกิดใหม่ กล่าวคือ โมริตะ เป็นนักบริหาร และ นักการตลาด ขณะที่ อิบุคะ เป็นวิศวกร เป็นนักประดิษฐ์ คิดค้น 

5197_.jpg

โมริตะ (ซ้าย) กับ อิบุกะ สองผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทโซนี


ทั้งสองตั้งบริษัทเมื่อปี 1946
ในปี 1950 บริษัทได้เริ่มผลิตเครื่องบันทึกเสียง เพื่อจำหน่ายทดแทนการนำเข้าจากสหรัฐฯ และ ในปี 1955 บริษัทประสบความสำเร็จในการพัฒนาวิทยุทรานซิสเตอร์สำเร็จเป็นรายแรกของญี่ปุ่น และเป็นรายที่สองของโลก.
ต่อมา ในปี 1958 บริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็น Sony เพื่อเป็นแบรนด์ ในการขายสินค้าชิ้นนี้ ออกไปทั่วโลก

5197_thumb_1174061196.jpg

เครื่องบันทึกเสียงเครื่องแรกของญี่ปุ่นผลิตโดยโซนี

“อิบุกะเป็นคนคิด โมริตะเป็นคนขาย” เป็นภาพพจน์ของบริษัทที่เปลี่ยนชื่อใหม่ “โซนี”นี้. ภายหลังประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาวิทยุทรานซิสเตอร์ เป็นรายที่สองของโลก(โดยช้ากว่าบริษัทแรกในสหรัฐฯ เพียงไม่กี่เดือน) โมริตะก็เดินทางไปสหรัฐฯ เพื่อหาช่องทางทำตลาด

.5197_qfhh7c000006drs1.gif

วิทยุทรานซิสเตอร์เครื่องแรกของโซนี


ภายหลังจากตระเวนเจรจาอยู่นาน โมริตะก็ได้รับข้อเสนอ ที่จะสั่งซื้อวิทยุทรานซิสเตอร์ของโซนี จากบริษัทชั้นนำของสหรัฐฯ เป็นจำนวนถึง หนึ่งแสนเครื่อง. ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่า โซนีจะต้องผลิตเพื่อขายในแบรนด์ของบริษัทนี้.

“..บริษัทของเรา...ใช้เวลาถึงห้าสิบปี กว่าที่จะสร้างแบรนด์ของตัวเองขึ้นมา และ เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก. ในทางกลับกัน บริษัทของคุณ ยังไม่มีใครรู้จักเลยไม่ใช่หรือ ??..”

คำกล่าวดังกล่าวนี้ ของบริษัทยักษ์ใหญ่สหรัฐฯเป็นความจริง และ มีเหตุผล แต่โมริตะยอมรับไม่ได้. ทั้งนี้เพราะ สายตาของโมริตะมองไกลไปกว่า เพียงแค่ขายสินค้าเฉพาะหน้านี้. เขาจึงโต้กลับไปว่า

“..ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็หมายความว่า เมื่อห้าสิบปีที่แล้ว บริษัทของคุณ ก็ไม่มีใครเคยรู้จักมาก่อนเช่นเดียวกันนะซิ. ในด้านกลับกัน ก็อาจจะพูดได้ว่า บริษัทของผม กำลังจะก้าวเดินก้าวแรก ไปสู่บริษัทที่ทุกคนรู้จักในอีกห้าสิบปีข้างหน้า...”


โมริตะปฏิเสธที่จะทำสัญญาขายสินค้า ซึ่งมีมูลค่ามหาศาลสำหรับบริษัทเปิดใหม่ เพราะเห็นว่า หนทางของบริษัท คือการต้องสร้างแบรนด์ของตนเองขึ้นมาให้ได้.

(อ่านต่อตอนจบคราวหน้าครับ)


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที