มานพ

ผู้เขียน : มานพ

อัพเดท: 15 ส.ค. 2009 10.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 240350 ครั้ง

การเจรจาต่อรอง เป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้มีความชำนาญได้ ซึ่งการเจรจาต่อรองอาศัยทักษะพื้นฐานเรื่องการพูด การคิดเชิงระบบเป็นสิ่งสำคัญซึ่งเด็กไทยหลายคนขาดทักษะส่วนนี้ อาจเป็นเพราะระบบการศึกษาไทยยังไม่ให้ความสำคัญ


การเจรจาต่อรองเรื่องเงินเดือน

การเจรจาต่อรองเรื่องเงินเดือน

                  Compensation  หรือ  เรื่องการบริหารผลตอบแทน เป็นเรื่องที่มนุษย์เงินเดือน  ที่ทำงานรับกันทุกสิ้นเดือน ก่อนสิ้นลม 

                  เงินเดือนเป็นเรื่องที่อ่อนไหวมาก  สำหรับการทำงานเพราะ  อะไรยังไม่ทราบ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่นักบริหารจัดการบุคคลของทุกองค์การจะต้องทำการวิจัยหาสาเหตุ   ทังนี้มักเห็นการนินทาระหว่างพนักงานเรื่องที่เป็นเรื่องเด่นของมนุษย์เงินเดือนไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษา  บริษัท ห้างร้าน คือเรื่องเดียวเรื่องเงินเดือน  ในกรณีที่พบมักกล่าวว่า  คนโน้นมาทำงานทีหลังเพิ่งเข้ามาทำงานทีหลังทำไมเงินเดือน  มากกว่า  ทำงานน้อยกว่า  ประสบการณ์น้อยกว่า  โง่กว่า   หรือ มันเก่งมาจากไหน      

           คำตอบ  คือ   ดูก่อนว่าเขาจบอะไรมา   เขาวุฒิการศึกษาสูงกว่า   หรือเปล่า   มีความสามารถพิเศษดีกว่าคนส่วนมากมักไม่ดูส่วนนี้  มักเห็นแก่ตัวเข้าข้างตนเอง    นี่เป็นเพียงหนึ่งสาเหตุที่  มนุษย์เงินเดือนผู้ที่มีจิตใจที่หยั่งรู้ได้ยาก 

   สำหรับเรื่องของจิตใจมนุษย์  เป็นเรื่องที่เข้าใจยากมาก   ไม่รู้จักคำว่าพึงพอใจ   การเจรจาต่อรองจึงมักเกิดขึ้นในส่วนของการต่อรองเงินเดือน  จะแสดงออกมาในรูปของ   การขอขึ้นเงินเดือน  และเรื่องนี้เอง  เมื่อเกิดขึ้นในระหว่างลูกจ้าง(มนุษย์เงินเดือน)  และนายจ้าง 

การเริ่มขึ้นลูกจ้างมัก เปิดประเด็นก่อนโดยอ้าง  ภาระงานที่รับผิดชอบ   ของตนเป็นหลัก  ซึ่งมากกว่าพนักงานอื่นในระดับเดียวกัน   แต่มักจะลงเอยด้วย  ความผิดหวัง    โดยได้รับเหตุผล   ว่าผลการดำเนินงานขององค์การยังไม่ดี  หรือ  เอาไว้โอกาสหน้าเดี๋ยวค่อยว่ากัน 

                  ตามหลักการขอขึ้นเงินเดือนที่ผู้เขียนมักได้รับพิจารณาเสมอเมื่อมีการเจรจา ต่อรอง เรื่องนี้   มันง่ายมากหลักการคือ

1.       สรุป Job Descriptions ของตนในขณะนี้ พร้อมสำเนาวุฒิการศึกษาถ้าในกรณีเงินเดือนของลูกจ้างยังไม่เท่ากับระดับการศึกษาตามกฎหมายแรงงาน    

2.       สรุปผลงานที่ตนได้ทำในระยะเวลา  1 ปีที่ผ่านมา เอาเฉพาะเรื่องเด่น ประเด็นร้อน   ที่คิดว่าได้ช่วยให้องค์การหรือบริษัทรอดตายอย่าง หวุดวิด! ได้ยิ่งเข้านายจ้าง

3.       หาโอกาสดี ๆ  ที่นายจ้างและเป็นผู้ที่มีอำนาจในการพิจารณาเงินเดือน  อารมณ์ดี ๆ   เข้าเกริ่นนำก่อน  มีข้อแม้ว่าห้ามผิดคิวเด็ดขาด     จะต้องแน่ใจว่าอารมณ์ต้องดีจริง ๆ  เช่นโอกาส  ที่องค์การมีผลการดำเนินงานที่ดี  มีผลกำไรมาก   เป็นต้น

4.       หลังจากนั้น  ถ้าหาก  เจ้านาน  say YES   เข้าหาหัวหน้าฝ่ายบุคคลให้ทราบทันที  

5.       ขั้นสุดท้ายนี้  ไม่มีข้อสรุปชัดเจน  อย่างมีแบบแผนนัก    เพราะ  ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์การ  ระบบการทำงาน  ว่าจะเริ่มดำเนินการตามลำดับอย่างเป็นทางการ  ได้อย่างไรเรื่องนี้ไม่แน่นอนสำหรับบางองค์การสามารถพิจาณาได้ทันที     แต่บางองค์การมีขั้นตอนมากมายยุ่งยาก  

              สุดท้าย       

6.       ถ้าเรื่องถูกดอง  หรือหายเงียบไปนาน     จะต้อง  ตามเรื่อง   การตามเรื่อง   เป็นเรื่องที่อ่อนไหวอีกเช่นกัน   วัฒนธรรมองค์การเรื่องของการทำงานของบางองค์การไม่เหมือนกัน  ทางที่ดี  ทำตามข้อ  3   ใหม่ให้ดี ๆ 

7.       ถ้าเรื่องเป็นดังคาดหมายสมหวัง   ได้เงินเดือนขึ้น    อย่าลืม  แอบไปทำข้อ  3  ใหม่ด้วยแต่ใช้คำว่า  ขอบคุณครับ   ท่าน   ขอบคุณครับนาย  กระผมจะทำงานตามที่นายมอบหมายให้ดีที่สุด   จะไม่ทำให้  ท่านผิดหวัง   

8.       อย่า  อย่า  อย่า  พูด  หรือเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้เพื่อนร่วมงาน  (ขี้อิจฉา)  ของคุณฟังโดยเด็ดขาด   แต่เรื่องนี้มักจะเล็ดรอดออกมาแน่นอน   เชื่อสิ                                            


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที