aka-opapi

ผู้เขียน : aka-opapi

อัพเดท: 24 ธ.ค. 2008 12.24 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4500 ครั้ง

ปราชญ์เกษตร...แบ่งแยกออกเป็น 4 แขนง ประกอบด้วย ปราชญ์ เกษตรผู้ทรงภูมิปัญญาและมีคุณูปการต่อการเกษตรไทย... ปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง... ปราชญ์เกษตรดีเด่น และ ปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย...แล้วรวมเรียกกันว่า “...ปราชญ์ ของแผ่นดิน...”

ผู้ที่จะเป็น ปราชญ์ฯ ...มิใช่เพียงแค่ ประสบความสำเร็จ จากการดำเนินชีวิต ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือมีความรู้ความสามารถเชี่ยวชาญและมีผลงาน ด้านการเกษตรที่สร้างประโยชน์ได้ เท่านั้น...

...ที่สำคัญที่สุดจะถูกยกย่อง คือบุคคลนั้นต้อง อุทิศตน เวลา ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ถ่ายทอดสู่ สังคม มาอย่างต่อเนื่อง จึงจะผ่านการคัดเลือก สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์...ให้เป็นปราชญ์เกษตร

ดังเช่น....นายโทน วรสุข หรือ พ่อใหญ่โทน อายุ 80 ปี ผู้รับรางวัลปราชญ์เกษตรเมื่อปี พ.ศ.2551 ซึ่งได้บอกกับสื่อมวลชนว่า...ครั้งยังหนุ่มก็เข้ามาขายแรงงานในต่างถิ่น โดยรับจ้างทำความสะอาดที่ท่าเรือคลองเตย ในตอนนั้นค่าแรง เดือนละ 600 บาท สองคนกับภรรยาก็พออยู่พอกิน แต่พอแก่ตัวขึ้นก็หวนคิดถึงว่า...อนาคตครอบครัวจะอยู่กันอย่างไร??

...กับคำถามนี้ จึงได้ตัดสินใจกลับบ้านที่ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

หะแรก.....เมื่อเริ่มลงมือทำการเกษตรด้วยการปลูกมันสำปะหลัง แต่ก็ประสบกับปัญหาราคาตกต่ำ ก็ไม่ได้ย่อท้อหาแนวทางแก้ไขใหม่ หันมาทำค้าขายได้เงินมาก็ซื้อที่ดินไว้ ต่อมา สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้เข้ารังวัดที่ดิน พร้อมกับ นักพัฒนาเอกชน เข้าไปร่วมในการ ศึกษาเรียนรู้ถึงการพัฒนาที่ดิน ทั้งได้ไปดูงานที่เครือข่ายอินแปง

พ่อใหญ่โทน เล่าต่ออีกว่า...ด้วยใจรักในการทำเกษตร เริ่มลงมือทำเกษตรผสมผสานในชุมชน โดยการปลูกพืชหลากหลายชนิด มีทั้งข้าว ผักสวนครัว สมุนไพร ไม้ใช้สอย และ ไม้ผล ทั้งยังยึดหลัก “อย่าฆ่าสังคม หรือสร้างพิษภัยต่อสังคมด้วยสารเคมี” ให้กลายเป็นกิจวัตรในการปฏิบัติ ส่งผลดีที่เกิดขึ้น ในนาข้าวมีทั้ง ปู ปลา หอย เป็นอาหารนำมาเลี้ยงชีวิตได้ทั้งครอบครัว...

เทคนิคในการเพาะปลูกพืชให้ได้ผลดี ต้องมีการวางแผน เช่น คาดการณ์ปริมาณน้ำฝน โดยการสังเกตที่หางของ ตัวตะกวด หรือ ตัวแลน เกิดใหม่ในปีนั้น หากมีสีดำมากกว่าสีขาว แสดงว่า ฝนจะตกชุก หรือใช้วิธีการดูสีจาก กระดูกอึ่งเผ้า หรือ อึ่งโกรก จากโคนขา ถ้าหากมี สีดำไปหาสีขาว หมายถึง ปีนั้นฝนแล้ง หรือจะใช้ ศาสตร์การต้มไก่ หากช่วงหัว ไก่โค้งงอเหมือนรวงข้าว น้ำจะดี แต่หาก คอไก่เหยียดตรงปีนั้นฝนจะแล้ง

พ่อใหญ่โทน บอกอีกว่า เทคนิคและองค์ความรู้ที่มีอยู่นั้นประกอบด้วย การขยายพันธุ์พืช โดยการเสริมรากโดยใช้วิธีการฝานบวบ เป็นการเฉือนให้เป็นรูปโล่ จากนั้นก็นำรากเข้าไปเสริม หรือเทคนิคการติดตาที่ต้องใช้ตาที่มีความแข็งแรง จุดสำคัญที่สุดเป็นการกรีดและลอกแผ่นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วแปะลงไปให้ ตาหงายขึ้น ก่อนจะปิดด้วยพลาสติกป้องกันเชื้อรา

นอกจากนี้ พ่อใหญ่โทน ยึดหลักของวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น โดยการใช้คำผญา หรือภาษิตเป็นหลักดำเนินชีวิต เพื่อถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง ดังเช่น “ความซิตกพ่อไฮ่ ให้พ่อไฮ่ลา ความซิตกพ่อนา ให้พ่อนาเว้า ความซิตกหมู่บ้าน ให้เฒ่าแก่ขุนกวนเว้า” แปลออกมาโดยรวม หมายความว่า “...การที่จะพูดหรือทำเรื่องไหน ควรให้ผู้มีความรู้ในเรื่องนั้นๆเป็นคนพูด คนทำ...”

และสิ่งที่สำคัญในทุกวันนี้ พ่อใหญ่โทน ต้องการที่จะทำโครงการ “ผ้าป่าต้นไม้” โดย ผู้ต้องการทำบุญ อาจจะไม่ต้องใช้เงิน แต่มาร่วมช่วยกันใช้แรงในการปลูกป่า หรือใครที่มีเงินอยากจะสนับสนุน ก็ทำได้ เพราะเราต้องการให้เกิดการปลูกไม้ป่า หรือไม้ใช้สอยบนหัวไร่ปลายนา เพื่อให้ลูกหลานได้...สำนึกรักบ้านเกิดและกลับมาสู่ถิ่นฐานเดิม...!!!

นายจรัลธาดา กรรณสูต ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า ปีนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นสมควรให้มีการยกย่องผู้ทรงภูมิปัญญาด้านการเกษตรสาขาต่างๆ ให้ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “ปราชญ์ เกษตรของแผ่นดิน” เพื่อให้ได้รับการดูแลด้านสวัสดิการพร้อมทั้งสนับสนุน ในการถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่แวดวงเกษตรกรรมและสังคมในวงกว้าง

...ซึ่งปราชญ์เกษตรของแผ่นดินทั้ง 4 แขนงจะเข้ารับพระราชทานเหรียญรางวัลจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในงาน พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ.


ผ้าป่าต้นไม้...ปราชญ์เกษตร สร้างประเพณีเรียนรู้ จากธรรมชาติ

ปราชญ์เกษตร...แบ่งแยกออกเป็น 4 แขนง ประกอบด้วย ปราชญ์ เกษตรผู้ทรงภูมิปัญญาและมีคุณูปการต่อการเกษตรไทย... ปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง... ปราชญ์เกษตรดีเด่น และ ปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย...แล้วรวมเรียกกันว่า “...ปราชญ์ ของแผ่นดิน...” ผู้ที่จะเป็น ปราชญ์ฯ ...มิใช่เพียงแค่ ประสบความสำเร็จ จากการดำเนินชีวิต ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือมีความรู้ความสามารถเชี่ยวชาญและมีผลงาน ด้านการเกษตรที่สร้างประโยชน์ได้ เท่านั้น... ...ที่สำคัญที่สุดจะถูกยกย่อง คือบุคคลนั้นต้อง อุทิศตน เวลา ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ถ่ายทอดสู่ สังคม มาอย่างต่อเนื่อง จึงจะผ่านการคัดเลือก สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์...ให้เป็นปราชญ์เกษตร ดังเช่น....นายโทน วรสุข หรือ พ่อใหญ่โทน อายุ 80 ปี ผู้รับรางวัลปราชญ์เกษตรเมื่อปี พ.ศ.2551 ซึ่งได้บอกกับสื่อมวลชนว่า...ครั้งยังหนุ่มก็เข้ามาขายแรงงานในต่างถิ่น โดยรับจ้างทำความสะอาดที่ท่าเรือคลองเตย ในตอนนั้นค่าแรง เดือนละ 600 บาท สองคนกับภรรยาก็พออยู่พอกิน แต่พอแก่ตัวขึ้นก็หวนคิดถึงว่า...อนาคตครอบครัวจะอยู่กันอย่างไร?? ...กับคำถามนี้ จึงได้ตัดสินใจกลับบ้านที่ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี หะแรก.....เมื่อเริ่มลงมือทำการเกษตรด้วยการปลูกมันสำปะหลัง แต่ก็ประสบกับปัญหาราคาตกต่ำ ก็ไม่ได้ย่อท้อหาแนวทางแก้ไขใหม่ หันมาทำค้าขายได้เงินมาก็ซื้อที่ดินไว้ ต่อมา สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้เข้ารังวัดที่ดิน พร้อมกับ นักพัฒนาเอกชน เข้าไปร่วมในการ ศึกษาเรียนรู้ถึงการพัฒนาที่ดิน ทั้งได้ไปดูงานที่เครือข่ายอินแปง พ่อใหญ่โทน เล่าต่ออีกว่า...ด้วยใจรักในการทำเกษตร เริ่มลงมือทำเกษตรผสมผสานในชุมชน โดยการปลูกพืชหลากหลายชนิด มีทั้งข้าว ผักสวนครัว สมุนไพร ไม้ใช้สอย และ ไม้ผล ทั้งยังยึดหลัก “อย่าฆ่าสังคม หรือสร้างพิษภัยต่อสังคมด้วยสารเคมี” ให้กลายเป็นกิจวัตรในการปฏิบัติ ส่งผลดีที่เกิดขึ้น ในนาข้าวมีทั้ง ปู ปลา หอย เป็นอาหารนำมาเลี้ยงชีวิตได้ทั้งครอบครัว... เทคนิคในการเพาะปลูกพืชให้ได้ผลดี ต้องมีการวางแผน เช่น คาดการณ์ปริมาณน้ำฝน โดยการสังเกตที่หางของ ตัวตะกวด หรือ ตัวแลน เกิดใหม่ในปีนั้น หากมีสีดำมากกว่าสีขาว แสดงว่า ฝนจะตกชุก หรือใช้วิธีการดูสีจาก กระดูกอึ่งเผ้า หรือ อึ่งโกรก จากโคนขา ถ้าหากมี สีดำไปหาสีขาว หมายถึง ปีนั้นฝนแล้ง หรือจะใช้ ศาสตร์การต้มไก่ หากช่วงหัว ไก่โค้งงอเหมือนรวงข้าว น้ำจะดี แต่หาก คอไก่เหยียดตรงปีนั้นฝนจะแล้ง พ่อใหญ่โทน บอกอีกว่า เทคนิคและองค์ความรู้ที่มีอยู่นั้นประกอบด้วย การขยายพันธุ์พืช โดยการเสริมรากโดยใช้วิธีการฝานบวบ เป็นการเฉือนให้เป็นรูปโล่ จากนั้นก็นำรากเข้าไปเสริม หรือเทคนิคการติดตาที่ต้องใช้ตาที่มีความแข็งแรง จุดสำคัญที่สุดเป็นการกรีดและลอกแผ่นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วแปะลงไปให้ ตาหงายขึ้น ก่อนจะปิดด้วยพลาสติกป้องกันเชื้อรา นอกจากนี้ พ่อใหญ่โทน ยึดหลักของวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น โดยการใช้คำผญา หรือภาษิตเป็นหลักดำเนินชีวิต เพื่อถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง ดังเช่น “ความซิตกพ่อไฮ่ ให้พ่อไฮ่ลา ความซิตกพ่อนา ให้พ่อนาเว้า ความซิตกหมู่บ้าน ให้เฒ่าแก่ขุนกวนเว้า” แปลออกมาโดยรวม หมายความว่า “...การที่จะพูดหรือทำเรื่องไหน ควรให้ผู้มีความรู้ในเรื่องนั้นๆเป็นคนพูด คนทำ...” และสิ่งที่สำคัญในทุกวันนี้ พ่อใหญ่โทน ต้องการที่จะทำโครงการ “ผ้าป่าต้นไม้” โดย ผู้ต้องการทำบุญ อาจจะไม่ต้องใช้เงิน แต่มาร่วมช่วยกันใช้แรงในการปลูกป่า หรือใครที่มีเงินอยากจะสนับสนุน ก็ทำได้ เพราะเราต้องการให้เกิดการปลูกไม้ป่า หรือไม้ใช้สอยบนหัวไร่ปลายนา เพื่อให้ลูกหลานได้...สำนึกรักบ้านเกิดและกลับมาสู่ถิ่นฐานเดิม...!!! นายจรัลธาดา กรรณสูต ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า ปีนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นสมควรให้มีการยกย่องผู้ทรงภูมิปัญญาด้านการเกษตรสาขาต่างๆ ให้ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “ปราชญ์ เกษตรของแผ่นดิน” เพื่อให้ได้รับการดูแลด้านสวัสดิการพร้อมทั้งสนับสนุน ในการถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่แวดวงเกษตรกรรมและสังคมในวงกว้าง ...ซึ่งปราชญ์เกษตรของแผ่นดินทั้ง 4 แขนงจะเข้ารับพระราชทานเหรียญรางวัลจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในงาน พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ.

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที