editor

ผู้เขียน : editor

อัพเดท: 18 ส.ค. 2008 15.24 น. บทความนี้มีผู้ชม: 654376 ครั้ง

บทความเรื่องหุ่นยนต์จาก อาจารย์ ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO)


ตาหุ่นยนต์

นักวิจัยหุ่นยนต์ทุกท่านคุ้นเคยกับระบบตา หุ่นยนต์ (Vision System) โดยเฉพาะระบบตาคู่ (Binocular system) ที่ทำให้หุ่นยนต์สามารถมองได้ใกล้เคียงกับตามนุษย์กล่าวคือ มองเห็นและคาดคะเนความลึกของภาพ (Depth)ได้ ในทางเทคโนโลยีการเคลื่อนที่นั้นเราต้องมีจำนวนเซ็นเซอร์เท่ากับจำนวนองศา อิสระ (Degree of Freedom) แต่ในกรณีของระบบตาคู่นั้นใช้ความเหลื่อมของอิมเมจ (Intersection)ของสัญญาณภาพด้านซ้ายและขวา มาคำนวณหาระยะลึกด้านที่สามของภาพได้ ว่าเป็นไปแล้ววิธีการเช่นนี้เราเลียนแบบมาจากการทำงานของตามนุษย์ สมองจะทำหน้าที่ประมวลภาพซ้อนจนเรียนรู้ว่าวัตถุนั้นมีความลึกอยู่ เทคนิคการควบคุมแบบป้อนกลับก็ได้นำข้อมูลจากสัญญาณภาพนี้ป้อนกลับเข้าสู่ สมองกลหุ่นยนต์เพื่อให้ทราบว่าขณะนี้หุ่นยนต์อยู่ที่ใด และ เบื้องหน้ามีสิ่งกีดขวางอะไรอยู่ เพื่อที่จะได้วางแผนการก้าวเดินหลบหลีกให้ไปถึงจุดหมายปลายทางตามเวลาที่ กำหนด

แม้ว่าวิทยาการด้าน “ตาหุ่นยนต์” ส่วนใหญ่ยังอยู่ในห้องปฏิบัติการ ไม่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์เท่าใดนัก แต่เทคโนโลยีพื้นๆที่เกี่ยวข้องกับระบบตาหุ่นยนต์ เช่น กล้องวงจรปิด: CCTV กำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะประเทศไทยของเราขณะนี้ที่ต้อง เผชิญกับภัยคุกคามด้านก่อการร้ายอย่างต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ปีที่แล้ว

สัปดาห์ก่อนในช่วงการประชุมร่วมระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท แคท เทเลคอม ได้มีการกล่าวถึงระบบนำร่อง CYFENCE อันเป็นบริการหนึ่งของ CAT IT Security ที่ไปติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด เฝ้าระวังและรักษาความปลอดภัยให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ที่ หาดป่าตองและหาดกะรน และตัวเมืองจังหวัดภูเก็ต ก่อนหน้านี้มีการติดตั้งไปแล้ว 540 จุด และ 100 จุด ที่กรุงเทพมหานครและเมืองพัฒนาตามลำดับ

ที่ผมบอกว่าเป็นการเฝ้าระวัง ก็เพราะเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์บังคับการสามารถสอดส่องสถานที่เสี่ยงภัยผ่าน “ตาวิเศษ” เหล่านี้โดยสามารถโยกไปดูกล้องที่ตำแหน่งต้องการและใช้การสื่อสารผ่านเครือ ข่ายสารสนเทศระบบอินเทอร์เน็ต มีการเชื่อมโยงโครงข่ายเข้ากับเทคโนโลยีมัลติมีเดียสื่อสารไร้สายความเร็ว สูง ภายใต้ระบบ CDMA 2000 1X EV-DO สามารถต่อการทำงานกับ คอมพิวเตอร์พกพาส่วนตัว (PDA) ได้ และคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ที่ผมประทับใจมากคือ คุณภาพของกล้องค่อนข้างสูงสามารถซูมภาพระยะไกลได้กว่า 30 เมตร เห็นแม้กระทั่งหมายเลขทะเบียนรถยนต์ที่ต้องสงสัย เมื่อมีระบบนี้แล้วคนร้ายคงต้องระวังตัวมากขึ้นเพราะการกระทำใดๆที่ลับๆ ล่อๆอาจตกอยู่ในสายตาของเจ้าหน้าที่ และจะถูกจับกุมก่อนที่จะลงมือ

นอกจากการเฝ้าระวังเหตุแล้ว ในช่วงที่เกิดเหตุ หากต้องมีการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ (Evacuation) และการติดตามคนร้าย CYFENCE ก็สามารถช่วยให้เจ้าหน้าที่ของศูนย์ควบคุมและระวังภัยได้ทราบสถานการณ์แบบ Real Time จนสามารถประสานงานให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี หลายครั้งเราจะพบว่าประชาชนวิ่งหนีโดยไม่รู้ทิศทางแออัดกันไปทางเดียวจนล้ม ลงแล้วโดนเหยียบเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก

ระบบดังกล่าวนี้ยังมีประโยชน์หลังจากเหตุร้ายได้เกิดขึ้นแล้วอีกด้วย หากมีการบันทึกเก็บไว้เพื่อนำมาวิเคราะห์หาเหตุและผู้กระทำความผิด ในกรณีนี้ต้องเพิ่มเติมเทคนิคด้านการตรวจจับการเคลื่อนไหวอย่างอัตโนมัติ (Motion Detector) การตรวจสอบค่าบิตของแต่ละอิมเมจ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น คนร้ายถือกระเป๋าที่บรรจุระเบิดไว้ภายในเดินไปติดต่อที่เคาน์เตอร์ฝ่ายต้อน รับ หลังจากพูดคุยเสร็จแล้วก็แอบวางกระเป๋านั้นไว้ คอมพิวเตอร์จะเตือนทันที่เนื่องจากอิมเมจมีการขาดตอนระหว่างคนร้ายกับ กระเป๋าใบนั้น เทคนิคพื้นๆ เช่นนี้ของระบบตาหุ่นยนต์ได้ถูกนำมาใช้จริงๆแล้ว ในประเทศอิสราเอล และอังกฤษ หากหน่วยงานใดสนใจจะใช้ อย่าเพิ่งรีบเสียเงินซื้อจากต่างประเทศนะครับ โปรดติดต่อนักวิจัยหรืออาจารย์วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ผมมั่นใจว่าคนไทยออกแบบและทำใช้เองได้ดีครับ

ระบบ CCTV บ้านเราหลังจากติดตั้งไปแล้วไม่สามารถทำงานอย่างต่อเนื่องได้ดีนั้นเกิดจาก นิสัยของพวกเราที่ชอบซื้อของแต่ไม่ค่อยดูแลรักษา (Maintenance) อาคารสูงในกรุงเทพฯ นั้น ท่านเจ้าของอาคารลองให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบดู หากพบว่ากล้องที่ใช้อยู่ยังทำงานเกินกว่า 70 %

ผมขอยกนิ้วให้เลยครับ




ข้อคิดเห็น/เสนอแนะ มาที่ผู้เขียนได้ที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th



drdjitt7070.jpg

รู้จักผู้เขียน
รศ.ดร. ชิต เหล่าวัฒนา
จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ไดัรับทุนมอนบูโช รัฐบาลญี่ปุ่นไปศึกษาและทำวิจัยด้านหุ่นยนต์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนฟุลไบรท์ และจากบริษัท AT&T ได้รับประกาศนียบัตรด้านการจัดการเทคโนโลยีจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาชูเซสต์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา

ภายหลังจบการศึกษา ดร. ชิต ได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี และเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือที่คนทั่วไปรู้จักในนาม “ฟีโบ้ (FIBO)” เป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เพื่อทำงานวิจัยพื้นฐาน และประยุกต์ด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ตลอดจนให้คำปรึกษาหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และบริษัทข้ามชาติ (Multi-national companies) ในประเทศไทยด้านการลงทุนทางเทคโนโลยี การใช้งานเทคโนโลยีอัตโนมัติชั้นสูง และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ



บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที