OpenSourceInitial

ผู้เขียน : OpenSourceInitial

อัพเดท: 12 ม.ค. 2009 08.17 น. บทความนี้มีผู้ชม: 482298 ครั้ง

ปัจจุบันองค์กรหลายแห่งในประเทศไทยมีการใช้โปรแกรม โอเพ่นซอร์ส เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินธุรกิจ และสามารถใช้งานได้ดี มีเสถีนรภาพสูง สิ่งนี้เป็นสิ่งยืนยันได้ว่า โปรแกรมโอเพ่นซอร์สเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ นอกจากนี้ปัจจุบันผู้ใช้ทั่วไปก็เริ่มเล็งเห็นความสำคัญในการใช้โอเพ่นซอร์สมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมโอเพ่นซอร์สที่สามารถลงในวินโดว์ได้อย่าง OpenOffice.org ที่เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลาย หรือว่าเป็น โอเพ่นซอร์ส OS ตัวใหม่ที่ได้ความนิยมขณะนี้อน่าง Ubuntu


โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ . . . คำตอบทางไอทีและธุรกิจที่ เอส แอนด์ พี 2


งค์ประกอบของโซลูชั่นที่เลือกใช้
          แม้ว่า เอส แอนด์ พี ยังไม่ได้นำเอาโอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์มาใช้กับระบบที่แกนหลักก็ตาม แต่สำหรับระบบที่อยู่รายรอบอื่นๆ ล้วนมีการนำโอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์มาประยุกต์ใช้ทั้งสิ้น ม.ล. ลือศักดิ์ อธิบายว่า “ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ เราได้นำเอานำลีนุกซ์ และฐานข้อมูล mySQL มาใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานแบบโอเพ่นซอร์ส  และใช้ PHP เป็นเครื่องมือในการเขียนแอพพลิเคชั่นให้ทำงานผ่านเว็บได้ เราได้ใช้โครงสร้างพื้นฐาน และเครื่องมือดังกล่าวนี้ในการเขียนระบบบริหารจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management – SCM) เพื่อใช้ส่งคำร้องขอทั้งหมดเข้ามายังระบบ ERP แบบปิดที่ศูนย์กลาง ซึ่งทำให้เราสามารถประหยัดเงินได้มาก หากคำนวณจากจำนวนสาขา 200 กว่าแห่ง การซื้อไลเซนส์สำหรับไคลเอนต์ของระบบ ERP ให้กับสาขาทั้งหมดนั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงถึงตัวเลข 8 หลักปลายๆ ทีเดียว ด้วยระบบซัพพลายเชนที่เราพัฒนาขึ้นมาเองนี้ทำให้เราประหยัดเงินในส่วนนี้ได้ ก้อนใหญ่ทีเดียว”

          นอกจากจะใช้โครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโอเพ่นซอร์สแล้ว ม.ล. ลือศักดิ์ ยังเปิดเผยว่าในฝั่งของแอพพลิเคชั่น เอส แอนด์ พี ก็มีการนำเอาแอพพลิเคชั่นแบบโอเพ่นซอร์สมาใช้งานหลายๆ ตัว โดยหนึ่งในจำนวนนี้ก็คือ sugarCRM แอพพลิเคชั่นด้านการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งเอส แอนด์ พี นำมาใช้สร้างระบบ Help Desk สำหรับให้บริการผู้ใช้ภายในองค์กร

          ม.ล. ลือศักดิ์ ได้แจกแจงรายละเอียดของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่ทางเอส แอนด์ พี นำมาใช้งานว่าประกอบด้วย ซอฟต์แวร์ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานคือ ระบบปฏิบัติการเป็นลีนุกซ์ (เรดแฮท และอูบันตู) และฐานข้อมูล mySQL ซอฟต์แวร์สำหรับการใช้งานจากศูนย์กลาง คือ sugarCRM ซอฟต์แวร์เครื่องมือ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ด้านการบริหารจัดการคอนเทนต์ คือ Mambo และ Joomla  ในฝั่งไคลเอ็นต์ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่เอส แอนด์ พีนำมาใช้ก็เป็นซอฟต์แวร์ที่อยู่ในชุดซอฟต์แวร์จันทราที่ซิป้าได้พัฒนาและ แจกจ่ายนั่นเอง

          หากคิดเป็นสัดส่วนโดยคำนวณจากปริมาณซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้งาน ม.ล. ลือศักดิ์ เปิดเผยว่า เอส แอนด์ พีได้นำเอาโอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์มาใช้งานมากถึงร้อยละ 95 ทีเดียว 

ผลลัพธ์ทางธุรกิจ
          ม.ล. ลือศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับเอส แอนด์ พี ไม่ได้มองการใช้โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์เฉพาะในเรื่องของการประหยัดค่าใช้จ่าย เท่านั้น แต่เรามองที่ความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากมายจากระบบที่พัฒนาขึ้น มา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราสามารถพัฒนาระบบสำนักงานส่วนหลังของร้านอาหารที่สามารถ เชื่อมรอยต่อการทำงานระหว่างระบบของสาขากับศูนย์กลางได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ยังมีความรวดเร็ว ซึ่งเราเรียกว่า “3 เร็ว” คือ 1) โครงการเสร็จเร็วเพราะเป็นระบบที่ติดตั้งและบริหารจัดการได้ง่าย 2) การอบรมรวดเร็ว เป็นระบบที่ช่วยร่นระยะเวลาในการฝึกอบรมผู้ใช้สั้นลง หรือไปจนถึงขั้นไม่ต้องฝึกอบรมเลย ”

          “สิ่งที่เราเน้นย้ำกับฝ่ายไอทีก็คือต้องพยายามพัฒนาระบบที่ไม่ต้องมี การอบรมการใช้งาน หมายความว่า เวลาเราพัฒนาระบบด้วยโอเพ่นซอร์สนั้นจะต่างจากซอฟต์แวร์แบบปิด เพราะเราไม่ต้องเสียเงิน และเสียเวลาส่งผู้ใช้ไปเรียนหรือฝึกอบรม  การที่เราใช้โอเพ่นซอร์สทำให้สามารถปรับแต่งระบบได้ตามต้องการ เพื่อให้ไม่ต้องเกิดการอบรมผู้ใช้เลย คือ เมื่อผู้ใช้เข้าสู่ระบบ หากใช้งานหรือป้อนข้อมูลผิดตรงจุดไหนก็จะมีคำแนะนำ หรือคำเตือนต่างๆ ที่ใส่ลงไปในระบบปรากฏขึ้นมา ทำให้กลายเป็นระบบที่มีการป้องกันความผิดพลาดเต็มตัว ในขณะที่ถ้าเป็นซอฟต์แวร์แบบปิดไม่มีทางทำแบบนี้ได้เลย” ม.ล. ลือศักดิ์ อธิบายเพิ่มเติม “สำหรับเร็วที่ 3 ก็คือ ประสิทธิภาพการทำงานที่รวดเร็วของระบบ เนื่องจากเป็นระบบที่กินทรัพยากรน้อย จึงทำให้ใช้ความสามารถของเซิร์ฟเวอร์ที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ”

          ข้อดีอีกประการหนึ่งที่เห็นได้ชัดของโอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ซึ่งเหนือกว่า ซอฟต์แวร์แบบปิดก็คือ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนภาษาไทยในตัวซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับการใช้งานได้ “นอกจากภาษาไทยมาตรฐานที่ใส่ลงไปแล้ว สำหรับโอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์นั้นเรายังมีอิสระในการใส่ภาษาเฉพาะของเราลงไปใน ตัวซอฟต์แวร์ได้ด้วย เช่น เราพัฒนาระบบซัพพลายเชน เราก็ใส่ภาษาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับซัพพลายเชนซึ่งผู้ใช้ในกลุ่มนี้เข้าใจลง ไปได้ ในขณะที่ถ้าเป็นซอฟต์แวร์แบบปิดจะทำแบบนี้ไม่ได้เลย” ม.ล. ลือศักดิ์ อธิบายถึงข้อดีอีกประการหนึ่ง

          แม้ว่าจุดเริ่มต้นในการนำเอาโอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์มาใช้งานของเอส แอนด์ พี จะเกิดขึ้นจากการแนวคิดของการต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายเฉกเช่นองค์กรอื่นๆ แต่ปัจจุบันเอส แอนด์ พี ได้พัฒนาระบบด้วยซอฟต์แวร์เหล่านี้จนทำให้ธุรกิจก้าวไปข้างหน้าได้อย่างรวด เร็วมากขึ้น ซึ่งหากยังใช้ซอฟต์แวร์แบบปิดเหมือนในอดีตจะไม่สามารถทำเช่นดีนี้ เนื่องจากซอฟต์แวร์ดังกล่าวมีข้อจำกัดมากมาย

ก้าวต่อไปในโลกโอเพ่นซอร์ส
          สำหรับโครงการในอนาคตของการพัฒนาโอ เพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ของเอส แอนด์ พีนั้น ม.ล. ลือศักดิ์ เปิดเผยว่า “เนื่องจากเราได้วางโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโอเพ่นซอร์ส และระบบที่เป็นแกนหลักไว้เรียบร้อยแล้ว สำหรับโครงการที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตเราคงต้องเพิ่มการใช้บริการจากผู้ ให้บริการภายนอกมากขึ้น  ต้องมองหาโอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเข้ามาใช้งานมากขึ้น เนื่องจากเรามีแผนขยายการให้บริการไปสู่ผู้ใช้ภายนอกองค์กรมากขึ้น เช่น ซัพพลายเออร์ และลูกค้า


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที