ธีระพงษ์

ผู้เขียน : ธีระพงษ์

อัพเดท: 08 ม.ค. 2009 00.22 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5881 ครั้ง

ปัจจุบัน มีรูป แบบการบริหารใหม่เกิดขึ้นมากมาย เพื่อเป็นเครื่องมือการบริหารธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจนั้นยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น BSC, TQM, หรือ ISO เพื่อสามารถเผชิญวิกฤตต่างๆ ได้ไม่ว่าสภาพธุรกิจโลกถดถอย หรืออนาคตซึ่งไม่มีใครยั่งรู้ได้แน่นอน องค์กรไม่ว่าจะเป็นภาพรัฐหรือ เอกชนก็ตามที ก็นำ เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้มาใช้ มีทั้งองค์กรประสบความสำเร็จ และบางองค์กรก็พบกับความผิดหวังเนื่องจากปัจจัยแนวล้อมหลายประการ การบริหารงานแบบดุลยภาพ (Equilibrium Management) ที่ผมนำเสนอนี้ เป็นวิธีบริหารอีกแนวคิดหนึ่งซึ่งผมเรียนรู้จากการทำงานที่ทำอยู่ปัจจุบัน ประสมประสานกับแนวคิดการบริหารขององค์กรที่ผมทำอยู่มาปรับใช้ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นแนวคิดใหม่แต่อย่างไร แต่เป็นการต่อยอดแนวคิดต่างๆที่มีอยู่เดิม ไม่ว่าจะเป็น การนำ Strategy Map ของ BSC, ระบบ PDCA, การบริหารงานแบบ Cross Functional Team, ระบบ PMS และการควบคุมเอกสารตามหลัก ISO มาปรับใช้โดยยึดหลัก ดุลยภาพ (Equilibrium) ซึ่งหลักคิดนี้ไม่สงวนลิขสิทธิในการนำไปนี้ แต่คาดหวังว่า จะพบบุคคลที่มีแนวคิดเช่นเดียวกับผม มาช่วยกันพัฒนา และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เพียงคนก็เพียงพอแล้ว : )


กริ่นถึง การบริหารงานแบบดุลยภาพ (Equilibrium Management System)

ในอดีต ธุรกิจไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ หรือเอกชน พยายามที่จะแสวงเครื่องมือทางธุรกิจใหม่เพื่อที่จะนำมาปรับใช้ในองค์กรของตนไม่ว่าจะเป็น BSC, TQM, หรือ ISO เป็น เพื่อมุ่งหวังที่จะบรรลุเป้าหมายองค์กรที่ได้ตั้งไว้ แต่ปรากฏว่าองค์กรมากมายต้องพบว่า เครื่องมือทางธุรกิจเหล่านี้กลับไม่สามารถตอบสนองความต้องการ ขององค์กรได้อย่างแท้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจ ใน วัฒนธรรมแบบไทย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าองค์การนำเครื่องต่างๆเหล่านี้มาใช้นั้น มีทั้งองค์ที่ประสบความสำเร็จ และองค์กรที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะการมีระบบ หรือ เครื่องมือไม่ใช่สักแต่ว่า มีแต่มีต้องถูกนำไปใช้โดย เช่น บางองค์กรมี Work flow เป็น 100 แต่กับนำมาใช้ได้จริงอยู่แค่ 10 เพียงเท่านี้ก็พิสูจน์ได้ในเบื้องต้นแล้วว่า องค์กรนั้น มีประสิทธิภาพเพียงใด

การบริหารงานแบบดุลยภาพ (Equilibrium Management System-EMS) นี้ไม่ใช่แนวความคิดในเชิงบริหารแบบใหม่แต่เป็นแนวความคิดต่อยอด โดยการนำข้อดีของระบบบริหารต่างๆ มาปรับใช้ในการทำงาน โดยยึดหลักดุลยภาพ เพื่อให้ข้อดีเหล่านี้มาปรับใช้การวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกันไป หากจะให้เปรียบเทียบแล้วก็เหมือนกับ Thomas Alva Edison ผลิตหลอดใส้ และมีนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังนำมาต่อยอดจนเกิดเป็นหลอด Fluorescent ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เราก็เฉกใช่เดียวกัน ที่ต้องเผชิญการสภาพการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และตลอดเวลา เราจะต้องรู้ที่ปรับใช้เครื่องมือเรานี้ให้เหมาะกับเรามากที่สุด

Equilibrium คืออะไร ? จะกล่าวถึงในตอนต่อไปครับ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที