editor

ผู้เขียน : editor

อัพเดท: 20 ส.ค. 2009 09.29 น. บทความนี้มีผู้ชม: 94016 ครั้ง

บทความสมชัยให้คุณ


อยู่อย่างไคเซ็น

อยู่อย่างไคเซ็น

ปีที่ 2 ฉบับที่ 9
9 มีนาคม 2552

สถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกายังไม่นิ่งแม้ว่าประธานาธิบดี Obama จะลงนามใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไปแล้ว แต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีคนตกงานเพิ่มขึ้นอีก 651,000 คน ทำให้มีจำนวนคนตกงานสะสมนับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นที่สหรัฐอเมริกาเพิ่มเป็น 4.4 ล้านคนแล้ว และเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 25 ปีที่มีคนว่างงานถึง 8.1 % แต่ที่น่ากังวลมากกว่านั้นคือ คาดการณ์ว่ามีคนอเมริกันถึง 12.5 ล้านคนกำลังกำลังเครียดกับการหางานทำ ทั้งนักศึกษาที่กำลังหางาน part-time ทำในขณะเรียน คนที่เพิ่งเรียนจบแล้วกำลังหางาน full-time ทำ และคนที่ถูกเลิกจ้าง ทำให้มีแนวโน้มว่าอัตราการว่างงานของสหรัฐอเมริกาจะพุ่งสูงถึง 14.8% ได้ เห็นตัวเลขเศรษฐกิจแบบนี้แล้วผู้บิรหารธุรกิจไทยใจคงหนาวสั่นท่ามกลางอากาศร้อนเป็นห่วงวิกฤติเศรษฐกิจที่กำลังส่งผลต่อประเทศไทย จะมีผลกระทบต่อธุรกิจของตน และวิตกว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไรดี

เศรษฐกิจเป็นอย่างนี้ผู้บริหารธุรกิจจะต้องทำอย่างไร? คำตอบแบบกำปั้นทุบดินคือ ต้องทำให้อยู่รอด (Survive) ให้ได้ส่วนวิธีการจะทำให้อยู่รอดได้นั้น ก็แล้วแต่ความคิดและวิธีการของผู้บริหารแต่ละคน แต่ถ้าจะไปถามผู้บริหารระดับอาวุโสของญี่ปุ่นคำตอบที่น่าจะได้รับคือ ทำไคเซ็น (Kaizen) เพราะไคเซ็นเป็นปรัชญา แนวคิด และวิธการจัดการของญี่ปุ่นที่ทำให้ญี่ปุ่นอยู่รอดและชนะการแข่งขันทางการผลิตและการค้ามาตลอด จนเป็นประเทศมหาอำนาจทำเศรษฐกิจอันดับสองของโลก Kaizen ได้ผูกพันเข้าไปในความคิดและจิตใจของคนญี่ปุ่นแทบทุกเรื่อง ทำให้คนญี่ปุ่นเป็นคนที่ติดยึดกับเรื่องคุณภาพไปหมดในวิถีชีวิต หลักการใหญ่ของ Kaizen คือการพัฒนาให้ดีขึ้น (Improvement) อย่างต่อเนื่อง ที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรทุกฝ่ายทุกระดับในสถานที่ทำงาน และยังติดตามมายังการใช้ชีวิตในสังคมและชีวิตในครอบครัวของคนญี่ปุ่น ทุกอย่างในชีวิตจะทำอย่างไรพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ

Kaizen เป็นแนวคิดของผู้บริหารญี่ปุ่นที่แตกต่างไปจากแนวคิดของผู้บริหารฝรั่ง ตรงที่ Kaizen เป็นการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับคนทุกคนในองค์กรตั้งแต่ ผู้บริหารสูงสุด ผู้บริหารระดับกลาง หัวหน้าแผนก และพนักงานคนงาน โดยถือว่า การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง Kaizen จะนำไปสู่การมีนวัตกรรม (Innovation) ขององค์กรในที่สุด ในขณะที่ผู้บริหารฝรั่งจะถือว่าการสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องระดับนโยบายของผู้บริหาร โดยมีทีมงานวิจัยพัฒนานวัตกรรมขององค์กร หรือ หาซื้องานนวัตกรรมจากข้างนอกองค์กรมาพัฒนาต่อยอด บุคลากรระดับกลาง และระดับล่างไม่ค่อยมีส่วนร่วม จึงอาจจะกล่าวได้ว่า Kaizen ของญี่ปุ่นเน้นเรื่อง คน และกระบวนการ (People and Process oriented) ส่วนการบริหารของฝรั่งเน้นเรื่องผลลัพธ์ (Result oriented) จะเห็นได้จากการแข่งขันมวยปล้ำ Sumo ของญี่ปุ่น นอกจากจะให้รางวัล ผู้ชนะเลิศการแข่งขันผู้ที่เอาชนะคู่แข่งขันได้ทุกคนแล้วเขายังให้รางวัลนักมวยปล้ำที่ทำหน้าที่ได้ดีที่สุด (Outstanding performance award) รางวัลนักมวยปล้ำที่มีทักษะดีที่สุด (Skill award) และรางวัลจิตใจต่อสู้ดีที่สุด (Fighting spirit award) ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญในเรื่องคนและกระบวนการแข่งขัน

Masaaki Imai เขียนใน Kaizen: The key to Japan’s Competitive Success ว่า การให้ความสำคัญเรื่องคนและกระบวนการตามแนวคิดของ Kaizen ทำให้ระบบการบริหารการจัดการของญี่ปุ่นให้ความสำคัญเรื่อง

The Association for Overseas Technical Scholarship (AOTS) สำนักงานกรุงเทพ ได้เชิญศาสตราจารย์เกียรติคุณ Masatomo Tanaka กรรมการบริหารบริษัทศูนย์วิจัย J-cost ซึ่งเคยเป็นผู้ร่วมทีมพัฒนาระบบการจัดการคุณภาพของบริษัท Toyota มาเป็นวิทยากรในหลักสูตร KAIZEN: The Heart of Japanese Art of Manufacturing (Monozukuri) ที่จัดขึ้นที่เชียงใหม่ ซึ่งอาจารย์ Tanaka ได้ให้ความรู้และข้อคิดที่น่าสนใจไว้หลายเรื่องอันเป็นปรัชญา Kaizen ที่เป็นรากฐานของระบบคุณภาพของ Toyota เช่น

  1. เคารพในความเป็นปัจเจกบุคคล
    เห็นความสำคัญของคน ยอมรับในความเป็นบุคคลของผู้นั้น ให้เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและความสามารถที่มีอยู่อย่างเต็มที่ โดยค้นหาข้อดีของแต่ละบุคคลแล้วนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร เน้นการให้บุคลากรได้ทำในสิ่งที่ถนัดและได้ทำในสิ่งที่อยากทำ เปิดโอกาสให้บุคลากรได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง และหาจุดร่วมของความต้องการของบริษัทกับเป้าหมายชีวิตของบุคลากร แล้วนำศักยภาพและความสามารถของแต่ละคนมารวมกันเป็นทีมทำงานที่แข่งขันในเรื่องผลงานแต่เติบโตทางหน้าที่ไปพร้อมกัน เพราะการทำงานเป็นทีมคือพลัง ที่สร้างทั้งผลงานและสร้างคนในเวลาเดียวกัน
  2. บรรดาสิ่งต่างๆล้วนอนิจจัง
    น่าประหลาดใจอยู่ไม่น้อยที่หลักคำสอนพุทธศาสนาไปปรากฎอยู่ในแนวคิดของระบบ Toyota ที่มองทุกอย่างเป็นอนิจจัง เช่น ทักษะความสามารถของคนสูงขึ้นทุกวัน แต่ตัวคนก็แก่ตัวลงทุกวัน เช่นเดียวกับเครื่องจักรที่มีการสึกหรอและเสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา Toyota มองการตลาดว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยงมีการเปลี่ยนแปลงของตลาด รวมทั้งเห็นบริษัทเป็นสิ่งที่มีชีวิต หากไม่ฝึกฝนก็จะอ่อนแอ หากไม่เติบโตก็จะเสื่อมสลาย ดังนั้น Toyota จึงต้องพัฒนาฝึกฝนและจะต้องมีชีวิตที่เติบโตต่อไป มีวันนี้เพื่อชีวิตวันพรุ่งนี้
  3. อยู่ด้วยกันอย่างมั่งคั่ง
    ความหมายของการอยู่ร่วมกันอย่างมั่งคั่งหมายถึงการมีชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุขด้วยความเมตตาที่มีต่อกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง บริษัทกับลูกค้า บริษัทกับคู่ธุรกิจ บริษัทกับชุมชน บริษัทกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ บริษัทกับความพึงพอใจของลูกค้า พนักงาน และ ผู้ถือหุ้น การรักษาดุลยภาพของการอยู่ร่วมกันอย่างมีความมั่งคั่งจะทำให้บริษัทอยู่อย่างมีความมั่งคั่ง
  4. สถานที่จริงและของจริง
    หมายถึงการมองทุกอย่างบนพื้นฐานความเป็นจริง สังเกต ศึกษา และแก้ไขปัญหา บนพื้นฐานความเป็นจริงของสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นรากฐานของการทำการแก้ไขปัญหาในระดับหน้างาน เหมือนมีคำกล่าวของญี่ปุ่นที่ว่า “อย่าถกเถียงกันเรื่องที่ลูกที่ตายไปแล้วในห้องประชุม แต่จงลงไปดูลูกที่ยังมีชีวิตอยู่ที่หน้างาน” และ “อย่าคิดแต่ในสมอง แต่จงคิดด้วยมือแลเท้า” คิดแล้วลงมือทำ

ระบบ Toyota ตั้งอยู่บน 2 เสาหลักคือ

วิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ไม่รู้ว่าจะกินเวลานานเท่าไหร่ ปรัชญา Kaizen ให้ข้อคิดที่ดีหลายอย่างที่ควรนำไปคิดและทำ เพราะ Kaizen จะเน้นการ ใช้ปัญญามากกว่าใช้ความรู้ และการทำธุรกิจบนพื้นฐานเศรษฐกิจที่พึ่งพาตนเองด้วยแนวคิด “ปราสาทของตนเองต้องรักษาไว้ด้วยตัวเอง” หมายถึงการทำธุรกิจที่ไม่พึ่งพาคนอื่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และไม่กู้ยืมเงินคนอื่นมาทำธุรกิจ

Bonnie Blair กล่าวว่า “Winning doesn’t always mean being first, winning means you’re doing better than you have done before.” ชัยชนะไม่ได้หมายถึงการเป็นที่หนึ่งเสมอไป ชัยชนะหมายถึงการที่คุณทำได้ดีกว่าที่เคยทำมาก่อน ขอให้โชคดีครับ


บทความแสดงทรรศนะอิสระของผู้เขียน ใช้แหล่งข้อมูลสาธารณะ ไม่มีเจตนาชักชวนให้ผู้อ่านเชื่อ โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน หรือส่งบทความต่อ หากมีความประสงค์จะเลิกรับบทความ กรุณาแจ้งให้ทราบ ขอบคุณที่อ่านและเผยแพร่ต่อ ด้วยความปรารถนาดี... สมชัย ศิริสุจินต์ sirisujin@yahoo.com


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที