ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 988777 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 28 การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล(7)

ตอนที่ 110

วันที่ 28

การบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล (7)

 

อาจารย์ดอน :  สองตอนสุดท้ายของวันที่28 เป็นการทบทวนความรู้เกี่ยวกับ…การคิดให้เป็นและการคิดให้ได้ในภาคของ…การบริหาร…ความสุขบนโลกของจักรวาล…ซึ่งเป็นเพียงภาคประยุกต์การใช้หลัก การบริหารแบบวิทยาศาสตร์-ร่วมสมัย…โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์การบริหารผสมผสานกับหลักพุทธศาสตร์-มิติจักรวาล….ซึ่งรายละเอียดของหลักบริหารพุทธศาสตร์มิติจักรวาลจะได้ขยายรายละเอียด….ในตอนต่อๆไปของวันที่29…..ซึ่งท่านอาจารย์แดน…จะมาบรรยายต่อในตอนที่ 29 จนจบเนื้อหา ของวันที่ 29….เห็นบอกว่าจะมีนักเรียนมาเพิ่มอีก 1 ท่าน

 

ศิษย์โดม :  ครับ!….น้องพงศ์คณิน จะมาเข้าร่วมรับการอบรมในวันที่ 29 นี้ ซึ่งเป็นตอนสำคัญที่จะสรุปเนื้อหาของความเป็นเลิศของการบริหาร…โรงงาน/องค์กร/องค์การ

 

ศิษย์พิมพ์สุชา :   อย่างไรแล้ว!“ ท่านอาจารย์ช่วยสรุปหลักวิธีการปฏิบัติตนเองเพื่อให้สามารถเข้าใจกระบวนการของ…การคิดให้เป็นและคิดให้ได้…หนูจะได้นำไปใช้และเผยแพร่ต่อไป”….บังเอิญ เมื่อวานนี้หนูได้อ่านนิตยสารรายปักษ์ ฉบับหนึ่งใน…Column…Life Managementเรื่อง “ เคล็ดลับฝึกคิด พิชิตเป้าหมาย ”….และ New Column เรื่อง “ The Way to Nibbana…ปล่อยวาง ” ทั้งสอง คอลัมน์นี้น่าสนใจชวนให้ติดตาม…มาก!.....เลยกลับมาคิดถึงกระบวนการคิดให้เป็นและคิดให้ได้…ของท่านอาจารย์ ควรจะมีประโยชน์กับหนูมาก ค่ะ!

 

ศิษย์โดม :  และท่านอาจารย์ช่วยสรุป.ความหมายของคำที่ใช้ใน…หลักการบริหาร..ความสุขบนโลกของจักรวาล….โดยเฉพาะหลัก วิทยาศาสตร์การบริหารผสมผสานกับหลักพุทธศาสตร์-มิติจักรวาล….ซึ่งมีศัพท์อีกมากมายที่ผมยังไม่ทราบและไม่เข้าใจ!

อาจารย์ดอน :  ได้!...อาจารย์จะเริ่มที่ หลักปฏิบัติของ…การคิดให้เป็นและการคิดให้ได้ก่อน!....ซึ่งบางส่วนเป็นการ review เนื้อหาเดิมที่ โดมและพิมพ์สุชาได้ตอบไว้ในตอนที่108แล้ว

คำต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคิดที่ควรทราบมีดังนี้ :

  1. วิจารณญาณ คือ ความสามารถในการรับรู้ ด้วยปัญญา ตริตรองจนเข้าใจในเหตุและผลที่ถูกต้อง โดยการมี…จิตกับสติ สัมปชัญญะและวิมังสา…หรือจะเรียกว่า…ญาณพิจารณ์...ผ่านกระบวนการพิจารณาอย่างรอบคอบ วางแผนถี่ถ้วน และดำเนินการอย่างมีระบบ
  2. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึ การคิดแบบเป็นกระบวนการด้วนการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ถี่ถ้วน ผ่านกระบวนวิเคราะห์และสังเคราะห์ มีผลออกมามีเป้าหมายชัดเจน และสามารถสามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด และอธิบายเป็นขั้นๆตามที่ได้คิดและสรุปไว้
  3. สติและจิตสติเป็นความคิดอยู่ทุกขณะจิต การคิดขึ้นด้วยจิตนั้นๆ จิตควบคุมการกระทำ ด้วยขณะคิดและลงปฏิบัติด้วยการไม่หลงผิดตั้งใจที่จะทำ ขณะทำอย่างมีสติ….การพูดและทำด้วยจิตสำนึก…เป็นการป้องกันการผิดพลาด…แต่เมื่อพลาดด้วยความว่องไวก็สามารถแก้ไขได้ทันที
  4. ขั้นตอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณประกอบด้วย 5 ขั้นตอน(ตามที่แสดงในรูป) ดังนี้

4.1  ต้องสามารถสร้างคำถามที่มีความชัดเจน

4.2  ต้องรวมข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ ข้อสันนิษฐานต่างๆ ด้วยความถูกต้อง

4.3  ต้องไม่ใช้ความชอบ หรืออารมณ์เป็นตัวตัดสินปัญหา มีความละเอียดถี่ถ้วนในการแก้ปัญหา

4.4  ต้องสามารถตีความที่อาจเป็นไปได้หลายทาง และรู้ว่าบางสภาวะอาจเกิดความกำกวมไม่ชัดเจน  เท่าทันความคิดตนเอง และรู้ว่าตนกำลังคิดและทำอะไรอยู่

4.5  ต้องเข้าใจว่าการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ก็สามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้…ด้วยการใช้หลักฐานอ้างอิงแสดงให้เห็นถึงสภาพโดยรวม มีข้อมูลเพียงพอ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเพื่อสนับสนุนในการแก้ปัญหา

      5.     การระดมพลังสมองของตนเอง...เป็นการนำเสนอความคิดเห็น วิธีการแก้ปัญหา ด้วยความคิดของตนเองอย่างทันทีทันใด ด้วยความเชื่อมั่นและมั่นใจว่าจะไม่เกิดการผิดพลาดใดๆ เพราะเป็นความคิดที่ดีที่สุดในขณะนั้น และเป็นการดึงความรู้ที่บันทึกไว้ในสมองผ่านการประเมิน ชั่วขณะก่อนนำออกมาเผยแพร่….ถ้าทำเป็นกลุ่มก็คือการระดมสมองนั่นเอง

     6.     สมองและจิต :

จิต…เป็นตัวกำหนดตำแหน่งของ ลมหายใจ และความคิด….พาความคิดแปลงออกมาจากสมองเป็นกิริยา

จิตกำหนดรู้…ซีรีบรัม (Cerebrum) เป็นสมองหลักที่อยู่ภายใน….neocortex….แบ่งเป็นสองซีกหรือ Hemispheres….คือ สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา (left and right hemisphere) โดยมีเซลล์และเส้นใยประสาทของสมองยึดเหนี่ยวให้ติดกัน…. the band of nerve fibers …ประกอบด้วย ….gray matter and axon…สมองทั้งสองซีกมีขนาดและหน้าที่ต่างกัน   สมองซีกซ้าย…ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ของร่างกายซีกขวา เป็นตัวเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ ศูนย์กลางระบบการสั่งการ…เพื่อแสดงความสามารถเฉพาะตัว…การเรียนรู้…พฤติกรรม เมื่อวิเคราะห์แล้วประมวลผลออกมาในรูปคำพูด…และการแสดงออก  สมองซีกขวาทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายซีกซ้าย  ทำหน้าที่ประมวลผล ผ่านการจินตนาการทางความคิดแบบสร้างสร้างสรรค์….มีสุนทรียภาพทางอารมณ์และไหวพริบ…สามารถประมวลผลออกมาสู่การปฏิบัติ

90275_101.png

                ต้องเข้าใจด้วยว่าการคิด…อย่างมีวิจารณญาณก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง ด้วยการใช้หลักฐานอ้างอิงแสดงให้เห็นถึงสภาพโดยรวม มีข้อมูลเพียงพอ ด้วยการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น…จิตจึงสามารถสั่งให้สมองทั้ง 2 ซีกทำงานประสานกันจนแสดงได้ว่า…เราเป็นผู้ที่มีเชาว์ปัญญา (Intelligence)

 

ศิษย์โดม : เชาว์ปัญญา…..คือความเก่งกาจเฉพาะตัว การรอบรู้หยั่งรู้หรือครับ!...แลที่ว่าการดำเนินชีวิตประจำวันด้วยการมี…จิตสำนึก…เมื่อเราถูกสภาวะแวดล้อมพาออกไปชั่วขณะแล้วสามารถกลับมาสู่ภาวะปกติได้นั้น….เรารียกว่า….การมีจิตสำนึกใช่ไหมครับ

 

ศิษย์พิมพ์สุชา :   ที่ท่านอาจารย์.....เน้นทบทวน หลักการคิดด้วยสมองและจิตเป็นสำคัญนั้นแสดงว่า…ทั้งสมองและจิตต้องทำงานสัมพันธ์กัน….จิตควบคุมสมองทั้ง 2 ซีกให้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายทำงาน การควบคุมจิตของตนได้ สุขภาพกายและใจ ก็จะดีตามมา บังเกิดความสุขทั้งกายและใจ
 

อาจารย์ดอน :   เพราะสมองกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์…ให้รู้ขณะจิตว่ามนุษย์เป็นอย่างไร….เป็นผู้ฉลาดหรือโง่….สมองมีการพัฒนาการได้และเสื่อมได้ตามอายุของเซลล์สมอง…ซึ่งเป็นไปตามอายุไขของมนุษย์……การพัฒนาของเซลล์สมองทำให้มีการขยายตัว โดยมีสายใยประสาทเป็นตัวเชื่อมเซลล์ ใยประสาท ตามสภาวะการกระตุ้นและสิ่งแวดล้อม……การทำหน้าที่ของ neocortex ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและการผ่อนคลาย….เชาวน์ปัญญา หรือ สติปัญญา…intelligence ….เป็นความสามารถที่มีมาแต่กำเนิด บางส่วน เกิดจากการเรียนรู้ ฝึกฝน ด้วยความขยันหมั่นเพียร จนเกิดความชำนาญ  เข้าใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามลักษณะจำเฉพาะของสิ่งนั้นๆได้ดี จนสามารถนำความรู้มาดัดแปลง ปรับปรุงแก้ไข หรือคิดขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างงาน ดำเนินกิจกรรม แก้ไขปัญหา หรือพิสูจน์ความจริงบางอย่างที่ต้องการ จนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ได้ตามที่มีเวลาและโอกาส

                ในวันที่ 22 มีหลายตอนที่กล่าวเกี่ยวกับจิต….พอสรุปได้ว่าจิตมี 2 ส่วนได้แก่…1. จิตสำนึก…เป็นสภาวะที่รู้สึกตัวทุกขณะในชีวิตประจำวัน รู้ว่ากำลังทำอะไรท่านกลางสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอก รู้ถึงความคิดและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงตามที่สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป…..2.  จิตใต้สำนึก….เป็นส่วนของ       พลังที่มีอำนาจอยู่ในช่วงจิตสำนึกที่ปกติ กับจิตเหนือสำนึก…เป็นสภาวะที่สงบนิ่ง…สามารถบันทึกเป็นข้อมูลที่สอดคล้องกับ ความคิด พฤติกรรม การกระทำ การใช้ชีวิตประจำวัน เช่นการทำงานตามแผนงาน……เป็นส่วนที่บันทึกความทรงจำ……..แสดงออกมาเป็นความฝันโดยเข้าถึงสภาวะจิตใต้สำนึกนี้ได้ด้วย การฝึก สมาธิ  การสั่งจิต การสะกดจิต และวิธีทางวิทยาศาสตร์บางอย่าง เป็นต้น                                                                                

ศิษย์โดม : คำว่า…..“จินตนาการ”….เกี่ยวข้องกับจิตสำนึกอย่างไรครับ!

อาจารย์ดอน :  ตามที่รู้กันว่า…สมาธิ(Meditation)…เป็นความรู้สึกสงบ สบาย ผ่อนคลายเป็นความสุขของมนุษย์ได้มาจาก การมีสติและสัมปชัญญะ…และเป็นข้อปฏิบัติของพระพุทธศาสนา ในการครองตนประจำวันเพื่อสร้างปัญญา….คำว่า “ จินตนาการ ” เป็นนามที่บอกอาการลักษณะ เป็นภาวะของกระบวนการสร้างภาพขึ้นในใจ ซึ่งไม่แสดงตัวตน…จินตนาการ….เราใช้จินตภาพ..เพื่อปฏิบัติด้วย…จินตภาพสมาธิ หรือ Imaging  Meditation คือ การใช้สมาธิเพื่อสร้างภาพ…ในจิตสำนึก…และมาบันทึกไว้ใน …จิตใต้สำนึก…เป็นแนวทางแก้ปัญหาแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับในศาสตร์ของจิตวิทยาและวิทยาศาสตร์ทางจิต

ศิษย์โดม : จินตภาพ….ช่วยให้ชีวิตประจำวันดีขึ้นอย่างไรครับ!

อาจารย์ดอน :  จินตภาพ เป็นการสร้างภาพขึ้นในความคิด เป็นภาพที่สามารถกำหนดทิศทางของการดำเนินชีวิตของมนุษย์…โดยชีวิตของเราต้องเริ่มต้นจากการสร้างภาพและคิดในสิ่งที่ดีก่อน…แล้วเมื่อนำมาปฏิบัติ…จินตภาพนั้นก็สามารถลงสู่จิตใต้สำนึกได้…โดยจินตภาพเชิงบวกก็ย่อมส่งผลดี เป็นการสร้างสรรค์ ซึ่งจะช่วยนำพาชีวิตไปในทางที่ดี ได้รับความสุขและความสำเร็จ จินตภาพจึงเปรียบเสมือนแรงขับเคลื่อนที่นำพาให้เราไปสู่เป้าหมายตามภาพที่สร้างไว้ในใจ

 

////////////////////////////////////////

27/4/2555

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที