ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 988680 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 29 ความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร (5)

ตอนที่ 115

วันที่ 29

ความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร (5)

วัฒนธรรมที่ทำให้สมาชิกขององค์กรมีความสุข:……จากบทสรุปของ…..วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture) ซึ่งเป็นความเชื่ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาหลอมรวมเป็น…ค่านิยมองค์กร(core value)….มีการรวบรวมและยอมรับเพื่อปฏิบัติ ด้วยการควบคุมภายใต้กติกา(ตัวชีวัด) ที่ได้กำหนดไว้พร้อมแนววิธีปฏิบัติ ที่มีคุณค่าและได้รับการยอมรับจากสมาชิก…จากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกๆด้านขององค์กร…เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเป็นมาตรฐาน…..ทั้งภายในและมุ่งสู่มาตรฐานภายนอก….การปฏิบัติและพัฒนาการ กระทำในเชิงพฤติกรรมและระเบียบ/วิธีปฏิบัติ…เพื่อการบรรลุเป้าหมาย และสร้างคุณค่าสูงสุดให้กับองค์กร !

อาจารย์แดน :  สองตอนสุดท้ายของ.....“ความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร…..ในวันที่ 29 นี้….ท่านทั้งหลายสามารถเลือกพิจารณาแต่ละหัวข้อตามความหมาย / ความต้องการ / ปัจจุบันของเหตุที่ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรเลือกใช้อยู่…..เพื่อนำพาความสุขมาสู่องค์กรจนเกิดเป็น….มาตรฐานวัฒนธรรมองค์กรด้วย.key success of  inspirational mindท่านจะใช้วัฒนธรรมองค์กรนำพาความสุขมาสู่องค์กร หรือจะใช้ความสุขของท่านเข้ามาซึมซับวัฒนธรรมองค์กร!  

สิ่งที่ควรพิจารณา3 ประการที่มีผล ต่อความสุขท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กร:

             1. การบริหารงาน Top Management  ของผู้บริหารระดับสูง ใช้ทฤษฎีองค์กร (Organization Theory) ประเภทใด…?  สามารถสร้างความเข้าใจระบบการทำงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือและความเต็มใจ…..พร้อมทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจร่วมกันพัฒนาองค์กรให้เกิดความเจริญก้าวหน้าได้หรือไม่ ? ....และที่สำคัญ ทฤษฎีองค์กร สามารถปรับเป็นวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างไร ?

             1.1    นิยามของทฤษฎีองค์กร….คือการสร้าง ความสันพันธ์ ระหว่างกิจกรรมของบุคคลในองค์กร  ที่มีความพร้อมด้านวัตถุดิบ ความรู้ ความคิด และด้วยความสามารถ…เชื่อมโยง กับปัจจัยภายนอก ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ต้องมีการปรับตัว และตื่นตัว อยู่ตลอด  มีการสร้างเสริมประสิทธิภาพที่ทำให้องค์กรดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

                1.2   องค์กร ในปัจจุบันต้องเป็น GLOBAL ORGANIZATION …..ซึ่งต้องเป็น….Learning  Organization ประกอบด้วย.Organization….human… LearningKnowledge and Technology ….เป็นหลักของการบริหารและการพัฒนาองค์กร

                1.3  ทฤษฎีองค์กรมี ความแตกต่างกัน 3 หมวด คือ หมวดวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ (Scientific and Engineering  Management)…..หมวดการบริหาร (Administrative Management) และ หมวด มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Management) 
                2.   องค์กรมีระบบการบริหารงานที่เป็นไปตามแผนงานหรือตามการสั่งให้ทำงาน (plan/map).....ขยายความว่า…เป็นแผน(plan)….ขององค์กรที่เกิดจาก หลักทางโลก เช่น QMS , organization plan , strategy plan , key success factors of business plan , action plan , problem solving and continuous improvement program plan และอื่นๆ ……ส่วนคำสั่งให้ทำงาน เสมือนแผนที่ (map)  ของ Top Management ได้จากญาณทัศนะหรือ “ หลักทางธรรม ”……..มีความแตกต่างกันมาก….เพราะจะช่วยให้เกิดความสุขตามรูปแบบของการขับเคลื่อนด้วยระบบขององค์กรที่ต่างกันไป…มีความสับสน วุ่นวายของการดำรงชีวิตของคนในองค์กร ตามความเป็นปัจเจก ภายใต้เงื่อนไข กติกา กฎระเบียบ และความเป็นสังคมขององค์กร…..ความเข้าใจความหมายของ…. ญาณทัศนะ ( ยา-นะ-ทัด-สะ-นะ) คือ การรู้จริง จนสามารถเห็นจริง  เป็นการรู้อย่างแจ่มแจ้งเปรียบได้กับการเห็นพระธรรมที่อริยสงฆ์เห็น และการรู้ในพระธรรมอย่างที่อริยสงฆ์รู้…..จนถึงการบรรลุ …..เป็นพระอริยะ ที่มีปัญญาบริสุทธิ์………..

               พิจารณาที่  Top Management  (ใช้แทนผู้บริหารระดับสูง) ว่า…..เป็นปุถุชนที่มีหลักธรรมยึดเหนี่ยว….โดยยึดถือความยุติธรรมและความชอบธรรม เป็นที่ตั้ง สามารถควบคุมตนเองให้มีธรรมาภิบาล….จะยังไม่ถึงอริยบุคคล….สำคัญที่สามารถฟังธรรมหรือคำสอนของพระพุทธเจ้าจาก….อริยะสงฆ์หรือสัตบุรุษ และมีความเข้าใจในคำสอนนั้นโดยสามารถนำไปปฏิบัติได้……ขึ้นอยู่กับการเอาชนะอารมฌ์ ตนเองตามสิ่งสัมผัสหรือสิ่งกระทบได้มากน้อยเพียงใดเท่านั้น!  

ศิษย์โดม : มาถึงตอนนี้แล้ว….ผมมีข้อสงสัยอยู่ว่า….ญาณทัศนะ ไม่ใช่หมายถึงผู้ที่มีวิปัสสนาญาณ หรือ ทิพจักขุญาณ……ซึ่งมีเฉพาะพระอริยสงฆ์ หรือผู้ที่เคร่งในพระธรรม เท่านั้นหรือครับ ?

อาจารย์แดน :  บรรพชิตหรือปุถุชนที่เคร่งครัดในการปฏิบัติธรรมจนกลายเป็น อริยสงฆ์  หรือ อริยบุคคล….ที่สามารถเข้าถึงญาณเป็นลำดับขั้นได้….ไม่ว่าจะเป็น มรรคญาณ ผลญาณ ปัจเวกขณญาณ และสูงสุดที่…สัพพัญญุตญาณ….เทียบได้กับ top management ที่เป็นปุถุชน มีหลักธรรมในการดำเนินชีวิต ด้วยความเห็นที่เป็นทิฏฐิวิสุทธิ์……สามารถเรียกได้ว่ามี…ญาณทัศนะ…ส่งผลให้เกิดความสำเร็จของงานทางโลกได้ด้วยหลักธรรม……

 

ศิษย์โดม : ท่านอาจารย์ครับ.....ที่ว่า top management จำเป็นต้องรู้ จากญาณทัศนะ….นั้นหมายถึงรู้จากสัจธรรม คือความจริง ที่เป็น…ธรรม…สำหรับความเป็นมนุษย์ในสังคมที่เป็นจริง…ที่เป็นธรรมดาทั้งหลาย ตั้งอยู่ ทรงอยู่ มีอยู่ คงอยู่ และสิ้นสุดดับลง….รวมถึงความจริงของความต้องการ ตามลำดับขั้นของมนุษย์ (Maslow's hierarchy of needs) ด้วย …หรือครับ!

อาจารย์แดน :   “สัจธรรม”……เป็นส่วนที่ลึกสุดของจิตสำนึกของมนุษย์ และสังคม เป็นประโยชน์ที่ดีที่สุดแห่งประโยชน์……เป็นความจริงที่แท้จริง คือ…ปรมัตถ์!

ศิษย์โดม : สัจธรรมที่เป็น ปรมัตถ์ มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับความเป็นมนุษย์และสังคมอย่างไรครับ!

อาจารย์แดน : อาจารย์อยากให้ สื่อความหมายของสัจธรรมเป็นเพียง….การรับรู้และการปฏิบัติ….รู้ถึงความเป็นจริงของโลก….รู้ถึงความต้องการของมนุษย์….รู้ถึงหลักธรรมเพื่อนำพาองค์กรสู่ธรรมาภิบาล….รู้แล้วปฏิบัติไม่ครบตามหลักธรรมที่ยึดเหนี่ยวไม่เป็นไร!....เพียงบางข้อหรือหลายข้อ…แต่อย่าหล่งใหลอยู่ในทิฏฐิ อวิชชา…..ถึงจะชั่ววูบก็อย่าให้เกิด….ญาณทัศนะของ top management นี้จะมีค่ามากกว่าหลักวิชาใดๆ!

ศิษย์โดม : อย่าง….สตีฟจอบส์…มีหลักสัจธรรมข้อใดบ้างครับ!

อาจารย์แดน : Guru….หลายท่านที่พยายามสรุปหลักการคิด การบริหาร คติ และหลักการเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์  ของสตีฟจอบส์….สัจธรรม ของสตีฟจอบส์ อยู่ที่การเริ่มต้นตรงจิตมนุษย์ที่เป็นสิ่งบริสุทธ์นั้นก็คือ ความจริงของมนุษย์….ย่อมเป็นจุดเริ่มของผลงานที่มาจากมนุษย์ทั้งปวง   คือทุกอย่างเกิดจากจิต แสดงออกมาเป็นหลักการ วิธีการ ผสมผสานกับศาสตร์ที่เกี่ยวข้องจนทำให้เกิดผลงานเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ….   

               3.  องค์กรให้นิยามของ สมดุลชีวิตการทำงานเป็นอย่างไร?.......... เทียบเคียงกับ คุณธรรมและจริยธรรม (virture and ethors)” ตามที่ได้เคยกล่าวมาแล้วในตอนที่ 113 ว่า…..   คุณธรรม (Virtue) หมายถึงความดีงามที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ผู้อื่น องค์กร และสังคม…คุณธรรมจัดเป็นจริยธรรม..จริยธรรม (ethics) หมายถึง ธรรมที่พึงปฏิบัติ แสดงให้รู้ถึงความดีงามและการยอมรับจากสังคม องค์กรที่ตนอยู่ร่วมกัน แสดงให้เห็นถึงการมีความคิด และความประพฤติ การแสดงออก ที่ดีงามขององค์กรต่อสังคม

 

บทสรุป:  ผู้บริหารสูงสุดขององค์กร….ก็ต้องใช้ทฤษฎีองค์การ (Organization Theory) , ทฤษฎีการบริหาร (Administrative Theory) และ ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Theory) …..ซึ่งมีการจัดองค์การตามแนวความคิดเชิงระบบ ตามพื้นฐาน คือ ปัจจัยนำเข้า (Input) , กระบวนการ (Process) , ปัจจัยส่งออก (Output) , ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) , สภาพแวดล้อม (Environment)  และความคิดที่เป็นกระบวนการปรับตัว  (Adaptative Process ) ให่ทันและให้ได้ต่อสภาพแวดล้อมและตัวแปรต่าง ๆ …..การปรับตัวเป็นสภาพของ…..flexible and dynamic…...ทั้งหมดนี้มาจากหลักการทางวิทยาศาสตร์หรือ  หลักการทางโลก”…..ในขณะที่ “หลักทางธรรม”  ก็เป็นวิทยาศาสตร์ทางธรรมเพราะธรรมเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิต ที่บริสุทธิ์  หรือ….. pure science of mindความหมายว่า…..ผู้บริหารสูงสุดต้องมี  “ Dhamma is a  pure science of mind .” !

 ////////////////////////////////////////

25/11/2555

 

 

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที