นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 15 ม.ค. 2015 08.25 น. บทความนี้มีผู้ชม: 271935 ครั้ง

www.thummech.com
ลม คือพลังงานรูปแบบหนึ่ง ถ้ามนุษย์รู้จักนำมาใช้ ประโยชน์ของมันจะมีอย่างมหาศาล เป็นพลังงานที่บริสุทธิ์ ไร้มลภาวะที่เป็นพิษ ลองติดตามดู


9. เศรษฐศาสตร์ และทรัพยากรทางพลังงานลม (จบ)

9. เศรษฐศาสตร์ และทรัพยากรทางพลังงานลม

            กังหันลมที่ผลิตพลังงานลมในโลกนี้ ยังมีไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตพลังงานในรูปแบบอื่น เช่น พลังงานจากการเผาถ่านหิน ไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อน แต่ทว่าในอนาคตอันใกล้ พลังงานลมจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น ในกระผลิตกระแสไฟฟ้าจ่ายให้กับ บ้านเรือน หรือทางธุรกิจ

            กังหันลมขนาดเล็กเครื่องหนึ่งสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 10 กิโลวัตต์ (kW) ปีหนึ่งสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ประมาณ 16,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh)

              กังหันลมที่มีขนาดใหญ่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 1.8 เมกะวัตต์ (MW) หรือปีหนึ่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 16,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ในทางทฤษฏีแล้วพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ เพียงพอกับการใช้ไฟฟ้าได้ถึง 600 ครัวเรือน

            ถึงแม้ว่าพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหิน (Coal) และจากนิวเคลียร์ (Nuclear) จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ราคาถูกกว่าพลังงานลม แต่พลังงานลมก็ยังมีเหตุผลที่ดีอยู่ 2 เหตุผล คือ เป็นพลังงานที่ สะอาด (Clean) และเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด (Renewable)

            พลังงานลมไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และไนโตรเจนออกไซด์ (NO) ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ เหมือนกับการผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหินซึ่งมันมีอันตราย และกำลังจะหมดในไม่ช้า นอกจากนี้ความเป็นอิสระของกังหันลม กล่าวคือกังหันลมสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าในพื้นที่ที่ห่างไกล โดยไม่ต้องรอกระแสไฟฟ้าจากส่วนกลาง   

            ข้อด้อยของพลังงานลม พลังงานลมไม่สามารถผลิตกำลังงานได้ 100 % ก็เหมือนกับโรงผลิตพลังงานประเภทอื่น เพราะว่าลมที่พัดไม่แน่นอนตลอดบางครั้งพัดรุนแรง บางครั้งพัดเอื่อย ๆ บางครั้งไม่มีลม ถ้าอาศัยอยู่ใกล้กับที่ตั้งโรงกังหันลม อาจเกิดเสียงดังขณะใบพัดกำลังหมุนอาจรบกวนผู้อยู่อาศัยได้ กังหันจะเป็นอันตรายต่อนก และค้างคาว และในพื้นที่ที่เป็นทะเลทรายมีอันตรายกัดเซาะพื้นดิน ถ้าคุณต้องขุดพื้นดินเพื่อติดตั้งกังหัน

           

หมายเหตุ - พลังงานลมสามารถผลิตพลังงานทางไฟฟ้าได้ถึง 1 เมกาวัตต์ (MW: เท่ากับ 1,000,000 วัตต์) ก็คือในหนึ่งปีสามารถผลิตกำลังงานได้ 2.4 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ถึง 3 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) หมายถึง 1 kW (1000 W) ของการผลิตกระแสไฟฟ้า หรือบริโภคหมดภายใน 1 ชั่วโมง

             

ตัวอย่างเศรษฐศาสตร์การคิดกังหันลม

             กังหันลมตัวเล็กหนึ่งตัวจะมีต้นทุนในการสร้างประมาณ 200,000 – 3,200,000 บาท ยิ่งกังหันลมยิ่งมีความใหญ่ก็ยิ่งจะมีราคาสูง กังหันลมที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 1.8 MW มีต้นทุนในการสร้างสูงถึง 60 ล้านบาท โดยไม่รวมค่าพื้นที่ติดตั้ง สายส่ง และส่วนประกอบพื้นฐานอื่น ๆ

            ในระบบพลังงานลม ทุ่งกังหันลม มีต้นทุนรวมทั้งสิ้น 40,000 บาท /             kW “ระยะเวลาคืนทุน” สำหรับกังหันลมขนาดใหญ่ เวลาในการผลิตไฟฟ้ามีมากพอทำการผลิตพลังงานอย่างพอเพียง ระยะเวลาคืนทุนประมาณ 3-8 เดือน


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที