มานพ

ผู้เขียน : มานพ

อัพเดท: 10 พ.ค. 2014 20.17 น. บทความนี้มีผู้ชม: 451456 ครั้ง

เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเองเป็นสิ่งที่คนทุกคนภาคภูมิใจ แต่รู้ไว้ว่า มันยาก ถ้าเข้ามาทำแบบสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะธุรกิจแต่ละประเภทแต่ละธุรกิจ มีวิธีทางสู่ความสำเร็จแตกต่างกันแต่มนง่ายถ้าอ่านเรื่องนี้ มีหลายตอนติดตามอ่านตลอด แล้วท่านจะรู้ว่าเถ้าแก่มืออาชีพเป็นง่ายนิดเดียว


การประมาณอำนาจซื้อแบบเถ้าแก่

*   การประมาณอำนาจซื้อ

                คำว่า “อำนาจซื้อ” ที่นักวิชาการตลาดชอบพูดเวลา  มีโอกาสที่จะพูดเช่นออกทีวี หรือแม้กระทั่งอาจารย์เวลาสอนหนังสือ  ที่แท้จริงคือความสามารถที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการที่จะซื้อสินค้าและรับบริการจากกิจการจ่ายเงินเพื่อแลกมา  สำหรับการประมาณอำนาจซื้อนั้นส่วนใหญ่ตำราวิชาการหลายเล่มเขียนว่าแหล่งซึ่งได้รับความนิยมแหล่งหนึ่งคือ สำนักงานสำมะโนประชากรซึ่งเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะประชากรอย่างกว้างขวาง เช่น เพศ  อายุ รายได้ การศึกษา บ้านพักอาศัย และอาชีพ ส่วนแหล่งที่สองคือ การสำรวจประจำปี แหล่งข้อมูลแหล่งที่สามคือ ข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆในท้องที่ เช่นหอการค้าหรือสมาคมการค้า แหล่งสุดท้ายคือการสำรวจตลาด บริเวณการค้าที่เฉพาะเจาะจง  แต่ขอให้ลองตั้งข้อสังเกตดูว่า  ลูกค้าจากข้อมูลดังกล่าวมีความสามารถที่จะซื้อสินค้าและรับบริการจากกิจการพร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อแลกมาโดยไม่มีเงื่อนไข หรือเปล่าถ้าใช่นั่นคืออำนาจซื้อที่แท้จริงถ้ามองในแง่เถ้าแก่

               เมื่อพิจาณาถึงปัจจัยของกำลังซื้อหรืออำนาจซื้อนั้น ผู้บริหารร้านค้าปลีกขนาดย่อมหรือที่เรียกทับศัพท์ว่าเถ้าแก่ควรจะมุ่งพิจารณาในระดับรายได้และฐานะทางสังคมของประชากรในย่านที่จะตั้งร้านค้าปลีกขนาดย่อมขึ้นมาควรจะทราบว่าร้านค้าปลีกขนดย่อมนั้นมีเป้าหมายจะขายให้ใคร ใครคือผู้ซื้อและจะขายให้ใคร ลูกค้าระดับไหนถึงจะซื้อสินค้าจากร้านเราได้  ดั้งนั้นก่อนจะเปิดร้านควรหาข้อมูลเหล่านี้ด้วย  เช่นวางแผนเปิดร้านขายจักรยาน  ทำเลควรอยู่ในย่านชานเมือง  หรือในตัวอำเภอที่มีจราจรไม่คับคั่งร้านค้าปลีกขนาดย่อมควรเลือกลูกค้าที่มีรายได้และอำนาจซื้อปานกลาง  หรือกรรมกร  ผู้ใช้แรงงานที่ไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะซื้อพาหนะเติมน้ำมัน

               ดังนั้นจะเห็นได้ว่าย่านที่มีลูกค้าที่รายได้หรืออำนาจซื้อสูง  หรือต่ำย่อมมีความสัมพันธ์กันใกล้ชิดกับยอดขายของร้านค้าปลีกขนาดย่อมปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นมูลเหตุสำคัญประการหนึ่ง  ที่ควรนำมาพิจารณาในการเลือกทำเลที่ตั้งร้านค้าปลีกขนาดย่อม

                การประมาณอำนาจซื้อ     ในการประมาณอำนาจซื้อของตลาดของบริษัทชั้นนำมักจะวัดจากกว้างเข้าไปหาแคบ  โดยวัดอุปสงค์รวมของตลาด ( Total Market Demand) เป็นสิ่งแรกนั่นคือ สิ่งที่ธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมควรจะทราบเช่นกัน ทั้งนี้เพราะเป็นการพยากรณ์ความต้องการของตลาดทั้งหมดในแต่ละปีเพื่อการวางแผนซึ่งหมายถึงปริมาณของสินค้าที่จะถูกซื้อโดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย นั่นเอง            

ตัวอย่างการประมาณอำนาจซื้ออย่างง่ายแบบที่เถ้าแก่มืออาชีพทำกัน

1.       สุ่มครอบครัวจากจำนวนครอบครัวทั้งหมดจากบริเวณที่ต้องการตั้งกิจการร้านค้าปลีกขนาดย่อม

โดยไม่เจาะจง  100  ครอบครัว

 2.    คูณจำนวนครัวเรือน (ครอบครัว) ด้วยรายได้ของครอบครัวถัวเฉลี่ยที่หาได้จากข้อมูลสำมะโน

        ประชากร(สมมุติเป็นเงิน  2,000 บาท)                                                                        

 3.    เท่ากับอำนาจซื้อทั้งหมด (รายได้ที่จับจ่ายใช้สอยรวม 200,000 บาท)

                 โดยความเป็นจริงแล้วสถานการณ์สิ่งแวดล้อมทางการตลาดไม่คงที่เสมอไป  เช่นความต้องการซื้อโทรศัพท์มือถือย่อมมีมากหากเศรษฐกิจรุ่งเรืองและน้อยหากเศรษฐกิจตกต่ำ  ฉะนั้นผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมเองควรที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจให้ได้หรือในกรณีที่เป็นสินค้าสะดวกซื้อที่มีความจำเป็นทุกครัวเรือนจะมีปริมาณความต้องการค่อนข้างคงที่ตลอดทั้งปี  ดังนั้นเพื่อความแม่นยำในการพยากรณ์ในทางการตลาดมีวิธีประมาณอำนาจซื้ออยู่อีกวิธีคือ  

วิธีการประมาณอำนาจซื้อแบบเส้นตรง

                วิธีการประมาณอำนาจซื้อแบบเส้นตรง  ในขั้นแรกของการพยากรณ์ต้องทราบความต้องการสำหรับผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งก่อนว่าในตลาดมีความต้องการซื้อมากหรือน้อย  ทั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของยอดขายผลิตภัณฑ์ต่อจำนวนประชากรที่อาศัยในบริเวณนั้นเมื่อขายผ่านร้านค้าปลีกขนาดย่อมของผู้ประกอบการ  แทนค่าด้วย  S 

ขั้นที่สอง  จะต้องทราบสัดส่วนของจำนวนประชากรในบริเวณของทำเลที่ตั้งร้านค้าปลีกขนาดย่อม แทนค่าด้วย  P 

ขั้นที่สาม  อำนาจซื้อของประชากรในบริเวณทำเลที่ตั้งร้านค้าปลีกขนาดย่อม  แทนค่าด้วย   B

                 ตัวอย่าง  ในตำบลหนึ่งมีจำนวนประชากรอาศัยอยู่  700 คนแต่ละคนมีค่าใช้จ่ายที่จะซื้อสบู่เดือนละ 20 บาทโดยเฉลี่ยดังนั้นอำนาจซื้อของประชากรในบริเวณทำเลที่ตั้งร้านค้าปลีกขนาดย่อมมีค่าเท่ากับ

                                                    700 x 20  =  14,000  บาท   


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที