Kaizen Man

ผู้เขียน : Kaizen Man

อัพเดท: 01 พ.ย. 2006 10.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 81447 ครั้ง

“Creative & Idea Kaizen” แปลจากวารสารรายเดือน “Soi to Kufu” ของ Japan Human Relations Association สมาคมที่ให้คำปรึกษาเรื่องไคเซ็นทั้งในและนอกประเทศญี่ปุ่นมานานนับสิบปี
* ช่วยให้พนักงานในองค์กรรู้จัก กิจกรรมไคเซ็นที่ถูกต้อง
* ส่งเสริมให้พนักงานทำไคเซ็นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรด้วยตัวอย่างการทำกิจกรรมไคเซ็น, แนวคิด ปรัชญา, ทรรศนะผู้บริหารต่อกิจกรรมไคเซ็น นำเสนอในรูปแบบที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย


สิ่งประดิษฐ์จากความคิดสร้างสรรค์ ผู้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

ผ้ากันเปื้อน
    
ที่ได้ความคิดระหว่างการเลี้ยงเด็กไปด้วยนั้นเกิดมาจากความยุ่งยาก ที่ต้องถอดผ้ากันเปื้อนออกบ่อยเมื่อต้องอุ้มเด็ก จึงมีคิดวิธีโดยการทำให้ผ้ากันเปื้อนสามารถดึงส่วนท่อนบนตรงหน้าอกลงได้อย่างรูปภาพ ทำให้สามารถอุ้มเด็กได้โดยที่ส่วนที่สกปรกจะกลับไปอยู่ด้านใน
     ความคิดสร้างสรรค์ของคุณโคบายาชิ คือ ความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันโดยการนำความคิดที่สามารถนำมาปฏิบัติได้เหมาะสมกับความเป็นอยู่ และการนำความคิดมาปฏิบัติทันทีนั้นทำให้เกิดเป็นสิ่งประดิษฐ์นี้ขึ้น ดังนั้น ครั้งนี้จึงนำความคิดนี้มาแนะนำ

ภาพท่อดูดแมลงสาบ

ท่อดูดแมลงสาบ !
    
ก่อนอื่นติดตาข่ายในม้วนกระดาษ (แกนกระดาษชำระ) แล้วจึงนำมาประกอบกับเครื่องดูดฝุ่น เมื่อเปิดสวิตซ์แล้วแมลงสาปจะถูกดูดเข้ามาพร้อมกับตาข่ายซึ่งจะมีอยู่ 2 ชั้น คือ ชั้นที่ 1 จะถูกดูดมาพร้อมกับแมลงสาป ส่วนชั้นที่ 2 นั้นจะกั้นไม่ให้แมลงสาปออกมาได้ งานสุดท้ายจึงค่อยฉีดยาฆ่าแมลงแล้วค่อยดึงลงถังขยะ
     *เป็นความคิดที่ใช้ได้ทีเดียว แล้วจุดเด่นของความคิดนี้คืออะไร ?
คุณโคบายาชิ "โครงสร้างของตาข่ายที่มีถึง 2 ชั้น ปกติจะพบเห็นว่าการนำเครื่องดูดฝุ่นมากำจัดแมลงสาบนั้นมีทำมาแล้วแต่การนำตาข่าย 2 ชั้น เพื่อกันไม่ให้แมลงหนีออกมานั้นยังไม่มีใครนำมาปฏิบัติ กรณีเวลาประดิษฐ์เองนั้น ควรคลุมตาข่ายให้ยาวถึงประมาณ 5 เซนติเมตร และใช้เทปกาวติดให้แน่น"
     *อย่างนี้นี่เอง แล้วกรณีที่ควรจะใช้สิ่งประดิษฐ์นี้ ?
คุณโคบายาชิ "ควรประดิษฐ์ เมื่อมีเด็กอยู่ในบ้าน เนื่องจากบ้านที่มีแหล่งร้านค้าอยู่ย่อมมีแมลงสาบหนีเข้ามาอยู่ในบ้าน ถ้าใช้ยาฆ่าแมลงอาจจะตกค้างอยู่ตามพื้นบ้าน ซึ่งเด็กอาจจะไปสัมผัสและนำเข้าปากได้ และยังใช้ได้กับกรณีที่พื้นบ้านที่เป็นพรม ฝาไม้ เสื่อ ที่ไม่สามารถใช้ยาฆ่าแมลงแบบสเปรย์ได้ นอกจากนี้ตามเพดาน และตามซอกมุมที่ไม่สามารถเข้าถึง และเหนืออื่นใดต้องตามเก็บเจ้าตัวแมลงสาปที่ตายตามที่ต่าง ๆ หลังจากการใช้ยานี่สิเป็นสิ่งที่ไม่อยากทำไม่ใช่เหรอ

ภาพที่ดักผงรีไซเคิล

     ครั้งหนึ่งเคยลองใช้ที่ตบยุงแบบแผ่นกาวแปะติดกับฟองน้ำที่ร้านขายยา ปรากฏว่าแผ่นกาวไปแปะติดกับพื้นดึงไม่ออก นอกจากนี้แมลงสาปที่ใช้แผ่นกาวห่อและทิ้งลงในถังขยะ กลายเป็นว่าหนีออกไปได้"
     *ในที่สุดไม่ได้ผลใช่มั้ย?
     โคบายาชิ "ใช่ค่ะ พอเจอกับเหตุการณ์อย่างนี้จึงคิดหาหนทางประดิษฐ์ด้วยตัวเอง ก่อนอื่นรู้ว่าเครื่องดูดฝุ่นมีสมบัติในการดูด แต่จุดสำคัญคือการนำสมบัติมาใช้ประโยชน์ เริ่มแรกนั้นนำตาข่ายมาสวมกับหัวท่อเครื่องดูดฝุ่น จากนั้นจึงปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นโดยการนำม้วนกระดาษของแกนกระดาษชำระมาสวมใส่ข้างนอกของหัวของท่อเครื่องดูดฝุ่น ซึ่งถ้าตัดตรงแกนกระดาษชำระออกหน่อยจะทำให้สามารถใส่ท่อของเครื่องดูดฝุ่นได้ทุกขนาด"

ที่ตักผงรีไซเคิล
    
ใช้คลิปติดตรงส่วนที่เป็นลูกเจี๊ยบ (ดังรูป) เพื่อหนีบกับกระดาษซึ่งอาจจะเป็นแผ่นปลิวก็ได้ อ้าคีมคีบออกเพื่อขึงกระดาษ ถ้าตึงก็ถือว่า OK! เนื่องจากไม่มีช่องว่างระหว่างพื้นกับกระดาษทำให้ทำความสะอาดได้อย่างหมดจด แล้วจึงค่อยดึงกระดาษออกไปทิ้ง สิ่งประดิษฐ์นี้เหมาะใช้กับทุกสถานที่เนื่องจากสามารถเก็บได้ง่าย
     *การใช้คีมคีบมาสร้างเป็นที่ตักผงเป็นความคิดที่น่าสนใจทีเดียว แล้วได้ความคิดนี้มาจากไหน ?
คุณโคบายาชิ
"ได้ไม้กวาดมาจากเพื่อนที่อาศัยอยู่ที่ประเทศไทยค่ะ ใช้ง่ายมากแต่ว่ามีหน้ากว้างมากจน ขยะที่กวาดเข้าที่โกยผงได้ไม่หมด ระหว่างที่คิดว่าจะทำอย่างไรดี ก็พลันนึกถึงพ่อกับแม่ ที่มักจะเอาแผ่นโฆษณาหนังสือพิมพ์ มาพับโกยขยะ แต่พอทำคนเดียวกระดาษก็จะเคลื่อน ทำให้กวาดไม่สะดวก แรกเริ่มคิดว่า ขอให้มีอะไรมากดกระดาษไว้ก็น่าจะทำได้ เลยลองทำโครงไม้หนีบกระดาษค่ะ แต่ว่าขั้นตอนการเสียบกระดาษเข้าไปในโครงนั้นยุ่งยาก อีกทั้ง ช่องว่างกับพื้นที่เกิดขึ้นเพราะโครงไม้ ยังทำให้เก็บขยะได้ไม่เกลี้ยงเกลา แล้วสุดท้ายก็คิดขึ้นได้ว่า แค่ขึงกระดาษให้ตึงก็น่าจะพอแล้วจึงคิดวิธีใช้คีมคีบในครัวได้สำเร็จ"
     ความคิดที่ว่า หากไม่มีก็สร้างขึ้นเองได้
     *เริ่มคิดไอเดีย ประดิษฐ์มาตั้งแต่เมื่อไหร่ ?
    
คุณโคบายาชิ "คิดย้อนดูแล้ว ก็ตั้งแต่สมัยยังเด็กนะคะ คือ ชอบพวกงานฝีมือ ไม่ว่าอะไรก็มักจะทำเอง แต่เดิมใช้ชีวิตแบบ ถ้าขาดอะไรก็ทำขึ้นมาเองอยู่แล้วค่ะ สมัยดิฉันยังเด็ก ไม่มีของใช้มากมาย เหมือนสมัยนี้ ในตอนนั้น มีรายการสำหรับเด็กชื่อ ทำเองก็ได้ง่ายจัง ดูคุณโน้บโปะ (ตัวละครหลักของรายการ) ประดิษฐ์ โน่นนี่แล้วก็อยากได้ 
     เคยคิดอยากได้สก็อตเทปกับเขาบ้าง แต่ที่บ้านไม่มีสก็อตเทปให้ใช้เองได้ เพราะเป็นสมัยที่ขาดแคลน ถึงไม่มีสก็อตเทป ก็เกิดความคิดเอากระดาษทากาวมาแปะได้ สมัยเรียนมัธยมเป็นยุครุ่งเรืองของ สินค้าดีไซเนอร์มียี่ห้อ ก็ให้พ่อแม่ซื้อผ้ามาให้ แล้วทำเองโดยดูแบบจากเสื้อผ้า หรือหนังสือค่ะ"
     มรสุมชีวิต การเปลี่ยนงานบ่อย นำไปสู่กระบวนการสร้างไอเดีย
    
*เริ่มส่งผลงานสินค้าไอเดียไปงานนิทรรศการประดิษฐ์ตั้งแต่เมื่อไหร่ ?
     คุณโคบายาชิ
"หลังจากที่แต่งงานมาเป็นแม่บ้านค่ะ ก่อนหน้านั้นเคยย้ายงานไปตามบริษัทต่าง ๆ แต่ลองมาคิดดูแล้ว ประสบการณ์ที่ได้จากงานหลาย ๆ อย่างนั้น เป็นประโยชน์ต่อตัวเองในขณะนี้มากเลยค่ะ
     หลังจากจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้เข้าทำงานในบริษัทผลิตเครื่องเสียง หลังจากทำงานธุรการได้ 2 ปี ก็เริ่มมีความสนใจด้าน Finish Art (แม่พิมพ์) และไปเรียนในโรงเรียนสอนการออกแบบ และทำแม่พิมพ์ หลังจบการศึกษา ทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานแม่พิมพ์ได้ 1 ปี ก็ได้รับการทาบทามจากเพื่อนที่ตั้งบริษัทซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ (softhouse) ให้เป็นโปรแกรมเมอร์
     ตอนแรกก็แนะนำให้เพื่อนไปทำนะคะ แต่พอได้ฟังเงื่อนไขการทำงานที่ดีมาก ๆ และได้ยินว่าโปรแกรมแค่เรียนนิดหน่อยก็สามารถทำได้แล้ว ถ้าอย่างนั้นดิฉันก็น่าจะทำได้ จึงตัดสินใจเข้าทำงานค่ะ จากนั้นก็ทำงานโปรแกรมเมอร์เป็นเวลา 2 ปี สุดท้ายก็ชินกับการเป็นโปรแกรมเมอร์ไป แต่ว่างานในตอนนั้นมีส่วนต่องานในตอนนี้มากทีเดียวค่ะ"

ที่กรองแป้ง และที่หนีบสปาเก็ตตี้

     *มีผลกระทบอย่างไรหรือ ?
     คุณโคบายาชิ "ในการสร้างโปรแกรมนั้นไม่ว่าจะตั้งค่าอะไรก็ต้องกำหนดคาดคะเน หนทาง วิธีหลาย ๆ วิธีค่ะ ไล่ขั้นตอนไปถึงขั้นตอน ต่อ ๆ ๆ ๆ ไปอย่างละเอียด เป็นยังไงจะมีบัคเกิดขึ้น และวิเคราะห์ว่าทำไมถึงเกิดขึ้นได้ (ค้นหาสาเหตุ) หนทางนั้นซับซ้อนเหมือนเกมพัซเซิ่ล และวิธีการที่ต้องคิดค้นและมองในหลายแบบหลายทาง นั้นคล้ายกับวิธีคิดค้นไอเดียในขณะนี้ค่ะ
     หลังจากที่ Softhouse ได้ปิดไปแล้ว ได้ย้ายไปบริษัทอื่น แต่ก็ต้องปิดบริษัทไปหลังจากนั้นได้ 3 เดือน จากนั้นมีการทาบทามจากที่อื่นเช่นกัน แต่ก็ตัดสินใจว่าจะพักทำงานสักครู่ และมุ่งไปโรงเรียนฝึกอาชีพเพื่อเรียนในสาขาการประดิษฐ์ที่ชอบอยู่แต่เดิม
     ช่วงที่หาโรงเรียนฝึกอาชีพ เผอิญว่าโอตะคุอยู่ที่อาศัยอยู่ในขณะนั้น ทำการเปิดสอน (แผนกทำแบบจำลอง) เลยลองไปสมัครเรียนดู
     สิ่งที่ได้เรียนรู้จากที่นี่ คือ การทำงานไม้ ทำการวัด ใช้คัดเตอร์หรือมีด ตัดแผ่นไม้สี่เหลี่ยมให้เป็นวงกลมรัศมี R เรียนรู้การทำงานด้วยตัวเองทุกอย่างตั้งแต่ การใช้เครื่องมือ วัดสเกล งอแผ่นพลาสติก เป็นต้น "

     การแสดงผลงานตัวเองในงานแข่งขัน คือ เครื่องหมายพิสูจน์ตนเอง
    
หลังจากชีวิตการงานพิเศษครบ 2 ปี แต่งงาน มีลูก หลังจากช่วงเวลานั้น เกิดความคิดใหม่ ๆ หลายอย่างโดยอ้างอิงจากสินค้าที่มีขายทั่วไป เช่น ช้อนตักเกลือ ที่หนีบสปาเก็ตตี้ เป็นต้น และได้นำผลงานเหล่านี้ไปแสดงในงานต่าง ๆ มากมาย
     สำหรับประวัติการรับรางวัลจากงานแสดงผลงานใหม่ ๆ นั้น มีมากมาย เช่น ได้รับรางวัลโทคุเคียโชวโจวคันโชวเร 2 ปีซ้อน ในงานนารุโฮโดเทน (จัดโดยสมาคมสิ่งประดิษฐ์จากแม่บ้าน) ครั้งที่ 35 และ 36 จากผลงานช้อนเกลือ และที่ตักผงรีไซเคิล สำหรับที่ตักผงรีไซเคิลนั้น ยังได้รับรางวัลชนะเลิศจากงานประกวดผลงานหัวข้อการประหยัดไฟ (จัดโดยสำนักงานพลังงาน กระทรวงเศรษฐกิจอุตสาหกรรม)
     หลังจากนั้นคุณคาบายาชิถูกเชิญจากรายการโทรทัศน์และนิตยสารต่าง ๆ มากมาย แต่สำหรับตัวคุณโคบายาชินั้น คิดอยู่เสมอว่า การคิดหาไอเดียและทำให้เป็นจริงนั้น คือ เครื่องหมายพิสูจน์ตัวเอง
     คุณโคบายาชิเคยคิดว่าอยากทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และได้ค้นพบคอลัมน์หนึ่งในนิตยสารแม่บ้านที่เชิญชวนให้ผู้อ่านส่งสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่คิดและทำขึ้นเอง เพื่อตีพิมพ์ผลงานในนิตยสาร โอกาสนี้ คุณโคบายาชิได้ส่งผลงานและถูกรับเลือกให้ตีพิมพ์ หลังจากนั้นได้ส่งผลงานในงานแสดงสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ อีกมากมาย
     ใช้เวลาว่างเพียงน้อยนิดในการทดลองผิดลองถูก ประดิษฐ์ของ
     *สามารถสร้างสินค้าทดลองด้วยตัวเองหรือไม่ ?
    
คุณโคบายาชิ "ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง เช่น ใช้สว่าน งอพลาสติก เป็นต้น ทำให้ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาจากโรงเรียนฝึกอาชีพ สำหรับตัวฉันแล้วการทดลองทำ เป็นสิ่งที่ขยายผลของการเขียนความคิดในกระดาษ ใช้เวลาว่างเพียงน้อยนิดในการทำงาน เช่น ช่วงที่ลูกรับประทานอาหาร"
     *สิ่งที่สามารถทำเป็นสินค้าได้หรือไม่ ?
     โคบายาชิ "ยังไม่มีค่ะ เคยได้รางวัลและคำชมจากที่ปรึกษาบริษัทต่าง ๆ แต่เส้นทางในทางผลิตเป็นสินค้านั้นยากมาก และตอนนี้ลูกยังเล็กมาก จึงยังไม่มีความคิดเรื่องนี้ แต่ปัจจุบันมีการสนับสนุนงานอุตสาหกรรมในครัวเรือนมากขึ้น มีความคิดว่าในอนาคตอาจผลิตสินค้าของตัวเองออกขาย"




ท่านสามารถติดตามเรื่องราวของ Creative & Idea Kaizen
ได้ที่ http://www.tpa.or.th/tpatext/kaizen.php
หรือ ติดต่อที่แผนกวารสารวิชาการ
สมาคมส่งเสริทเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
โทร. 0-2258-0320 ต่อ 1740 (คุณจารุภา)


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที