ChanoLogy

ผู้เขียน : ChanoLogy

อัพเดท: 23 พ.ย. 2006 22.16 น. บทความนี้มีผู้ชม: 74449 ครั้ง

KAIZEN Society
สังคมของคนที่รักการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้งในยุค Knowledge Society


ทำไมต้องทำ ไคเซ็น?

ทำไมต้องทำ ไคเซ็น?

ตามหลักการของไคเซ็นข้างต้น ไคเซ็น จึงเป็นแนวคิดที่จะช่วยรักษามาตรฐานที่มีอยู่เดิม (Maintain) และปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น(Improvement) หากขาดซึ่งแนวคิดนี้แล้ว มาตรฐานที่มีอยู่เดิมก็จะค่อยๆ ลดลง ความสำคัญในกระบวนการของ ไคเซ็น คือ การใช้ความรู้ความสามารถของพนักงานมาคิดปรับปรุงงาน โดยใช้การลงทุนเพียงเล็กน้อย ซึ่งก่อให้เกิดการปรับปรุงทีละเล็กทีละน้อยที่ค่อยๆ เพิ่มพูนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตรงข้ามกับแนวคิดของ Innovation หรือ นวัตกรรม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ที่ต้องใช้เทคโนโลยีซับซ้อนระดับสูง ด้วยเงินลงทุนจำนวนมหาศาล ดังนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจแบบใด เราก็สามารถใช้วิธีการ ไคเซ็น เพื่อปรับปรุงได้

ทำไมต้อง ไคเซ็น ? ตามหลักการของ ไคเซ็น แล้ว สาเหตุเพียงเล็กน้อยก็สามารถก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงได้ สิ่งที่ธุรกิจต้องเผชิญอยู่ตลอดเวลา เช่น

·        คู่แข่งมีมากมาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

·        ความต้องการลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (คุณภาพ การส่งมอบ ราคาที่ต่ำลง สินค้าหลากหลาย ฯลฯ)

·        ทรัพยากรโลกลดน้อยลง (น้ำ น้ำมัน ป่าไม้ ทรัพยากรทางทะเล ฯลฯ)

·        ต้นทุนผันผวน (น้ำมันขึ้นราคา การระบาดของโรคติดต่อ)

·        การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง กฎหมาย นโยบายการค้าระหว่างประเทศ

เหล่านี้เป็นเหตุจำเป็นที่องค์กรจะต้องพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อพร้อมรับการการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

ได้อะไรจากไคเซ็น ?

ผลที่คาดจะได้รับ

1.       เพิ่มยอดขายและความพึงพอใจให้กับลูกค้า

2.       ต้นทุนการผลิตต่ำจากการทำงานลดลงของการทำงานซ้ำและเกิน งานสูญเปล่า ลดของเสีย ลดพลังงาน

3.       การปรับปรุงหรือคงรักษาระดับคุณภาพ

4.       การทำงานเข้าใจง่ายทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน ความปลอดภัย

5.       พนักงานมีโอกาสได้แสดงความสามารถของตนเอง


จุดเด่นของระบบไคเซ็นต่อผู้บริหาร

1.       เป็นเสียงสะท้อนจากผู้ปฏิบัติงาน เพื่อสะท้อนให้ผู้บริหารทราบ

2.       ผู้บริหาร สามารถควบคุมทิศทาง และปริมาณของข้อเสนอแนะที่จะต้องจ่ายเงินรางวัลไม่ให้เกินจากงบประมาณที่กำหนดไว้

3.       ผู้บริหารสามารถสร้างกฎ กติกา ขึ้นบังคับได้เองและสงวนสิทธิอันชอบธรรม ในการตัดสินชี้ขาดในการแข่งขัน การให้รางวัล

4.       ลงทุนน้อย เพียงแต่ให้รางวัลตามที่กำหนด (หากมีระบบรางวัล) กับข้อเสนอแนะที่เข้าเกณฑ์ เพื่อแลกกับข้อเสนอแนะที่บางครั้ง ก็มีคุณค่าสูงกับบริษัท

 

จุดเด่นของระบบไคเซ็นต่อบุคลากร

1.       พนักงานเรียนรู้การนำแนวคิดมาปฏิบัติให้เกิดผล

2.       เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อบรรลุผลในเชิงธุรกิจ

3.       ส่งเสริมให้พนักงานทุกคน ได้มีส่วนร่วมคิดแก้ปัญหาขององค์กร

4.       สร้างความพึงพอใจเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น

5.       เป็นสื่อกลางความเข้าใจอันดีของพนักงานทุกระดับชั้น

6.       สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี สู่ผลงานดี สรร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า

7.       เป็นการปูพื้นฐานรองรับการพัฒนาระบบอื่นๆ เช่น QCC, TQM ในลำดับต่อไป

ไคเซ็นเพื่อใคร ?

ความคิดของสหภาพแรงงานที่ล้าสมัย !

ไคเซ็นเปรียบเสมือนกับสิ่งที่ทำให้ผู้ใช้แรงงานลำบากมากขึ้น

การทำไคเซ็นทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คนที่ได้กำไรก็คือบริษัท  คนที่ขาดทุนก็คือพนักงาน 

ไม่เห็นด้วยกับการทำไคเซ็น

แท้จริงแล้ว การทำไคเซ็นก็เพื่อตัวผู้ปฏิบัติงานเองต่างหาก

 ไคเซ็น ต้องเริ่มจากตัวเอง งานของตัวเอง

ไคเซ็นเพื่อตนเอง ด้วยตนเอง

เพื่อตนเองจะได้ทำงานสบายขึ้น



แนวคิดเริ่มต้นของไคเซ็น “วันนี้ดีกว่าเมื่อวาน และ พรุ่งนี้จะดีขึ้นไปอีก”

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที