พยัพ

ผู้เขียน : พยัพ

อัพเดท: 12 พ.ย. 2013 15.02 น. บทความนี้มีผู้ชม: 152314 ครั้ง

ทำไม TPM จึงน่าสนใจสำหรับอุตสาหกรรม


ตอนที่ 9: การจัดบอร์ดกิจกรรม TPM

อ.พยัพ มาลัยศรี

 

บอร์ดกิจกรรมเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างฝ่ายบริหารและผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้ความเข้าใจการทำกิจกรรมและสามารถมองเห็นความก้าวหน้าได้เป็นระยะๆไปฝ่ายบริหารจะใช้บอร์ดในการถ่ายทอดนโยบาย สื่อการสอน ติดตามความก้าวหน้าและแสดงผลงานการทำกิจกรรมในภาพรวมของฝ่ายและโรงงานให้ทุกคนรับทราบ ส่วนผู้ปฏิบัติงานจะใช้บอร์ดเป็นที่แสดงผลงานการทำกิจกรรมของกลุ่มย่อย(Small Group) สื่อการสอน ติดตามความก้าวหน้าและสถานที่ประชุมของแต่ละกลุ่ม จุดสำคัญในการจัดทำบอร์ดกิจกรรมก็คือการกำหนดหัวข้อเรื่อง หัวข้อเรื่องจะต้องเป็นมาตรฐานที่โรงงานส่วนใหญ่เขาใช้กันในการปฏิบัติงานจริงจึงจะทำให้ผู้ดูบอร์ดกิจกรรมดูแล้วเข้าใจเองได้ง่ายเรียนรู้ด้วยตนเองได้โดยไม่ต้องมีคนมาอธิบายซึ่งประกอบด้วย

  1. ประวัติความเป็นมา
    • สถานะก่อนทำกิจกรรม
    • แผนการทำกิจกรรม
    • ผลที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
    • ข้อมูลประกอบ
  2. กิจกรรมการปรับปรุง
    • เรื่องสำคัญของการปรับปรุง
    •  ความก้าวหน้า
  3. สื่อการสอน
    • OPL
    • สื่อการสอนอื่นๆ
  4. รายงานการปรับปรุงประจำ วัน/ สัปดาห์/ เดือน
  5. ใบรับรองผลการทำกิจกรรม / ใบตรวจเช็ค / ประกาศนียบัตร
     

และในหัวข้อเรื่องต่างๆเหล่านี้การรายงานจะต้องคำนึงถึงความเชื่อมโยงต่อเนื่องกันให้เป็นเรื่องราว (Story)
จะทำให้ผู้ดูสามารถมาเรียนรู้จากบอร์ดได้เองโดยไม่ต้องมีคนมาอธิบาย เราจึงนิยมเรียกกันว่า Story Board ซึ่งมีหลักการจัดทำดังนี้


เมื่อกำหนดหัวข้อได้แล้วบางคนอาจไม่เข้าใจในรายละเอียดหัวข้อเรื่องที่มีความจำเป็นต่างๆในการทำบอร์ดกิจกรรมจึงขออธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมให้ดังนี้


1. ขั้นตอนการเข้าสู่การจัดทำบอร์ด
          1.1 สถานะก่อนทำกิจกรรม
                  -ใช้ภาพขยายปัญหานั้นๆให้สามารถมองเห็นได้ง่ายๆ
          1.2 การวางแผนทำกิจกรรม
                 -วางแผนไปให้ถึงการขอรับรางวัล PM Award
          1.3 ผลจากการทำกิจกรรม
                -ภาพถ่ายก่อน-หลังทำกิจกรรม
          -ขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนได้รับผลสำเร็จ
           1.4 ข้อมูล
                       -ชี้บ่งความเสียหาย การปรับปรุง แนวโน้มการใช้เวลาทำความสะอาด
                                 - จำนวนข้อเสนอแนะ  การปรับปรุงเล็กๆน้อยๆ
                                 -  จำนวน OPL   จำนวนพนักงาน  ทักษะของพนักงานแต่ละคน
2.กิจกรรมการปรับปรุง
      2.1 กิจกรรมการปรับปรุงหลัก
            เรื่องหลักที่จะต้องกำหนดมาตรการแก้ไขหรือปรับปรุงความเสียหายของปัญหา  
                                   บริเวณปัญหาที่ต้องปรับปรุง  การปรับปรุงจากการเรียนรู้  จากความเสียหายหรือความ
                                   บกพร่อง (ให้แสดงเป็นรูปแบบอยู่ในแบบฟอร์ม)
        2.2 ความก้าวหน้า
                การทำงานผิดพลาด  ความเสียหาย  และความบกพร่อง
                                    ( ให้แสดงกราฟของแต่ละเครื่อง )
3.สื่อการสอน
       3.1OPL    เอกสารบทเรียนจุดเดียวและติดไว้บนบอร์ด
       3.2 สื่อการสอนอื่นๆ หนังสือ   ตัวอย่างชิ้นส่วน ใบตรวจเช็คความเข้าใจและเอกสารที่ใช้
                                  ฝึกอบรม
4. รายงานผลการปรับปรุง รายงานผลการปรับปรุงจัดทำโดยกลุ่มที่ทำกิจกรรม
5. ประกาศนียบัตรที่ได้รับ แสดงไว้ในจุดที่มองเห็นได้ง่ายชัดเจน
 

การแสดงงานที่ทำโดยใช้บอร์ดกิจกรรม 

 

สวัสดีปีใหม่ 2556 สำหรับผู้อ่านบทความทุกท่านครับ  หลายท่านคงได้ฉลองปีใหม่กันไปแล้วขอให้ทุกท่านมีความสุข สดชื่น สมหวัง สุขภาพแข็งแรงปราศจากโรคภัย อันตรายกับการดำเนินชีวิตส่วนตัว ครอบครัวและการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายตลอดปี 2556 นี้นะครับ สำหรับปีนี้ผมก็มีของฝากมาให้เนื่องจากบทความบางตอนยังขาดภาพประกอบและแผนผังแสดงรายละเอียดซึ่งไม่สามารถใส่ให้ในบทความหลายตอนอาจทำให้อ่านแล้วเข้าใจยากหรืออ่านแล้วยังไม่เข้าใจและมีบทความบางตอนที่เขียนไว้ไม่ได้ลงในบทความนี้ผมได้รวบรวมจัดทำเป็นรูปเล่มไว้ ถ้าผู้อ่านต้องการรายละเอียดการทำกิจกรรม TPM ให้มากขึ้นคงต้องติดตามอ่านได้จากหนังสือเล่มเล็กๆ ความหนา 150 หน้าชื่อหนังสือ “แนวคิดในการทำกิจกรรมTPM” “สู่การปฏิบัติจริง” ซึ่งจะมีภาพสีและแผนผังอธิบายรายละเอียดให้เข้าใจกันได้ง่ายขึ้น

สำหรับโรงงานหรือสถานประกอบการใดที่สนใจจะทำกิจกรรม TPM หรือกำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันเพื่อต้องการสมัครขอรับรางวัล TPM Award จาก JIPM       ถ้าต้องการหนังสือเล่มนี้ส่ง E-mail มาขอได้ที่  E-mail : payapm34@gmail.com  หรือ ติดต่อสอบถามกับเจ้าหน้าที่ ฝ่ายวินิจฉัยและให้คำปรึกษาสถานประกอบการ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)  E-mail : jintana@tpa.or.th  โดยตรงก็ได้ครับ

พยัพ มาลัยศรี
ที่ปรึกษาอุตสาหกรรม


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที