นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 17 ม.ค. 2015 07.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4292022 ครั้ง

www.thummech.com
เป็นความรู้เกี่ยวกับโลหะในทางทฤษฏี ทั้งโลหะที่เป็นเหล็ก และไม่ใช่เหล็ก
โลหะที่เป็นเหล็กที่จะกล่าวก็คือ เหล็ก และเหล็กกล้า
โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น อลูมิเนียม ทองแดง แมกนีเซียม ฯลฯ
ตัวอย่างที่จะกล่าวในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวเกียวกับ
- กรรมวิธีการผลิตโลหะ
- คุณสมบัติของโลหะ
- การวิเคราะห์โครงสร้างโลหะ
- การปรับสภาพของโลหะ
- แนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์
-ฯลฯ

ลองติดตามผลงานดูนะครับ ติชมกันได้นะ มีคำถามอะไรก็ถามได้ ถ้ารู้ก็จะตอบให้ครับ

เมื่อการพัฒนาทางด้านวัตถุมีสูง มองมุมกลับ การพัฒนาทางด้านจิตใจ ด้านคุณธรรมก็ต้องให้สูงตามไปด้วย

วัตถุประสงค์ที่ทำก็คือ อยากเห็นประเทศของเรามีความทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการสร้างเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตามใคร


56 บทที่ 8 การพัง และการเสียรูปของโลหะ

 

บทที่ 8 การพัง และการเสียรูปของโลหะ

 

8.1 การเสียรูป

 

      เมื่อวัสดุถูกยืดขยายตัวจนมันเกิดผิดรูปร่างไปเราเรียกว่า การเสียรูป (Deformation) การยืดตัว จะเกิดมาก หรือน้อย มันขึ้นอยู่กับแรงที่กระทำต่อวัสดุ

      วัสดุเปราะ เช่น เหล็กหล่อ, คอนกรีต, กระจก ฯลฯ วัสดุเหล่านี้มันยืดตัวได้ไม่มาก ก่อนมันพังมันจะเสียรูปเพียงเล็กน้อย แล้วก็แตกหัก หรือพังทลายลงไป

 

รูปวัสดุเสาคอนกรีตอัดแรงที่แตกหักเมื่อถูกแรงกระทำที่มีค่ามากเกินไป

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

วิดีโอการทดสอบวัสดุเปราะ (คอนกรีต) จนพังทลายลง

 

รูปการทดสอบชิ้นงานที่เป็นวัสดุเปราะ

 

      ส่วนวัสดุยืดหยุ่นอีกจำพวกหนึ่ง เช่น อลูมิเนียม, พลาสติกสังเคราะห์ (Polyethylene) และยาง มีความสามารถในการยืดตัวได้มากกว่า มันมีความยืดหยุ่นมาก ทำให้การเสียรูปของมันจึงมีน้อยกว่า  

 

รูปการทดสอบชิ้นงานที่เป็นวัสดุเหนียวจนยืดตัวออกได้มากก่อนที่จะขาดจากกัน

 

วิดีโอทดสอบการดึงชิ้นงานเหล็กกล้า

 

วิดีโอการทดสอบการดึงชิ้นงานของเหล็กกล้า 2

 

      โลหะถูกแรงกระทำให้จนขาดเหมือนกัน เมื่อมีแรงกระทำถึงค่าหนึ่ง แต่ก่อนที่จะขาดออกจากกัน มันมีการยืดตัวได้มาก ดังนั้นการเสียรูปของวัสดุก่อนที่จะขาดออกจากกันจะมีมากกว่า

 

8.2 ความยืดหยุ่น และความเปราะ

 

      วัสดุเหนียว (Ductile) สามารถยืดได้มากก่อนที่มันจะขาดออกจากกัน (จากบทที่ 4) ขนาดของแรงที่ทำให้พังอาจมีมากหรือน้อยก็ได้

 

      วัสดุเปราะ (Brittle) จะไม่ค่อยมีความยืดหยุ่น มันยืดหยุ่นได้น้อยมากก่อนที่จะขาดออกจากกัน วัสดุยืดพังโดยการเฉือน

ตารางที่ 8.1 เป็นการเปรียบเทียบการพังทลายระหว่างวัสดุเปราะและวัสดุเหนียว

 

การเปรียบเทียบการพังของวัสดุเปราะ และเหนียว

 

การพังของวัสดุเปราะ

การพังของวัสดุเหนียว

แนวทางการพัง

แตกแยกออก

จากการเฉือน

การยืดตัวก่อนที่จะพัง

เล็กน้อย

ยืดได้มาก

วัสดุตัวอย่าง

เหล็กหล่อ, คอนกรีต, ไม้

อลูมิเนียม, เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ, ยาง

ตารางที่ 8.1 เป็นตารางเปรียบเทียบลักษณะที่สัมพันธ์ของความพังเปราะ และยืด

 

8.3 โลหะเปราะพังแบบแยกขาดออกจากกัน

 

รูปการขาดตัวของชิ้นทดสอบที่เป็นเหล็กหล่อ ขาดแบบแยกจากกัน

 

      วัสดุที่พังโดยการแยกขาดออกจากกัน แสดงให้เห็นในรูป รอยแตกแบบนี้จะเห็นได้ในเหล็กหล่อ การพังเพราะความเปราะในเนื้อของเหล็ก ที่รอยแตกของเหล็กจะเห็นเป็นเม็ดเล็ก ๆ มีผิวขรุขระ และมีความคม เมื่อมีแรงมากเพียงพอจนเหล็กเกิดรอยฉีก ความต่อเนื่องของรอยฉีกจะมีความไวมากจนลุกลามเป็นรอยแตก และก็ขาดจากกันในที่สุด

 

รูปการพังของรูปเหล็กหล่อเมื่อเนื้อเหล็กแตก และแยกเป็นชิ้น เนื้อตรงรอยแตกจะมีความขรุขระ, เป็นเม็ดเล็ก ๆ และมีความคม

 

      ลองสังเกตในบางครั้ง วัสดุอาจเกิดการยืดตัว แต่ก็เพียงเล็กน้อยมาก เพราะวัสดุที่เปราะเมื่อมันพังจะมีความรุนแรง และรวดเร็วจนวัสดุนั้นไม่มีเวลาพอที่จะยืดตัวออกเนื่องจากพังเสียก่อน

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

“ขอบคุณความทุกข์ ที่ทำให้ความสุขในคราวต่อมาเป็นความสุขที่แท้จริง”


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที