นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 17 ม.ค. 2015 07.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4296880 ครั้ง

www.thummech.com
เป็นความรู้เกี่ยวกับโลหะในทางทฤษฏี ทั้งโลหะที่เป็นเหล็ก และไม่ใช่เหล็ก
โลหะที่เป็นเหล็กที่จะกล่าวก็คือ เหล็ก และเหล็กกล้า
โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น อลูมิเนียม ทองแดง แมกนีเซียม ฯลฯ
ตัวอย่างที่จะกล่าวในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวเกียวกับ
- กรรมวิธีการผลิตโลหะ
- คุณสมบัติของโลหะ
- การวิเคราะห์โครงสร้างโลหะ
- การปรับสภาพของโลหะ
- แนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์
-ฯลฯ

ลองติดตามผลงานดูนะครับ ติชมกันได้นะ มีคำถามอะไรก็ถามได้ ถ้ารู้ก็จะตอบให้ครับ

เมื่อการพัฒนาทางด้านวัตถุมีสูง มองมุมกลับ การพัฒนาทางด้านจิตใจ ด้านคุณธรรมก็ต้องให้สูงตามไปด้วย

วัตถุประสงค์ที่ทำก็คือ อยากเห็นประเทศของเรามีความทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการสร้างเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตามใคร


69 อุณหภูมิสารตัวกลาง, เทคนิคการชุบแข็ง (จบบทที่ 11)

 

11.5 อุณหภูมิของสารตัวกลางในการชุบแข็ง

 

 

 

      อุณหภูมิของสารตัวกลางในงานชุบแข็ง จะมีผลต่อการชุบแข็ง ยกตัวอย่าง น้ำที่อุณหภูมิต่ำ (น้ำเย็น) จะช่วยลดเวลาในการชุบแข็ง ซึ่งแสดงในรูป

 

 

 

กราฟอุณหภูมิสารตัวกลางในการชุบแข็งมีผลต่อเวลาที่ใช้ในการชุบแข็ง

 

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

 

กราฟแสดงการชุบแข็งในสารตัวกลางต่าง ๆ  

 

 

 

 

 

น้ำที่มีอุณหภูมิ 21°C (70°F) มีความสามารถทำให้ชิ้นส่วนโลหะเย็นตัวโดยใช้เวลาเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของเวลาที่ใช้ชุบ แต่ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการร้าวตัว และบิดงอพอสมควร น้ำที่มีความเหมาะสมโดยลดความเสี่ยงต่อการร้าว และบิด จะอยู่ที่อุณหภูมิ 49°C (120 °F)  

 

 

 

ข้อสังเกตจากรูป การชุบแข็งด้วยน้ำเกลือ และน้ำเป็นไปอย่างเร็วสุด การปล่อยให้เย็นตามธรรมชาติ (Normalizing: การให้ชิ้นส่วนเย็นตัวที่อากาศนิ่ง) เป็นการชุบแข็งที่เย็นตัวช้าที่สุด การชุบแข็งด้วยน้ำมันจะเห็นว่าเย็นเร็วกว่าการใช้การชุบแข็งด้วยอากาศ แต่ก็เกิดขึ้นในอัตราที่ช้ากว่า การชุบแข็งด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำ

 

 

 

11.6 เทคนิคการชุบแข็งในภาคปฏิบัติ

 

 

 

      มีความคิดมากมายที่จะเกิดขึ้น เมื่อคิดเลือกกรรมวิธีการชุบแข็ง ด้วยการเลือกใช้ตัวกลางที่จะชุบ และนำไปประยุกต์ใช้ รายละเอียดที่ด้านล่างเป็นเพียงบางส่วนของการชุบแข็ง ซึ่งยังมีอีกหลายวิธีมากมาย ที่จะต้องพิจารณาก่อนที่จะเริ่มทำการชุบแข็ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กราฟการปั่นป่วนของสารตัวกลาง ที่มีผลต่อชิ้นงานที่ทำการชุบแข็ง ทำให้เวลาการทำความเย็นลดลง

 

 

 

รูปแผ่นเหล็กบางผ่านการชุบแข็ง

 

  

 

      การปั่นป่วนจะไม่ค่อยมีผลในน้ำมัน มักจะเกิดฟองน้ำมันเหนียวติดกันซึ่งจะเกิดที่ผิวโลหะ ส่วนในการชุบแข็งด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำ การปั่นป่วนจะช่วยขับไล่ฟองที่เกาะชิ้นงานออก  จะทำให้มีข้อได้เปรียบเล็กน้อยในการปั่นป่วน หรือการเขย่าชิ้นงานหลังจากมันอยู่ในตัวกลางชุบแข็ง

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปชิ้นส่วนที่มีบางส่วนที่บางระหว่างส่วนหนา เป็นส่วนที่มีความไวต่อการบิดในระหว่างกระบวนการชุบแข็ง

 

 

 

มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการบิดตัว ที่จะเกิดระหว่างการชุบแข็ง เพื่อลดการบิดของงาน สามารถนำดิน (Clays) แบบพิเศษ มาใช้พอกในพื้นที่วิกฤติของชิ้นงานบางได้ แล้วจึงจะให้ความร้อน และนำไปชุบแข็ง

 

 

 

ดินเหล่านี้คอยป้องกันชิ้นงานบาง เพื่อลดความรุนแรงจากกระบวนการชุบแข็งที่กระทำต่อชิ้นงาน เมื่อโลหะถูกจุ่มเข้าไปในของเหลว ดินพิเศษสามารถใช้แก้ปัญหาการแตกร้าว และการบิดตัวของชิ้นงานที่มีส่วนที่บางหรือขอบมุมที่แหลมคมได้เหมือนกัน

 

 

 

 

 

จบบทที่ 11 ครั้งหน้าพบกับ การอบอ่อน (Annealing)  และการอบปกติ (Normalizing)

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

 

“ผู้ปกครองระดับธรรมดา ใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มที่
                       ผู้ปกครองระดับกลาง ใช้กำลังของคนอื่นอย่างเต็มที่
                                            ผู้ปกครองระดับสูง ใช้ปัญญาของคนอื่นอย่างเต็มที่”

 

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที