นระ

ผู้เขียน : นระ

อัพเดท: 15 ก.ย. 2010 13.56 น. บทความนี้มีผู้ชม: 24769 ครั้ง

สังคมเศรษฐกิจทุกวันนี้ถือว่า ยานพาหนะสำหรับการขนส่งคนและสินค้าเป็นปัจจัยที่ห้า ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นมาก ต่อจากอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค ในการดำรงชีวิตของทุกคน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานหาเลี้ยงชีพประจำวันของคนทั่วไปอยู่ประมาณเศษหนึ่งส่วนสี่ของค่าใช้จ่ายรายวัน แต่อาจจะถึงครึ่งหนึ่งสำหรับผู้เดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งส่วนนี้จะประหยัดได้มากถ้าประเทศไทยมีระบบขนส่งสาธารณะที่ดี ครอบครัวหนึ่ง ๆ สามารถออมเงินได้มากทีเดียวถ้าเดินทางไปทำงานโดยระบบขนส่งสาธารณะ


การกำหนดอายุรถโดยสารสาธารณะ

การกำหนดอายุรถโดยสารสาธารณะ
ดร.นระ คมนามูล

สังคมเศรษฐกิจทุกวันนี้ถือว่า ยานพาหนะสำหรับการขนส่งคนและสินค้าเป็นปัจจัยที่ห้า ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นมาก �ต่อจากอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค �ในการดำรงชีวิตของทุกคน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานหาเลี้ยงชีพประจำวันของคนทั่วไปอยู่ประมาณเศษหนึ่งส่วนสี่ของค่าใช้จ่ายรายวัน แต่อาจจะถึงครึ่งหนึ่งสำหรับผู้เดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งส่วนนี้จะประหยัดได้มากถ้าประเทศไทยมีระบบขนส่งสาธารณะที่ดี �ครอบครัวหนึ่ง ๆ สามารถออมเงินได้มากทีเดียวถ้าเดินทางไปทำงานโดยระบบขนส่งสาธารณะ

ระบบขนส่งสาธารณะที่ดีต้องประกอบด้วย �ผังเมืองที่ดีสอดประสานกับการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะและที่อยู่อาศัย มีศูนย์กลางคมนาคมหรือศูนย์กลางชุมชนในแต่ละย่าน มีสถานีขนส่งที่ดีเป็นจุดรวมและกระจายผู้เดินทาง มีโครงข่ายเส้นทางขนส่งสาธารณะที่ดีและทั่วถึง และสุดท้ายมีรถโดยสารหรือรถเมล์ที่ดี สะดวก ปลอดภัย มีตารางเวลาที่แน่นอน

น่าเสียดายที่ทั้งๆที่ทราบกันดีว่าระบบขนส่งสาธารณะที่ดีเป็นเรื่องจำเป็นและให้ประโยชน์มาก แต่ระบบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของไทย กลับไม่ได้พัฒนาหลักสูตรวิชาวิศวกรรมการขนส่งให้สมบูรณ์ หลักสูตรที่สมบูรณ์ควรประกอบด้วย �หนึ่ง การวางแผนพัฒนาระบบขนส่งและผังเมือง สอง การออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเช่น ถนน ทางด่วน ทางรถไฟ ท่าเรือ ท่าอากาศยาน และสถานีขนส่ง เป็นต้น สาม การบริหารจัดการระบบขนส่งสาธารณะและการพัฒนาบุคลากร ��และสี่ �ที่สำคัญมาก ๆ คือ ตัวยาน พาหนะ เช่น รถยนต์โดยสาร หัวรถจักร รถไฟฟ้า เรือ และเครื่องบิน เป็นต้น

ในประเทศไทยนั้นศึกษาเล่าเรียนกันมาก ก็เฉพาะ เรื่องถนน ทางหลวง การวางแผนการขนส่งและการวิเคราะห์การเดินทาง และวิศวกรรมจราจรเท่านั้น

ในบทความนี้จะขอกล่าวเฉพาะเรื่องรถยนต์โดยสารสาธารณะ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มบริการ หนึ่ง การขนส่งคนภายในเมือง เช่น รถเมล์ ขสมก. เป็นต้น สอง การขนส่งคนระหว่างเมืองระยะสั้น เช่น ระหว่างชุมชน ตำบล อำเภอภายในจังหวัด� สาม การขนส่งคนระหว่างเมืองระยะไกล เช่น รถ บขส. �เป็นต้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 หมวดด้วยกัน คือ ระยะทางมากกว่า 500 กิโลเมตร ระยะทางระหว่าง 300-500 กิโลเมตร และระยะทางที่น้อยกว่า 300 กิโลเมตร

ปัญหารถโดยสารสาธารณะของประเทศไทยทุกวันนี้คือ มีรถเก่าวิ่งอยู่เป็นจำนวนมาก (ดูตาราง....) และยังไม่มีกฎหมายหรือข้อกำหนดจำกัดอายุรถโดยสาร และที่น่าวิตกมากยิ่งกว่านั้นคือ อุตสาหกรรมต่อตัวถังรถโดยสารของไทยไม่ปรากฏการอ้างอิงมาตรฐานข้อกำหนดสากล� เช่น UNECE R66 ที่ว่าด้วยความแข็งแรงของโครงสร้างและการทดสอบตัวถังรถโดยสาร เช่นในมาเลเซีย และอีกหลายประเทศ� ซึ่งจะช่วยลดการตายและบาดเจ็บกรณีที่รถพลิกคว่ำ ที่น่ากลัวมากกว่านั้นคือการภูมิใจในภูมิปัญญาชาวบ้านที่สามารถนำคัสซีรถเก่าที่เขาโละทิ้งจากประเทศเจริญแล้ว มาต่อตัวถังรถเป็นรถใหม่ให้บริการอยู่ทั่วไปหมด คงลืมนึกไปว่าคำว่า “คัสซีรถ” ไม่ได้หมายถึงเฉพาะเหล็กโครงฐาน (ซึ่งอาจจะใช้ได้ถึง 100 ปี) ���� หากแต่คัสซีรถนั้นความจริงหมายถึงรถทั้งหมดที่ขับเคลื่อนได้ยกเว้นตัวถังรถ นั่นคือ คัสซีรถประกอบด้วยโครงฐาน ระบบเครื่องยนต์ ระบบขับเคลื่อนและควบคุมรถ ระบบห้ามล้อ ระบบรองรับน้ำหนัก ซึ่งล้วนแต่มีอายุเสื่อมก่อนเหล็กโครงฐานและที่สำคัญสำหรับรถใหญ่คือรีทาร์เดอร์ช่วยการเบรกด้วยไฟฟ้า

ดังนั้น ผู้เช่ารถโดยสาร โดยเฉพาะการไปทัศนาจรทางไกล ควรรอบคอบในการเลือกรถเช่าโดยกำหนดอายุรถ อย่าได้เห็นแก่ราคาค่าเช่าถูกเป็นผลงานที่ภูมิใจเพราะการสูญเสียเพื่อนร่วมงานจากอุบัติเหตุทางรถยนต์นั้นเป็นเรื่องที่สะเทือนใจมาก
ผู้ให้บริการการขนส่งที่ใช้รถเก่าหรือรถคัสซีเก่า มักมีข้ออ้างว่าอุบัติเหตุไม่ได้มาจากรถ หากแต่มาจากคนขับ ผู้กล่าวเช่นนั้นลืมคิดไปว่า รถที่ดี มีที่นั่งคนขับที่ถูกสุขลักษณะ สภาพแวดล้อมภายในรถดี เก็บเสียง อากาศถ่ายเทดี สามารถช่วยให้คนขับมีสติอยู่เสมอ �สดชื่น ไม่ล้าง่าย และอยากให้สังเกตรถเมล์ขสมก.ที่นำเข้าจากประเทศใกล้เคียงมาทดลองวิ่งเร็วๆนี้มีเสียงเอี๊ยดอ้าดรบกวนจากช่วงล่างตลอดเวลา อีกทั้งม้านั่งก็นั่งไม่สบาย น่ารำคาญมาก แน่นอนคนขับรถที่ต้องวิ่งรถทั้งวันน่าจะเหนื่อยล้าง่ายมากกว่าการขับรถโดยสารที่มียี่ห้อดังหน่อยแต่ไม่ทรมาน ทำงานก็ได้ประสิทธิภาพมากกว่า ��

การกำหนดอายุรถโดยสารในต่างประเทศ

การกำหนดอายุรถโดยสารสาธารณะในประเทศไทย
การกำหนดอายุรถโดยสารสาธารณะในประเทศไทย ได้นำข้อมูล 3 ส่วน คือ ด้านความปลอดภัย ด้านเศรษฐศาสตร์ และด้านสิ่งแวดล้อม มาพิจารณาแนวทางการกำหนดอายุรถโดยสารที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้ คือ

  1. ผลการศึกษาเบื้องต้นโดย ศ.ดร.พิชัย ธานีรณานนท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ พบว่า อายุที่ควรกำหนดอยู่ที่ 15 ปี บวกลบขึ้นอยู่กับประเภทของรถและการบริการ
  2. การจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการรถโดยสารทั่วประเทศได้ พบว่า อายุที่ควรกำหนดอยู่ระหว่าง 15-30 ปี (ค่าเฉลี่ย 22 ปี) และ
  3. จากการทบทวนเอกสารการกำหนดอายุรถโดยสารในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย อังกฤษ ฯลฯ พบว่า อายุของรถโดยสารทั่วไปอยู่ระหว่าง 8-25 ปี�

เมื่อพิจารณาข้อมูลดังกล่าวข้างต้น มาเป็นแนวทางในการกำหนดอายุรถโดยสารสาธารณะในประเทศไทย การกำหนดอายุรถโดยสารสาธารณะทั้งประจำทางและไม่ประจำทาง แบ่งตามประเภทของรถที่ให้บริการ และระยะทางการให้บริการ ซึ่งกรมการขนส่งทางบกได้กำหนดมาก่อนแล้ว ตามหนังสือ คค ที่� 0406.2/2401 ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2549 เรื่อง แจ้งมติกรรมการการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ต่อนายกสมาคมกิจการรถโดยสารประจำทางไทย� เกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขมาตรฐานการให้บริการสำหรับรถที่จะนำมาบรรจุเพิ่มใหม่ ดังนี้

จากการศึกษา อายุรถบัส แบ่งตามระยะทางควรกำหนดดังนี้

ส่วนรถโดยสารประเภทรถตู้ ได้กำหนดอายุใช้งานไว้ไม่เกิน 10 ปี ซึ่งได้มีผลบังคับใช้แล้ว เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 การศึกษานี้วิเคราะห์อายุรถโดยสารประเภทรถตู้ไว้ 11 ปี� ทั้งนี้ควรมีระยะเวลาผ่อนปรนโดยมีป้ายชำระภาษีประจำปีแบ่งสีตามอายุรถที่เกิน 15 ปี เพื่อให้ผู้เช่าและผู้ใช้บริการทราบอายุรถโดยสารทุกประเภท

สัดส่วนของรถโดยสารที่มีอายุเกิน 15 ปี

ปี

ณ 31 ธันวาคม 2550

ณ 31 ธันวาคม 2552

จำนวนรถโดยสารทั้งหมด

111,093 คัน

116,984 คัน

ทั้งประเทศ

32% ของทั้งประเทศ

36.2% ของทั้งประเทศ

กรุงเทพมหานคร

20% ของ กทม.

26.8% ของ กทม.

ภาคกลาง

30% ของทั้งภาค

35.3% ของทั้งภาค

ภาคตะวันออก

31% ของทั้งภาค

36.7% ของทั้งภาค

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

35% ของทั้งภาค

39.4% ของทั้งภาค

ภาคเหนือ

44% ของทั้งภาค

45.1% ของทั้งภาค

ภาคตะวันตก

47% ของทั้งภาค

50.4% ของทั้งภาค

ภาคใต้

36% ของทั้งภาค

37.3% ของทั้งภาค

ที่มา: วิเคราะห์จากข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก


ภาพการทดสอบความแข็งแรงของโครงสร้างรถโดยสารในมาเลเซียและฮ่องกง ซึ่งยังไม่มีทำในประเทศไทย


ภาพคัสซีรถโดยสารที่ควรจะหมายถึง มิใช่มีเฉพาะโครงฐานตามที่นิยมพูดกัน


ภาพคัสซีรถโดยสารที่ควรจะหมายถึง มิใช่มีเฉพาะโครงฐานตามที่นิยมพูดกันและส่วนประกอบที่สำคัญมี Retarder, Air Bellows, Control Panel , Brake



Retarder

�������
Air Bellows

Information Bulletin of Queensland Transport, Queensland Government:

แนวทางสำหรับตรวจสภาพและซ่อมแซมรถบัสของรัฐควีนสแลนด์ ออสเตรเลียนี้ พูดถึงมาตรฐานการตรวจสภาพรถบัสใหญ่ตลอดอายุถึง 20 ปีให้เหมาะสมแก่การให้บริการสาธารณะ และการตรวจสภาพรถบัสบังคับสำหรับรถบัสที่มีอายุครบ 20 ปี การตรวจสอบหลังการซ่อมแซมโครงสร้างรถ รวมถึงการตรวจสอบรายการซ่อมใหญ่เนื่องจากการผุกร่อน ความเสียหายจากอุบัติเหตุ โดยต้องเชิญให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นไปตรวจสอบผลการซ่อมแซมก่อนที่จะซ่อมสีและการติดตั้งแผ่นผนังตัวรถ ทั้งนี้ เนื่องจากประสบ การณ์พบว่าโครงสร้างรถโดยสารมักผุกร่อนตามธรรมชาติ โดยเฉพาะบริเวณที่น้ำซึมเข้าตามช่องหน้าต่าง และบันทอนความแข็งแรงของโครงสร้างรถ���

เอกสาร VSA.11.11/05กล่าวถึงการกำหนดอายุรถบัสประเภทต่างๆ มี รถบัสใหญ่ รถบัสเล็ก และรถโดยสารชนบทขับเคลื่อนล้อหน้า ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ รถบัสในเมืองหรือระดับท้องถิ่นให้บริการภายในรัศมี 40 กิโลเมตร รถบัสระดับภูมิภาคให้บริการภายในรัศมี 40 กิโลเมตร และรถบัสระดับทั่วไปไม่กำหนดระยะทาง

หมายเหตุ:
(1) ผู้ประกอบการเป็นผู้รับผิดชอบในการพิสูจน์อายุรถตามลำดับข้อมูลที่หาได้

(2) รถบัสเล็กระดับในเมืองและในภูมิภาคต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 15 ปีเมื่อแรกนำเข้ามา ให้บริการโดยผู้ประกอบการปัจจุบัน

การขนส่งรัฐควีนสแลนด์ ยังให้แนวทางสำหรับกรณีที่รถบัสบางคัน ต้องการต่ออายุเกินกว่าที่ได้กำหนดไว้ ที่เรียกว่า “Bus life vehicle rating” ตามกฎการออกแบบของออสเตรเลีย (ADR Code S13) ซึ่งต่ออายุรถบัสที่หมดอายุแล้วอีก 5 ปี ทั้งนี้รถบัสนั้นต้องมีการออกแบบตามข้อกำหนดของออสเตรเลียมาตั้งแต่ต้น ก่อนหมดอายุได้ปรับปรุงตามกฎ ADR (ไม่ใช่การดัดแปลงเปลี่ยนส่วนประกอบยี่ห้ออื่น) และได้รับใบรับรองจากวิศวกรในด้านความมั่นคงแข็งแรงของตัวรถและการยังใช้งานได้ดีอยู่ของคัสซี ตัวถัง ระบบรับน้ำหนัก ส่วนประกอบบังคับรถและห้ามล้อ� รถบัสแต่ละคันขอต่ออายุอีก 5 ปีได้เพียงครั้งเดียวและควรกระทำเมื่อรถเข้าอายุ 13 ปีหรือ 15 ปี เพื่อการใช้งานถึง 20ปี มิใช่ขอต่ออายุเมื่อรถจะเข้าอายุ 25ปีสุดท้าย หลังจากหมดอายุแล้วรถบัสนั้นอาจจะใช้ในประเภทอื่นที่สามารถใช้ได้จนถึงอายุ 30 ปี (หมายเหตุ: ในการขอต่ออายุรถโดยสาร การตรวจสอบส่วนประกอบที่สำคัญมีความละเอียดมากถึงขั้นตรวจสอบหารอยร้าว)


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที