SHE Zone

ผู้เขียน : SHE Zone

อัพเดท: 09 ก.พ. 2011 14.31 น. บทความนี้มีผู้ชม: 59903 ครั้ง

ปลอดภัยแน่นอนถ้าหมั่นเรียนรู้และตระหนักถึงอันตราย


อันตรายที่อาจเกิดขึ้นภายในสถานที่อับอากาศ(Confined Space Hazard)

    



        ในตอนที่1 เราได้ทราบกันไปแล้วถึงลักษณะของสถานที่อับอากาศว่ามีลักษณะอย่างไร อะไรบ้างที่จัดเป็นสถานที่อับอากาศ ในตอนี้เราจะมาทราบกันต่อถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่อับอากาศว่ามีอะไรบ้าง

     อันตรายที่อาจเกิดขึ้นภายในสถานที่อับอากาศ ประกอบไปด้วย

     1. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ   สภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในสถานที่อับอากาศสามารถทำให้เกิดอันตรายเหล่านี้ได้

            อุณหภูมิ    ความร้อนสามารถที่จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วได้ภายในสถานที่อับอากาศ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความอ่อนเพลีย และอาจหมดสติ

            เสียง     เสียงอาจทำให้เกิดการสั่นสะเทือนและส่งผลให้ระบบการได้ยินถูกทำลาย หรือระดับเสียงที่ดังอาจทำให้ไม่ได้ยิน หรือพลาดคำเตือนหรือคำแนะนำที่
                        สำคัญๆ

            ระบบท่อและวาล์ว   จะต้องถูกปิด, ถูกล๊อค หรือต้องว่างเปล่า เพราะหากของเหลวหรือก๊าซเข้าไปอาจทำให้เกิดอันตรายได้

            ท่าทางในการทำงาน  การที่ต้องทำงานบนนั่งร้าน  บนบันได หรือพื้นที่ลาดชันอาจทำให้เกิดการพลัดตกจากที่สูงได้

            อุปกรณ์ไฟฟ้า    สายไฟที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้อาจเป็นอันตรายได้

 

     2.  ปริมาณออกซิเจนที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป

            ปริมาณออกซิเจนที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป จัดเป็นอันตรายที่สำคัญสำหรับสถานที่อับอากาศ

 

ปริมาณออกซิเจนที่ไม่เพียงพอ หรือน้อยเกินไป อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังนี้

§         อัคคีภัยหรือการระเบิด    ปริมาณออกซิเจนที่มีอยู่จะถูกใช้ไปเพื่อการเผาไหม้

§         การถูกแทนที่   ออกซิเจนสามารถถูกแทนที่ด้วยก๊าซอื่น ๆ  เช่น อาร์กอน, คาร์บอนไดออกไซด์ หรือไนโตรเจน ได้

§         สนิม   เมื่อโลหะเป็นสนิม จะต้องใช้ออกซิเจนในอากาศ.ในการทำให้เกิดสนิม

 

ปริมาณออกซิเจนที่มีมากเกินไปในอากาศเป็นอันตราย เนื่องจากอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้

§        อัคคีภัยสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายในอากาศที่มีปริมาณออกซิเจนมากกว่า 23.5 %

§        น้ำมันถ้าอยู่ในที่ที่มีออกซิเจนบริสุทธิ์ จะสามารถลุกไหม้ได้ด้วยตนเอง

 

เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงอันตรายต่าง ๆ เหล่านี้ เราจึงต้องมีการตรวจวัดสภาพบรรยากาศภายในสถานที่อับอากาศทุกครั้งก่อนเข้าไปปฎิบัติงาน

 

3.    สารปนเปื้อนสารที่เป็นพิษ
สารที่เป็นพิษเป็นอีกหนึ่งอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในการเข้าไปปฎิบัติงานในสถานที่
อับอากาศ หลาย ๆ ครั้งที่เราไม่สามารถมองเห็น หรือได้กลิ่นสารที่เป็นพิษ
แต่สารที่เป็นพิษเหล่านั้นก็ยังคงมีอยู่ ทางที่สารที่เป็นพิษจะสามารถทำอันตรายเราได้มีอยู่ 2 ทางคือ

                  การระคายเคือง  โดยสารจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ( ลำคอ ปอด) หรือระบบประสาท ถ้าการระคายเคืองมีมากเกินไปอาจทำให้  
                  เสียชีวิตได้

                  การสำลักสารเคมี  สารที่เป็นพิษบางชนิดมีความสามารถในการลดปริมาณออกซิเจนที่เราหายใจเข้าไป หรือปริมาณออกซิเจนที่เข้าสู่ปอดเรา ทำให้ปอดทำ
                  งานได้ไม่เต็มที่
สารที่เป็นพิษที่เรารู้จักกันดีว่ามีความเป็นอันตรายภายในสถานที่อับอากาศ ได้แก่ คาร์บอนมอนนอกไซด์, ไฮโดรเจนซัลไฟด์, ซัลเฟอร์
                  ไดออกไซด์

 

            ด้วยความเป็นอันตรายดังกล่าว ดังนั้นทุกครั้งที่ต้องเข้าไปปฎิบัติงานในสถานที่อับอากาศ ต้องมั่นใจว่าเรารู้ หรือมีข้อมูลในสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้

§         วัสดุ/สารที่เป็นอันตรายที่อาจมี หรือ พบ

§         วัสดุ/สารที่เป็นอันตรายที่เคยพบก่อนหน้านี้

§         ความเป็นอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพ

§         ระดับของวัสดุ/สารที่ป็นอันตรายที่อนุญาตให้เข้าไปปฎิบัติงานได้

§         อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่จำเป็นต้องใช้

 

         4.   การถูกดูด/กลืน เข้าไป

ด้วยคุณลักษณะทางกายภาพของสถานที่อับอากาศ ทำให้การถูกดูด/กลืน เข้ไป เป็นอันตรายอย่างหนึ่ง เนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะหายใจไม่ออก หรือหายใจลำบาก โดยการถูกดูด/กลืน เข้าไป อาจเกิดขึ้นจากการถูกของเหลวกระแทกใส่อย่างแรงและรวดเร็ว หรือถูกทับด้วยวัตถุที่เป็นของแข็ง


วัสดุที่อาจทำให้เกิดความป็นอันตรายจากการถูกดูด/กลืน เข้าไป ประกอบด้วย

§         ทราย

§         ซีเมนต์

§         ผงแป้ง

§         เมล็ดข้าว

 

ดังนั้นไม่อนุญาตให้มีการปฎิบัติงานในสถานที่อับอากาศ หากพบว่ามีโอกาสเกิดอันตรายจากการถูดดูด / กลืนเข้าไป ดังกล่าว

 

        5.  สภาวะ/บรรยากาศ ที่ทำให้เกิดการระเบิดหรือการเผาไหม้

                  อัคคีภัย หรือการระเบิดสามารถเกิดขึ้นได้ภายในสถานที่อับอากาศ จากองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง เช่น

§         สารเคมี

§         ผลิตภัณฑ์ปิโตเลียม

§         สารตัวทำละลาย

§         ปริมาณออกซิเจนที่มีมากเกินไป

 
                 
ไอระเหย หรือก๊าซที่เกิดขึ้นภายในสถานที่อับอากาศ มีโอกาสลุกติดไฟได้เนื่องจาก

§         ประกายไฟจากเครื่องจักร

§         การเชื่อม การตัด

§         ไฟฟ้าสถิตย์

§         ควัน หรือ การสูบบุหรี่

§         การเสียดสี


                  ด้วยคุณลักษณะทางกายภาพของสถานที่อับอากาศดังกล่าวข้างต้น ทำให้การเกิดอัคคีภัย หรือการระเบิดทวีความเป็นอันตรายมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก
            การหลบหนี และการช่วยชีวิต จะทำได้ยาก


" การเรียนรู้ถึงอันตรายของงานที่ทำ ก่อนลงมือทำ จะช่วยให้เราทำงานได้อย่างปลอดภัย "


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที