อ.อุดม

ผู้เขียน : อ.อุดม

อัพเดท: 07 ม.ค. 2011 20.09 น. บทความนี้มีผู้ชม: 16966 ครั้ง

หลังจาก ฝ่าวินิจฉัยและให้คำปรึกษาร่วมกับสำนักพัฒนาหน่วยบริการธุรกิจ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สร้างที่ปรึกษาลีนรุ่นแรก เมื่อปี 2550 เริ่มมีการให้คำปรึกษาลีนในปีถัดมา ในขณะเดียวกันก็สร้างที่ปรึกษาลีนรุ่น 2,3,4 เรื่อยมาจนปี 2553 ก็สร้างเพิ่มเติมอีกมาก ทำให้ระบบการผลิตแบบลีนติดตลาด จนผมต้องกลับมานั่งดูผลงานการให้คำปรึกษาที่ได้ตีพิมพ์ออกมาปีแล้วปีเล่า พบความขาดตกบกพร่องหลายประการ จนทนไม่ได้ที่จะต้องกลับมานั่งเขียนอะไรบางอย่างเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ควรจะเป็นอีกครั้งหนึ่ง หลังจากผมหายไปจากการเขียนบทความไปกว่า 2 ปี

มาครั้งนี้ผมเลยขอจั่วหัวว่า Lean J-Model เพื่อสร้างความเข้าใจระบบการผลิตแบบลีนที่เป็นหลักการของ TPS ที่แท้จริง (เพียงแค่พยายามหลบคำพูด TPS) มาติดตามกันตอนต่อตอนกันครับ


Step#0 Preparation

Check Point ที่สำคัญ 1. การดึงผู้บริหารระดับสูงเข้ามามีส่วนร่วม ผู้ประกอบการทุกคนมีความคาดหวังในใจ 3 ประการคือ • ทำของดีๆ (มีคุณภาพ) • ทำของเร็วๆ มากๆ (มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล) • ประหยัดๆ (ต้นทุนต่ำ) ที่ปรึกษาจักต้องเข้าใจ 3 ความคาดหวังนี้ และใช้เงื่อนไขเหล่านี้ใจการทำให้ผู้บริหารเข้ามามีส่วนร่วมให้ได้ เหตุผลที่ผู้บริหารจะต้องเข้ามามีส่วนร่วม • การกำหนดนโยบาย • การกระจายนโยบาย • การจัดโครงสร้าง / ทีม เพื่อกระจายเป้าหมาย • การตรวจติดตามและให้การสนับสนุน • การประเมินผลการปรับปรุง องค์ประกอบเหล่านี้คือบทบาทของผู้บริหาร หากไม่ทำ โครงการไม่คืบหน้า ดังนั้นที่ปรึกษาต้องกำหนดแผนการเข้าให้คำปรึกษาในวันที่เข้าให้คำปรึกษาดังนี้ 09.00-09.30 พูดคุยกับผู้บริหาร เพื่อรับทราบความต้องการในวันนี้ / ซักถามความคืบหน้าว่า ได้ดำเนินการไปถึงไหน 09.30-16.00 อบรม (ตามความจำเป็น) / ติดตามงาน / ลงมือปฏิบัติในโมเดล หรือ ลงมือกับปัญหาที่ผู้บริหารร้องขอ 16.00-16.30 สรุปสิ่งที่ได้ดำเนินการ พร้อมผลลัพธ์ที่ได้ใน 3 มุมมอง o ทำของดีๆ (มีคุณภาพ) o ทำของเร็วๆ มากๆ (มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล) o ประหยัดๆ (ต้นทุนต่ำ) ว่าได้ผลข้อใดบ้าง (หากคิดเป็นมูลค่าได้ให้คิด หากยังคิดไม่ได้ให้รายงานกิจกรรม 2. การสร้างทีมรองรับ ทีมที่สำคัญๆ ประกอบด้วย 3 ทีม คือ 2.1 ทีมระบบ มีบทบาทในการดูแลระบบความเชื่อมโยงของ ผังกระบวนการทางธุรกิจ ทั้งในแง่ ผังการไหลของวัตถุดิบ และ ผังการไหลของข้อมูล เพราะระบบการผลิตแบบลีน จะพูดถึงผังการไหลทั้งสองชนิดมาก โดยเน้น การควบคุมการผลิต / การควบคุมการดำเนินการ (Production Control / Operation Control) 2.2 ทีมผลิต มีหน้าที่ในการนำการปรับปรุงไปใช้งานให้ได้ผล ดังนั้นจึงมีหน้าที่ในการสะท้อนผลการปรับปรุงด้วย โดยการปฏิบัติตามมาตรการใหม่ และเก็บข้อมูลผลการปรับปรุง 2.3 ทีมปรับปรุง มีหน้าที่ในการเป็นผู้นำในการสำรวจ คิดวิธี และลงมือปรับปรุง ร่วมกับฝ่ายผลิต หรือฝ่ายที่เลือกไปดำเนินการ (หากไม่มีทีมนี้ จะทำให้งานไม่คืบหน้า เพราะทีมผลิตมักต้องเร่งการผลิตอยู่แล้ว จึงมีเวลามาทำการปรับปรุงน้อยมาก และจะทำให้ workload ของฝ่ายผลิตมีมากเกินไป งานจึงไม่คืบหน้า)

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที