วิลลี่

ผู้เขียน : วิลลี่

อัพเดท: 08 พ.ย. 2006 03.23 น. บทความนี้มีผู้ชม: 10507 ครั้ง

ถ่ายทอดเรื่องราวจากการไปประเทศญี่ปุ่น


ฮิโรชิม่า ประวัติศาสตร์แสนเจ็บปวดที่ทุกคนอยากลืม

ฮิโรชิม่า  (HIROSHIMA) 
ประวัติศาสตร์โลกอันแสนเจ็บปวดที่ทุกคนอยากลืม แต่ต้องจดจำ

    ครั้งที่สองของการเดินทางมาญี่ปุ่น
   
     การเริ่มต้นงานใหม่ครั้งนี้ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ไม่เคยได้รับมาก่อนในชีวิตการทำงาน เมื่อเริ่มงานบริษัทก็ส่งมาอบรมเลย  ครั้งนี้ผมได้เดินทางมาพักที่เมืองฮิโรชิม่า (HIROSHIMA)  เพื่อมาอบรมเกี่ยวกับเครน(เครนสำหรับยกตู้สินค้าลงเรือสินค้า) กับบริษัท MITSUBISHI HEAVY INDUSTRIAL ซึ่งตั้งอยู่ติดกับทะเลชายฝั่งเมืองฮิโรชิม่า  โดยมาอบรมร่วมกับพนักงานการท่าเรือจิตะกองจากบังคลาเทศ (ทั้งหมด 22
ท่าน)


ถ่ายรูปคู่กับพนักงานการท่าเรือจิตะกองจากบังคลาเทศ ซึ่งประกอบด้วยผู้จัดการท่าเรือ+ฝ่ายวิศวกรรม วิศวกรเครื่องกล+ไฟฟ้า  วิศวกรผู้รับเหมาช่วงดูแลการซ่อมบำรุง และหัวหน้าโอเปอเรเตอร์ผู้ที่ทำหน้าทีขับเครน 


ขอเดี่ยวกับเครนทั้ง 4 ซึ่งจะต้องรับผิดชอบในโอกาสต่อไปหลังจากส่งมอบ

  
  ช่วงที่เดินทางมาถึง เป็นจังหวะที่ 
MITSUBISHI กำลังจะส่งมอบเครนที่สั่งทำโดยท่าเรือมาบตะพุดพอดี  (สีเทาที่ด้านหลังผม)

           การเดินทางครั้งรู้สึกตื่นเต้นพอสมควร เนื่องจากจะได้มีโอกาสมาฝึกอบรมพร้อมกับได้ศึกษาเมืองฮิโรชิม่า ซึ่งเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีของผู้คนจากทุกมุมโลก เนื่องจากเป็นเมืองที่เคยโดนทิ้งระเบิดปรมาณูสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  ซึ่งในสมัยที่เรียนหนังสือก็เคยนั่งท่องจำแบบนกแก้วนกขุนทองเพื่อจะได้ทำข้อสอบได้   ปัจจุบันเมืองนี้ได้กลายเป็นเมืองแห่งสันติภาพและวัฒนธรรมระดับนานาชาติ (International City of Peace and Culture)  สภาพเมืองได้ถูกพัฒนะขึ้นใหม่ บ้านเมืองสวยงาม การจราจรสะดวกสบาย  มีสี่แยกและไฟแดงถี่ยิบซึ่งอาจกล่าวได้ว่ามีสี่แยกและไฟแดงเกือบทุก 150 เมตรโดยประมาณ (แต่ไม่มีรถติดให้เห็น)  ประชาการไม่มาก 1.14 ล้านคนโดยประมาณ ไม่หลงเหลือร่องรอยของความบอบช้ำจากสงครามปรากฏให้เห็น  นอกเสียจากอะตอมมิคบอมบ์ โดม (Atomic Bomb Dome)   ซึ่งทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้เก็บไว้เป็นอนุสรณ์สถานสำหรับเตือนชาวญี่ปุ่นและชาวโลกให้ระลึก มหันต์ภัยอันโหดร้ายของระเบิดนิวเคลียร์  ซึ่งปัจจุบันโดมแห่งนี้ได้ถูกขึ้นทะเบียนไว้เป็นมรดกโลก(World heritage)  และกลายมาสัญลักษณ์ของเมืองฮิโรชิม่า  ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า หากมาที่ฮิโรชิม่าแล้วไม่มาที่โดมแห่งนี้ก็เสมือนกับว่า"มาไม่ถึงฮิโรชิม่า"


รูปภาพ Atomic Bomb Dome สภาพที่สมบูรณ์ ในอดีตก่อนจะโดนทิ้งระเบิดปรมาณู  ใช้สำหรับเป็นสำนักงานประชาสัมพันธ์อุตสาหกรรมของฮิโรชิม่า
 (
industrial Promotion Hall)


สภาพของ Atomic Bomb Dome หลังเมืองฮิโรชิมาโดนทิ้งระเบิดปรมาณู  ซึ่งหากจากตำแหน่งศูนย์กลางระเบิดประมาณ ประมาณ 160 เมตร

 
ถ่ายภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึก


ภาพจำลอง  Atomic Bomb Dome


ภาพจำลอง Atomic Bomb Dome หลังโดนระเบิด


นาฬิกาจากผู้ที่เสียชีวิตแสดงเวลาที่โดนทิ้งระเบิดตอนเช้า 8.15 น.( 6 สิงหาคม 1945)


ภาพจำลองแสดงสภาพความเป็นอยู่ของชาวเมืองฮิโรชิมา ในอดีตก่อนถูกทิ้งระเบิด 

ภาพจำลองแสดง สภาพเมืองฮิโรชิมา หลังโดนทิ้งระเบิด ทุกสิ่งทุกอย่างในรัศมีจากจุดศูนย์กลาง 1.5-2 กิโลเมตร ราบเป็นหน้ากอง

<- ภาพจำลอง
แสดงพิกัดของระเบิดปรมาณูที่ถูกทิ้งจากเครื่องบินด้วยความสูง 600 เมตรโดยประมาณ ห่างจาก Atomic Bomb Dome 160 เมตร ซึ่งแสดงตำแหน่งให้เห็นเป็น รูปเสาสีแดง  ส่วนAtomic Bomb Dome จะอยู่ที่ปลายตำแหน่งของแม่น้ำทั้งสองสายมาบรรจบกันพอดี

<- ส่วนตำแหน่งสีขาวที่เห็นซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับโดมและจุดศูนย์กลางของ ปรมาณู  ในอดีตเคยเป็นหมู่บ้าน  ปัจจุบันสถานที่แห่งนี่ได้จัดทำเป็นสวนแห่งความทรงจำ" เมมโมเรียล พาร์ค "
     
    
ส่วนบริเวณโดยรอบของ
เมมโมเรียล พาร์ค ได้มีการจัดตั้งอนุสาวรีย์และอนุสรณ์สถานต่างๆ เพื่อรำลึกผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของมหัตปรมาณูของชาวเมืองฮิโรชิม่าและชาวต่างชาติ
 Peace Clock Tower
    
 หอนาฬิกาแห่งสันติภาพ  ทุกๆเช้าเวลา 8.15 ก็จะมีเสียงนาฬิกาดังเพื่อเตือนความทรงจำและระลึกถึงเวลาที่เมืองนี้โดนทิ้งระเบิดปรมาณู

Hiroshima Memorial Cenotaph
   อนุสาวรีย์ของเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายจาก  atomic bombing


Hiroshima Peace Memorial Museum 
พิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมเรื่องราวภาพเหตุการณ์รวมถึงสิ่งของต่างๆ ที่เกิดขึ้นก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และเรื่องราวเกี่ยวกับระเบิดปรมาณู


Peace Bell  ระฆังแห่งสันติภาพสำหรับให้ผู้มาเยือนได้ตีบอกกล่าวกับชาวโลกทุกคนว่าเราต้องการสันติภาพ บริเวณรอบจะมีน้ำล้อมรอบและมีเสียงเขียด+อึ่งอ่างร้องบรรเลงให้ได้ฟังกันอยู่ตลอดเวลา

     นอกจากนั้นยังประกอบด้วยสถานที่สำหรับฝังกระดูกและเศษเถ้าถ่านร่างกายชาวฮิโรชิม่าที่รวบรวมได้จากบริเวณโดยรอบและใกล้เคียงนำมาฝังไว้รวมกัน รวมถึงอนุสรณ์สถานของชาวเกาหลีที่พำนักอาศัยและประกอบสัมมาอาชีพช่วงสงคราม , อนุสาวรีย์เด็กชาย-หญิงที่อุทิศตัวเพื่อสันติภาพอย่างถาวรของโลก , รูปปั้นของแม่และเด็กในความวุ่นวาย และ อื่นๆ

พวงมาลัยรูปนกกระเรียนหลากสี
สิ่งของที่นำมาคาราวะอนุสาวรีย์และอนุสรณ์สถานต่างๆ มักจะประกอบด้วยรูปนกกระเรียนเป็นหลัก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพไม่ว่าจะเป็นพวงหรีดหรือพวงมาลัย ทั้งหมดประติดประต่อด้วยนกกระดาษหรือวัสดุที่พับเป็นรูปนกกระเรียน ซึ่งคล้ายกับเหตุการณ์ครั้งหนึ่งที่ภาคไต้ของเราที่ทุกฝ่ายพยายามผนึกกำลังเพื่อทำให้เกิดสันติสุข  แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร  ซึ่งดูเสมือนกับว่าสี่จังหวัดภาคใต้ของไทยเรายังมี..(คน-สัตว์-สิ่งของ)..กลุ่มหนึ่งที่ยังสะกดคำว่าสันติสุขและสันติภาพ ไม่เป็น     


นกกระเรียน(tsuru)สัญลักษณ์ของสันติภาพ

      แค่นี้ก่อนครับ  แล้วพบกันใหม่ในตอนที่ 2


ขอขอบคุณ บทความพิเศษ บันทึกการเดินทางโดย: คุณสุชิน เสือช้อย 
              Webmaster@9engineer.com   3  July  2005

*ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ที่เว็บส.ส.ท. ห้ามนำไปเผยแพร่ต่อที่อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธ์

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที