ขนิษฐา

ผู้เขียน : ขนิษฐา

อัพเดท: 08 พ.ย. 2006 14.03 น. บทความนี้มีผู้ชม: 771292 ครั้ง

เรียนรู้โดยธรรมชาติ จากสิ่งที่ใกล้ตัว นี่แหละคือวิชาเคมี


ปฏิกิริยาการเผาไหม้

ปฏิกิริยาการเผาไหม้

การเผาไหม้เป็นปฏิกิริยาการรวมตัวกันของเชื้อเพลิงกับออกซิเจนอย่างรวดเร็ว พร้อมกับเกิดการลุกไหม้และการคายความร้อน ในการเผาไหม้ส่วนใหญ่จะไม่ใช้ออกซิเจนล้วน ๆ เพราะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากแต่จะใช้อากาศแทน โดยอากาศจะมีแก๊สออกซิเจนและแก๊สไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบหลัก ส่วนแก๊สอื่นมีปะปนอยู่น้อยมา (ในอากาศมีแก๊สออกซิเจนประมาณร้อยละ 21 และแก๊สไนโตเจนร้อยละ 79 โดยปริมาตร หรือแก๊สออกซิเจนประมาณร้อยละ 23 และแก๊สไนโตเจนร้อยละ 77 โดยน้ำหนัก)

เชื้อเพลิงชีวมวลส่วนใหญ่ประกอบด้วยคาร์บอน (C), ไฮโดรเจน (H), ออกซิเจน (O), และธาตุอื่น ๆ ปะปนอยู่บ้างเช่น ไนโตรเจน (N) และกำมะถัน (S) ดังนั้นเมื่อนำเชื้อเพลิงชีวมวลไปเผาไหม้จะเกิดปฏิกิริยาเคมีดังแสดงด้วยสมการต่อไป

2C            +         O2               ®            2CO  + 110380    kJ/kg-mol

2CO        +         O2               ®            2CO2  + 283180   kJ/kg-mol

2H2         +         O2               ®            2H2O  + 286470   kJ/kgmol

S             +         O2               ®            2S2O  + ความร้อน

N             +         O2               ®            2NO 2  + ความร้อน


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที