สร

ผู้เขียน : สร

อัพเดท: 09 พ.ย. 2006 12.07 น. บทความนี้มีผู้ชม: 26875 ครั้ง

ปัจจุบันมนุษย์ทุกคนล้วนต้องพึ่งพาพลังงาน เช่น ตื่นเช้า เปิดวิทยุฟังข่าว หรือบางคนก็เปิดโทรทัศน์ชมรายการข่าวภาคเช้า ซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้พลังงานจากไฟฟ้า
หรือจะต้มน้ำเพื่อดื่มกาแฟ เปิดตู้เย็น เพื่อหาของดื่ม ของกินจากตู้เย็น ตู้เย็นก็ใช้พลังงานไฟฟ้า
จะหุงข้าว ทำกับข้าว อุ่นอาหาร ปิ้งขนมปัง หรือเตรียมอาหารเช้าเพื่อตนเองหรือเพื่อคนในครอบครัว ก็ใช้พลังงาน บางคนใช้เตาไฟฟ้า บางคนใช้เตาแกส
อาบน้ำ บางคนยังติดนิสัยอาบน้ำอุ่น ทั้งๆ ที่อากาศร้อน ก็ต้องใช้เครื่องทำน้ำอุ่น ซึ่งมาจากไฟฟ้า
แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ แชมพู ล้วนผลิตมาจากโรงงานที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการผลิตทั้งสิ้น
เมื่อแต่งตัว เสื่อผ้าที่ท่านสรวมใส่ ก็มาจากการผลิตโดยเครื่องจักรกล ซึ่งต้องใช้พลังงานในการผลิตเช่นกัน


พลังงาน คือ ชีวิต

พลังงาน คือ ชีวิต (Energy is life)

 

ชีวิตที่ต้องพึ่งพาพลังงาน

          ปัจจุบันมนุษย์ทุกคนล้วนต้องพึ่งพาพลังงาน  เช่น  ตื่นเช้า เปิดวิทยุฟังข่าว  หรือบางคนก็เปิดโทรทัศน์ชมรายการข่าวภาคเช้า ซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้พลังงานจากไฟฟ้า

                หรือจะต้มน้ำเพื่อดื่มกาแฟ  เปิดตู้เย็น เพื่อหาของดื่ม ของกินจากตู้เย็น  ตู้เย็นก็ใช้พลังงานไฟฟ้า 

                จะหุงข้าว  ทำกับข้าว  อุ่นอาหาร  ปิ้งขนมปัง  หรือเตรียมอาหารเช้าเพื่อตนเองหรือเพื่อคนในครอบครัว ก็ใช้พลังงาน  บางคนใช้เตาไฟฟ้า  บางคนใช้เตาแกส

                อาบน้ำ บางคนยังติดนิสัยอาบน้ำอุ่น ทั้งๆ ที่อากาศร้อน  ก็ต้องใช้เครื่องทำน้ำอุ่น ซึ่งมาจากไฟฟ้า

                แปรงสีฟัน  ยาสีฟัน  สบู่  แชมพู ล้วนผลิตมาจากโรงงานที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการผลิตทั้งสิ้น

เมื่อแต่งตัว  เสื่อผ้าที่ท่านสรวมใส่  ก็มาจากการผลิตโดยเครื่องจักรกล ซึ่งต้องใช้พลังงานในการผลิตเช่นกัน

 

                ออกจากบ้าน น้อยคนนักที่จะเดินด้วยเท้าเปล่า หรือขี่จักรยานไปทำงาน  ส่วนมากโดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่  ล้วนเดินทางด้วยรถยนต์  ทั้งรถยนต์ส่วนตัวและรถยนต์สาธารณะ  ซึ่งต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิง หรือก๊าซ เป็นพลังงานในการขับเคลื่อนยานพาหนะทั้งสิ้น

                เมื่อถึงที่ทำงาน สำนักงานแทบทุกแห่งในปัจจุบัน  ล้วนติคตั้งเครื่องปรับอากาศ  (Air Conditioned) ทั้งสิ้น  แน่นอนว่าสำนักงานทุกแห่งล้วนใช้พลังงานไฟฟ้า  ซึ่งผลิตมาจากก๊าซ  น้ำมัน และถ่านหิน

 

                ถ้าจะถามว่าแล้วอย่างนี้พลังงานเหล่านี้จะมาหมดไปจากโลกของเราหรือไม่ และเมื่อไร 

๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐

 

                เชื่อว่าทุกท่านคงมีความหวั่นวิตกเหมือนกันว่า ราคาน้ำมัน นับวันจะมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ  โดยเฉพาะนับจากสงครามอิรัก ที่สหรัฐอเมริกา เริ่มถล่มอีรัก เมื่อปี 2545 เป็นต้นมา 

ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ก่อนสงครามอิรัก  (ก่อน ปี 2544)  น้ำมันดิบ ราคาเฉลี่ยบาร์เรลละ  25 เหรียญสหรัฐ

หลังจากนั้นราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยในปีที่แล้ว (2548) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูงถึงบาร์เร็ลละ 67 เหรียญสหรัฐอเมริกา

 

การบริโภคน้ำมันของประชากรโลก (ประมาณ 6,500 ล้านคน)  มีรายละเอียดที่น่าสนใจ  ดังนี้

ปี  พ.ศ.  2529        ประชากรโลกบริโภคน้ำมันรวมกัน  วันละประมาณ   54   ล้านบาร์เรล  

ปี  พ.ศ.  2533        ประชากรโลกบริโภคน้ำมันรวมกัน  วันละประมาณ   66   ล้านบาร์เรล

ปี  พ.ศ.  2546        ประชากรโลกบริโภคน้ำมันรวมกัน  วันละประมาณ   79   ล้านบาร์เรล

ปี  พ.ศ.  2548        ประชากรโลกบริโภคน้ำมันรวมกัน  วันละประมาณ   82   ล้านบาร์เรล

 

ปัจจุบันประชากรโลกของเราบริโภคน้ำมันวันละประมาณ  82-83  ล้านบาร์เรล โดยประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีประชากรอยู่ประมาณ  280  ล้านคน บริโภคน้ำมันต่อหัวมากที่สุด นั่นคือ สหรัฐอเมริกาบริโภคน้ำมันถึง 1 ใน 4 ของการบริโภคน้ำมันของประชากรทั้งโลก เรียกว่าเอาเปรียบทุกชาติในโลกนี้ก็ว่าได้

 

ตัวเลขของน้ำมันโลกทั้งที่ขุดขึ้นมาแล้วและยังไม่ได้ขุดขึ้นมาใช้ในโลกใบนี้  มีรวมกันทั้งสิ้นราว 1 ล้านล้านบาร์เรล หากอัตราการใช้น้ำมันของประชากรโลกเฉลี่ยวันละ 82- 83 ล้านบาร์เรลต่อวันไปตลอดเช่นนี้  รวมทั้งไม่สามารถสำรวจพบแหล่งน้ำมันใหม่ๆ ได้อีก อีกเพียง 35 ปี น้ำมันก็จะหมดโลก แล้วมนุษย์จะอยู่กันได้อย่างไร

 

คราวนี้มาดูกันว่าปัจจุบันประเทศใดบ้างที่บริโภคทรัพยากรน้ำมันมากที่สุด 10 อันดับแรกของโลก

 

อันดับ 1                 ประเทศสหรัฐอเมริกา        บริโภคน้ำมันวันละ ประมาณ   20.7  ล้านบาร์เรล

อันดับ 2                 ประเทศจีน                           บริโภคน้ำมันวันละ ประมาณ    6.5  ล้านบาร์เรล (มีประชากร

                                                                                                                              มากกว่า 1,000 ล้านคน)

อันดับ 3                 ประเทศญี่ปุ่น                       บริโภคน้ำมันวันละ ประมาณ     5.4  ล้านบาร์เรล

อันดับ 4                 ประเทศเยอรมนี                  บริโภคน้ำมันวันละ ประมาณ     2.6  ล้านบาร์เรล

อันดับ 5                 ประเทศรัสเซีย                     บริโภคน้ำมันวันละ ประมาณ     2.6  ล้านบาร์เรล

อันดับ 6                 ประเทศอินเดีย                     บริโภคน้ำมันวันละ ประมาณ     2.3  ล้านบาร์เรล

อันดับ 7                 ประเทศแคนาดา                  บริโภคน้ำมันวันละ ประมาณ     2.3  ล้านบาร์เรล        

อันดับ 8                 ประเทศบราซิล                    บริโภคน้ำมันวันละ ประมาณ     2.1  ล้านบาร์เรล

อันดับ 9                 ประเทศเกาหลีใต้                บริโภคน้ำมันวันละ ประมาณ     2.1  ล้านบาร์เรล

อันดับ 10               ประเทศเม็กซิโก                  บริโภคน้ำมันวันละ ประมาณ     2.0  ล้านบาร์เรล

 

สำหรับประเทศไทย ในปี 2548 สั่งน้ำมันดิบเข้าประเทศเป็นเงินถึง  629,155  ล้านบาท หรือประมาณ 60 % ของงบประมาณแผ่นดินในแต่ละปีทีเดียว ในจำนวนนี้ใช้ไปในกิจการอุตสาหกรรม และการคมนาคม/ขนส่ง  รวมกันถึงร้อยละ 70  ซึ่งนับว่าสูงมาก เพราะฉะนั้นเราจะต้องช่วยกันประหยัดการใช้น้ำมันกันให้มากขึ้นอีก


วันนี้ คุณประหยัดพลังงานแล้วหรือยัง 

 

สร  ปิ่นอักษรสกุล                                                                                          

นักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญ ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที