OmElEt

ผู้เขียน : OmElEt

อัพเดท: 21 พ.ค. 2012 19.07 น. บทความนี้มีผู้ชม: 7108 ครั้ง

โหลดทุกอย่าง ฟรีๆ ง่ายนิดเดียว... ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ Bit Torrent กันก่อนว่ามันคืออะไร?


มารู้จักกับ Bit Torrent..

บิตทอร์เรนต์           

บิตทอร์เรนต์ (อังกฤษ: BitTorrent) เป็นโพรโทคอลรูปแบบ peer-to-peer ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันโดยตรง ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีต้นกำเนิดมาจากความคิดของนายแบรม โคเฮน (Bram Cohen) ที่ต้องการให้การส่งผ่านข้อมูลสามารถอำนวยประโยชน์ได้ทั้งขาเข้าและขาออก ซึ่งเขาเริ่มพัฒนามันขึ้นมาตั้งแต่เดือน เมษายน ค.ศ. 2001

หลักการทำงานของโปรแกรมบิตทอร์เรนต์

เครือข่ายของการใช้โปรแกรมบิตทอร์เรนต์นั้นเป็นลักษณะโยงใยถึงกันหมด ทุกเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรับส่งไฟล์ถึงกันได้ตลอดเวลา ซึ่งทุกเครื่องจะเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้

เมื่อไฟล์เริ่มต้นเผยแพร่มาจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เครื่องอื่นๆ ที่ต้องการไฟล์ (หรือผู้ที่รอโหลดอยู่นั่นเอง) ก็จะค่อยๆ ได้รับชิ้นส่วนไฟล์ไปทีละชิ้นทีละชิ้นแบบสุ่ม เหมือนภาพต่อจิ๊กซอว์

ทันทีที่ได้รับชิ้นส่วนไฟล์มา คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็สามารถส่งต่อชิ้นส่วนไฟล์ที่ได้รับมาแล้วให้ เครื่องอื่นที่ยังไม่มีได้ทันที ไม่ต้องรอให้ตัวเองได้ชิ้นส่วนไฟล์จนครบ 100% เสียก่อน เป็นลักษณะของการเติมเต็มให้กัน ชิ้นส่วนไฟล์ตรงใหนที่ขาดไป สุดท้ายแล้วก็จะได้รับมาจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายใน ที่สุด ด้วยสาเหตุนี้เอง โปรแกรมบิตทอร์เรนต์จึงสามารถทำให้การส่งผ่านข้อมูลสามารถอำนวยประโยชน์ได้ ทั้งขาเข้าและขาออก

การใช้งาน

ก่อนการใช้งานต้องมีโปรแกรมที่เรียกว่า ทอร์เร็นต์ไคลเอนต์ก่อน หลังจากนั้นจึงจะสามารถไปดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บไซต์บิตทอร์เรนต์ต่างๆ ได้ โดยในปัจจุบันเว็บไซต์บิตทอร์เรนต์ มี 2 ประเภท คือ บิตทอร์เรนต์เปิด และ บิตทอร์เรนต์ปิด

 

ในภาพนี้, แถบสีภายใต้เครื่องลูกข่ายทั้ง หมดแสดงถึงชิ้นส่วนของไฟล์ หลังจากชิ้นส่วนของไฟล์ได้ถูกส่งจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งแล้วไปยังอีก เครื่องแล้ว ชิ้นส่วนไฟล์นั้นก็จะถูกส่งต่อไปเรื่อยๆ จนครบทุกเครื่อง ดังนั้นผู้ส่งไฟล์ต้นฉบับมีหน้าที่เพียงส่งสำเนาของไฟล์เพียงฉบับเดียวเพื่อ ให้เครื่องลูกข่ายได้รับสำเนาของไฟล์ทั้งหมด

 

 

เครือข่ายของบิตทอร์เรนต์นั้นมีลักษณะโยงใยถึงกันหมด มีแทรคเกอร์ (tracker) ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเก็บข้อมูลและสถิติต่างๆ ของผู้ร่วมใช้งาน, เสมือนประธานผู้ควบคุมการประชุม อย่างไรก็ตาม โปรแกรมบิททอร์เรนท์บางแบบ ไม่จำเป็นต้องมีแทรคเกอร์

 

รายชื่อทอร์เร็นต์ไคลเอนต์

โปรแกรมทอร์เร็นต์ไคลเอนต์มีอยู่มากมายหลายโปรแกรมหลายแพลตฟอร์มดังนี้

อ้างอิง

th.wikipedia.org


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที