อ.อุดม

ผู้เขียน : อ.อุดม

อัพเดท: 21 พ.ค. 2007 15.00 น. บทความนี้มีผู้ชม: 125555 ครั้ง

สรุปโรคร้ายในภาคอุตสาหกรรมไทย จากประสบการณ์การให้คำปรึกษา


โรค "อยากได้ แต่ไม่อยากทำ"

ผมมีโอกาสไปให้คำปรึกษาบริษัทแห่งหนึ่ง อยู่แถวๆบางขุนเทียน ที่บริษัทแห่งนี้ได้เข้าโครงการให้คำปรึกษา TQM แต่เริ่มต้นด้วย การดำเนินการ 5 ส ก่อน (เหมือนแผนดำเนินการที่เคยให้ไว้ดู)

ผมเริ่ม 5 ส. ด้วยการ สร้าง Manager Model Area ก็เป็นการจับเอาระดับหัวหน้างาน ผู้จัดการ แม้กระทั้งบุตรชายเจ้าของซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูง ลงมาทำ Manager Model Area ใช้เวลาในการปรับปรุงพื้นที่ 5 ส สามเดือน คือ

เดือนแรกให้ทำ Big Clean กำหนด Layout ใหม่ ขีดสีตีเส้น ทำลูกศรการจราจร การกำหนดที่วาง และ เวรทำความสะอาด

เดือนที่สอง ให้แนวทางไคเซ็นเพื่อเข้าไปดูบริเวณที่เป็นแหล่งกำเนิดความสกปรก โดยมีแนวทางให้ป้องกันการกระจาย และอื่นๆอีกห้า-หกแนวทาง

เดือนที่สาม ให้พาหัวหน้ากลุ่มย่อย 5 ส ไปดูงานพื้นที่ตัวอย่าง แล้วให้มีการอบรมทั่วทั้งบริษัท และเริ่มทำ Big Clean และให้กลุ่มย่อยเริ่มลงมือทำการปรับปรุงพื้นที่ แต่คำพูดที่ผู้บริหารเล่าให้ฟังคือ มีพนักงานหลายคนพูดว่า


"เอ้อ!!! แบบนี้แหละที่อยากได้ พี่ช่วยไปทำให้หน่อย" อ้าว ไหงเป็นอย่างนี้ล่ะเนี่ยะ

คนไทยหลายคนเป็นแบบนี้ครับ คือชอบความสะบาย โดยหวังพึ่งคนอื่น ไม่คิดสบายด้วยการลดความยากลำบากด้วยตัวเอง หวังอยากได้ 5 ส แต่ไม่อยากลงมือ "กลัวเหนื่อย"

ดีที่ผู้บริหารระดับสูงได้เตือนสติ ว่า อยากได้น่ะต้องไปทำเอง เพราะถ้าไปทำให้สักพักก็กลับที่เดิม ถ้าลงมือเอง รู้ความยากลำบากเอง ก็จะรู้วิธีรักษาให้คงสภาพไว้

ผมเลยกล่าวขอบคุณผู้บริหารที่ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง ไม่พาเข้าป่า และทำให้พนักงานรู้จักการพึ่งตนเอง

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที