ณัฐกานต์

ผู้เขียน : ณัฐกานต์

อัพเดท: 14 ก.ค. 2012 21.04 น. บทความนี้มีผู้ชม: 22182 ครั้ง

ในการบริหารจัดการต้องมีการเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์เช่นสถานณ์การภัยคุกคามต่างๆเพื่อให้การบริหารนั้นดำเนินต่อไปอย่างราบรื่น


7 บุคลิกภาพของผู้นำ

7 บุคลิกภาพของผู้นำ

1.ผู้นำประเภท “นักฉวยโอกาส”(Opportunist)

ผู้นำประเภทนี้จะยืดถือความคิดตัวเองเป็นใหญ่  จิตใจคับแคบ ไม่ไว้ใจใคร มองโลกในแง่ร้าย บ้าอำนาจสามารถทำได้ทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่งการยอมรับ  และผลประโยชน์ มองเพื่อนร่วมงานลูกน้องและลูกค้าเป็นเสมือนเครื่องมือเพื่อหาประโยชน์ใส่ตัวอยู่ตลอดเวลา

2.ผู้นำประเภท “นักการทูต”(Diplomat)

ผู้นำประเภทนี้มักเป็นที่รักของลูกน้องและเจ้านาย เพราะกลุ่มนี้จะชอบสร้างภาพให้ตัวเองเป็นที่รักอยู่ตลอดเวลา ดูผิวเผินอาจจะเป็นสิ่งดี แต่ในความเป็นจริงการไม่ตำหนิติเตียน หรือวิพากษ์วิจารณ์ใครเลยจะทำให้องค์การไม่มีการพัฒนา

3. ผู้นำประเภท “ชำนาญการ” (Expert)

ผู้นำประเภทนี้จะใช้ความรู้ในงานที่ตนเองรับผิดชอบทำให้ผู้อื่นยอมรับ ชอบใฝ่หาข้อมูลใส่ตัวให้มากที่สุดเพื่อแสวงว่าตนนั้นอยู่เหนือผู้อื่น ทำให้บ่อยครั้งเกิดการทะเลาะกับเจ้านาย หรือเพื่อนร่วมงานที่ไม่มีความรู้ความเชียวชาญในเรื่องนั้นๆ

4. ผู้นำประเภท “จัดการ” (Achiever)

ผู้นำประเภทนี้สามารถทำงานทุกอย่างลุล่วงไปได้ด้วยดีตามระยะเวลาที่กำหนด รับฟังความคิดเห็นรู้จักการประนีประนอม และมีมนุษยสัมพันธ์ดี แต่อาจไม่ค่อยมีวิสัยทัศน์ ไม่กล้าคิดนอกกรอบ ไม่ค่อยมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จะทำเฉพาะสิ่งที่ได้รับมอบหมาย

5.ผู้นำประเภท “ข้าแน่คนเดียว” (Individualist)

ผู้นำประเภทนี้มีความคล้ายคลึงกับกลุ่ม “ผู้นำชำนาญการ(Expert)”คือ ชอบทำงานคนเดียว แต่จะมองโลกสองด้าน รู้จักแยกแยะข้อมูลทางทฤษฎีกับการนำไปปฏิบัติจริงว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ หรือมีข้อจำกัดอะไรบ้าง รู้จักวิเคราะห์และไตร่ตรอง กล้าคิดและเสนอที่แตกต่างเต็มไปด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีความรู้ความสามารถ และต้องการผลักดันให้องค์การมีความเจริญก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง แต่กลับไม่รู้จักการยืดหยุ่นหรือประนีประนอม และพร้อมที่จะสู้ตายเพื่อพิสูจน์ว่าความคิดของตนเองนั้นถูกต้อง

6.ผู้นำประเภท “นักยุทธศาสตร์” (Strategist)

ผู้นำประเภทนี้จะมีความรู้ความสามารถมากมองเห็นภาพรวมทั้งหมดขององค์กร รู้ว่าสิ่งไหนทำได้หรือทำไม่ได้ หรือยังขาดทรัพยากรใดบ้าง มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล สามารถสร้างความรักและศรัทธาจากลูกน้องและผู้ร่วมงานได้ ยืดเอาผลประโยชน์ขององค์การเป็นหลัก รับความขัดแย้งได้ทุกรูปแบบ มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้องค์การมีความเจริญก้าวหน้า และมีคุณธรรมไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ขององค์การแต่เพียงฝ่ายเดียว

7.ผู้นำประเภท “นักสร้างสรรค์พัฒนา”(Alchemist)

ผู้นำประเภทนี้พร้อมจะพัฒนาตนเองและพัฒนาองค์การอยู่ตลอดเวลา ซึ่งคล้ายกับ “กลุ่มนักยุทธศาสตร์” (Strategist) แต่แตกต่างกันตรงที่นักยุทธศาสตร์นั้น จะมองภาพรวมทั้งหมดและจัดการทุกอย่างได้อย่างไม่มีที่ติ แต่นักสร้างสรรค์พัฒนานั้นนอกจากจะบริหารงานได้อย่างดีเยี่ยมแล้วยังสามารถริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่เหนือความคาดหมายได้อีกด้วย

อ้างอิงจาก
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  "บริหารจัดการในภาวะวิกฤต" วารสาร Industry Focus ปีที่1 ฉบับที่004 ธันวาคม 2554

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที