TPA Magazine

ผู้เขียน : TPA Magazine

อัพเดท: 28 พ.ย. 2006 09.59 น. บทความนี้มีผู้ชม: 69484 ครั้ง

ฉบับนี้นำเสนอเรื่องความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทดสอบของโรงงา่นต่าง ๆ ว่าจะมีวิธีการปฏบัติอย่างไรบ้าง และข้อกำหนดในเรื่องความปลอดภัย ของห้องปฏิบัติการเพื่อป้องกันหรือแก้ไขสิ่งที่จะเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ ที่เรียกว่า รู้เท่าไม่ถึงการณ์


ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี

ฉบับนี้นำเสนอเรื่องความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทดสอบของโรงงา่นต่าง ๆ ว่าจะมีวิธีการปฏบัติอย่างไรบ้าง และข้อกำหนดในเรื่องความปลอดภัย ของห้องปฏิบัติการเพื่อป้องกันหรือแก้ไขสิ่งที่จะเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ ที่เรียกว่า รู้เท่าไม่ถึงการณ์หมายความว่าการเกิดปัญหาขึ้นโดยไม่รู้ว่า จะเกิดความไ่ปลอดภัยหรือเสียหาย ส่วนใหญ่จะเกิดกับบุคคลที่ไม่มีประสบการณ์เฉพาะงานแล้วไปดำเนินการในเรื่องนั้น และไม่ทราบถึงความรุนแรงว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่ก่อความเสียหายหรือไม่ ดังนั้น จึงนำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟังเพื่อป้องกันและเพิ่มความระมัดระวังในที่ทำงาน หรือผู้ที่เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในจุดทำงานที่ทำให้เกิดความเสี่ยง
 
     ในข้อกำหนดทั่วไปในเรื่องของความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทั่วไป จะเป็นข้อกำหนดพื้นฐานที่เรา ๆ ได้เรียนหรือฝึกอบรมมาแล้ว รวมถึงมีข้อกำหนดในระบบคุณภาพต่าง ๆ แต่จะขอกล่าวเฉพาะในเรื่องของสารเคมี
 
      ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี มีข้อกำหนดที่ใช้กันอยู่ทั่วไปหรือเป็นข้อปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
 
     1. เก็บหรือสะสมสารเคมีที่เกิดระเบิดได้ง่ายให้น้อยที่สุดและเท่าที่จำเป็น โดยต้องกำหนดการใช้หรือการเก็บรักษาและข้อกำหนดในเรื่องของการป้องกัน การระเบิดอย่างไรบ้าง แะลเรื่องของการเคลื่อนย้าย การนำไปใช้ โดยต้องมีเอกสารในเรื่องความปลอดภัยหรือการเกิดพิษที่ทำให้เกิดอันตราย กับผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ปฏิบัติงานแนบมาด้วย
 
     2. สารเคมีทุกตัวที่นำมาใช้ต้องมีการระบุข้อควรระวัง เรื่องความปลอดภัย และความเป็นพิษมากน้อยต่อมนุษย์ในเอกสารที่เรียกว่า Material Safety Data Sheet: MSDS ซึ่งเอกสารนี้จะระบุเรื่องความเป็นพิษมากน้อยของสารเคมีแต่ละตัว ซึ่งทั่วไปแล้วสารเคมีทุกตัวต้องมีเอกสารนี้แนบด้วย
 
     3. การใช้สารเคมีที่มีไอระเหยควรเตรียมอยู่ในควัน และมีอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมในการสัมผัสกับผิวหนัง หรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน
 
     4. มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อเกิดการสัมผัสของสารเคมี เช่น มีอุปกรณ์ล้างตา ยาที่ใช้เบื้องต้นเวลาเกิดเหตุ
 
     5. มีการทำข้อบ่งชี้ของสารเคมีแต่ละประเภทในการใช้ให้ชัดเจน หรือแบ่งจำพวกสารเคมีตามข้อกำหนดความปลอดภัยสากล และสถานที่เก็บสารเคมีต้องมีการระบายอากาศได้ดี หรือมีตู้เก็บที่มีคุณภาพ สามารถป้องกันการลั่นไหลของสารเคมี นอกจากนี้ ยังต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ ต้องมีสถานที่แยกเก็บที่เหมาะสม
 
     6. อุปกรณ์ที่ระบายอากาศ หรือดูดไอของตู้ควัน ต้องมีเครื่องป้องกันกรองไออีกชั้น เพื่อป้องกันการทำลายสภาวะแวดล้อมภายนอกและสิ่งมีชีวิตภายนอก
 
     7. ไม่ควรรับประทานอาหารหรือสูบบุหรี่ในห้องปฏิบัติการหรือสถานที่เก็บสารเคมี นอกจากนี้เวลาเลิกทำงานควรล้างมือทุกครั้ง เพื่อป้องกันสารเคมีปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย
 
     8. อุปกรณ์เครื่องแก้วควรแยกเก็บจากสารเคมี เพราะว่าสารเคมีบางตัวสามารถทำลายเนื้อของแก้วได้ ทำให้เกิดความเสียหายต่อประสิทธิภาพของเครื่องแก้ว ที่นำมาเป็นส่วนประกอบของมาตรฐานในเรื่องของการใช้เครื่องแก้ว มาวิเคราะห์หาปริมาณจะเกิคดวามเสียหาย และเพิ่มค่าสิ้นเปลืองในการตรวจสอบ หรือสอบเทียบใหม่
 
     9. ต้องมีการแสดงสัญลักณณ์ระบุสถานที่เก็บสารเคมีตามมาตรฐานความปลอดภัย เพื่อบ่งชี้ให้ผู้ปฏิบัติงานป้องกันและหาอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม ในการเข้าไปปฏิบัติงาน ณ จุดทำงานนั้น ๆ
 
     10. ต้องมีการรักษาความสะอาดสถานที่เก็บอยู่สม่ำเสมอ และมีการจัดเรียงเป็นหมวดหมู่ เป็นระเบียบง่ายต่อการหยิบใช้หรือเคลื่อนย้าย
 
     11. ต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิงเบื้องต้น เช่น ถังดับเพลิง เป็นต้น
 
     12. ถ้าต้องเคลื่อนย้ายของสารเคมีปริมาณมาก ควรมีอุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนย้าย เช่น ตะกร้า หรือรถเข็น เป็นต้น
 
 
     การกำจัดของเสียของสารเคมีที่ใช้แล้ว (อ้างอิงจาก : คู่มือการปฏิบัติการวิเคราะห์ ; รศ. พรพิมล ม่วงไทย) การกำจัดของเสียของสารเคมีผู้ปฏิบัติงาน ต้องรู้ถึงสภาวะอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ที่ปฏิบัติ ซึ่งควรศึกษา และพิจารณาคุณสมบัติเฉพาะของสารเคมีว่าตัวใดมีคุณสมบัติอย่างไร เพราะสารบางตัวสมารถทำปฏิกิริยากันแล้วอาจเกิดระเบิดขึ้นได้ ดังตารางต่อไปนี้
 
     จากตารางเป็นการบอกว่าถ้านำสารเคมีข้างซ้ายมาผสมข้างขวาก็จะเกิดปฏิกิริยา ทำให้มีการระเบิดแน่นอนเพราะเป็นการช่วยให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่รุนแรง ทำให้มีอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ดังจะเห็นจากข่าวของโรงงานอบลำไย ทางภาคเหนือของไทยที่ระเบิดเป็นจุล สาเหตุเกิดจาผู้ปฏิบัติงาน หรือรับผิดชอบนั้นขาดความรู้และไม่ได้รับการฝึกอบรมให้เกิดความชำนาญ ในเรื่องของสารเคมี และการเก็บ รวมถึงความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ว่าถ้านำสารเคมีชนิดที่ทำให้เกิดปฏิกิริยากันจะทำให้เกิดระเบิดขึ้น คนเราส่วนใหญ่จะคิดเฉพาะผลได้เท่านั้นว่า ถ้าเราสำรองสารเคมี ไว้เพื่อผลิตพืชผลมาก ๆ จะลดต้นทุนได้และสามารถเก็บไว้ใช้ในยามขาดแคลน ไม่ต้องเสียค่าขนส่งบ่อย ๆ แต่ไม่ได้คำนึงความปลอดภัยหรือผลร้ายแรง ที่เกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งมีผลกับชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งพอย้อนกลับมา ผลที่เกิดไม่คุ้มกับสิ่งที่สูญเสียไปที่เรียกว่า ได้ไม่คุ้มเสีย
 
     ดังนั้น ขอฝากกับผู้ประกอบการด้านโรงงานที่ใช้สารเคมีหลาย ๆ ชนิด และต้องนำมาเก็บรวบรวมเพื่อใช้ผลิตสินค้า ควรจะมีการประมาณความเสี่ยง ในเรื่องของความปลอดภัยด้วย และนักปฏิบัติการทางด้านเคมี ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและควรศึกษาว่าอะไรที่ทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้บ้า่ง ซึ่งบางอย่างที่เป็นจุดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็สามารถทำให้เกิดเรื่องรุนแรงภายหลังได้ ดังนั้น จึงควรมอบหมายหรือดำเนินการฝึกอบรมพนักงานที่ไม่มีความรู้เฉพาะทางด้านเคมี ให้มีความสามารถ เพื่อดำเนินการในจุดงานที่มีความเสี่ยง และสามารถทำให้เกิดความปลอดภัย
 
     นอกจากนี้ ควรทำข้อบ่งชี้หรือสัญลักษณ์แสดงให้ทราบถึงอันตรายต่าง ๆ ทุกจุดทำงาน และทางที่ดีควรมีผู้ที่มีความรู้เรื่องทางเคมีควบคุมดูแล และตรวจตราอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง จะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน กระทรวงจะประกาศกฏหมายในเรื่องความปลอดภัยในโรงงานอุตสหกรรม และต้องมีการฝึกซ้อมปฏิบัติในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินของผู้ปฏิบัติงาน จะเห็นได้ว่าในโรงงานจะมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยอยู่ หรือที่เรียกว่า จป นอกจากนี้ ยังมีการระบุมาตรฐานในเรื่องความปลอดภัยและการประมาณความเสี่ยง ของจุดอันตรายของผู้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่เรียกว่า ISO 14000 ถ้าเกิดมีผลกรัทบกับสิ่งแวดล้อม
 
     สรุปว่า การกำเนิดมาตรฐานประเภทต่าง ๆ มีจุดประสงค์เพื่อผู้ปฏิบัติงาน มีความปลอดภัยสูงสุดดทั้งสิ้น และเป็นกระบวนการเพื่อรักษาสมดุลของชีวิต การทำงานในสถานประกอบการที่มีการปฏิบัติที่ดี และมีระบบความปลอดภัยสูงสุดต่อการทำงานและป้องกันทรัพย์สินเสียหาย รวมถึงต้องมีอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมในจุดที่มีความเสี่ยงนั้น ๆ ในการปฏิบัติงาน
 
     ฉบับนี้ถึงจะเป็นการกล่าวในเรื่องพื้น ๆ แต่ก็ให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย และความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินในการใช้สารเคมี ซึ่งบางครั้งเราหาอะไรมาทดแทนไม่ได้เมื่อเกิดความสูญเสีย


โดย : จิราพร ศรีหุ่น (ที่ปรึกษาระบบบริหาร)
ขอขอบคุณ : วารสาร For Quality

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที