Nu_Petch

ผู้เขียน : Nu_Petch

อัพเดท: 16 ส.ค. 2012 09.38 น. บทความนี้มีผู้ชม: 34160 ครั้ง

จากสภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน อุตสาหกรรมการผลิตขนาดต่าง ๆ จำเป็นต้องปรับปรุงกระบวนการผลิต มีการนำเทโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิต เพื่อความอยู่รอดของบริษัท และต้องต่อสู้กับบริษัทคู่แข่งในท้องตลาดหลายบริษัท สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่จะให้ความต้องการดังกล่าวไปตาม เป้าหมายก็คือ การบริหารการผลิต ที่จะทำให้การผลิตดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้ได้คุณภาพได้ปริมาณตามความต้องการ โดยมีค่าใช้จ่ายน้อยและได้กำไรมาก


ความสำคัญของการบริหารการผลิต

วงการอุตสาหกรรมในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิตแทนการผลิตด้วยมือ  ปริมาณผลผลิตจึงมีปริมาณมากในเวลาไม่มากนัก  จึงทำให้การบริหารการผลิตเกิดความยุ่งยากซับซ้อน  นักบริหารอุตสาหกรรมจึงได้มีการจัดระบบการบริหารงานผลิตในลักษณะต่าง ๆ ขึ้นมา  ดังนี้  (ธีรวุฒิ  บุณยโสภณ  และวีรพงษ์, 2537 : 56-57)

  1.  การผลิตเปลี่ยนมาเป็นการผลิตด้วยเครื่องจักร (Machanization)
  2. ผลิตได้จำนวนมาก ๆ (Mass Products)
  3. จัดระบบมาตราฐานการผลิต (Standardization)
  4. การจัดช่างชำนาญเฉพาะงาน (Specialization)
  5. การผลิตด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ (Automation)
  6. การวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Research and Development)

 

  1. การผลิตเปลี่ยนมาเป็นการผลิตด้วยเครื่องจักร (Machanization) ในช่วงเริ่มต้นของการผลิตผลิตภัณฑ์ได้เกิดจากการทำด้วยมือซึ่งการทำด้วยมือจะทำให้ได้ผลผลิตปริมาณต่ำ  และคุณภาพไม่ได้มาตราฐาน  จึงได้มีการเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรช่วยในการผลิต  ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีมาตราฐาน  และได้ปริมาณที่มาขึ้นในระยะเวลาที่กำหนด
  2. ผลิตได้จำนวนมาก ๆ (Mass Products)  การผลิตสินค้าในปัจจุบัน  มุ่งผลิตสินค้าให้ได้ปริมณมาก ๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิตต่อขึ้นลง

3.           จัดระบบมาตราฐานการผลิต (Standardization)  คือการกำหนดแบบแผนวิธีการทำงานด้านการผลิตเอาไว้ทุกขั้นตอน  และคอยควบคุมดูแลให้การผลิต  ดำเนินไปตามแบบแผนที่วางเอาไว้  เช่น

กำหนด  มาตราฐานวัตถุดิบ  กำหนดมาตราฐานของอุปกรณ์  มาตราฐานของเครื่องจักร  มาตราฐานการทำงานของระบบเป็นต้น

 

 

  1. การจัดช่างชำนาญเฉพาะงาน (Specialization)  ปัจจุบันการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีการจัดระบบการผลิตแบบการผลิตให้ได้จำนวนสินค้าทีละมาก ๆ (Mass Products) ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย (High Technology) โดยให้วัตถุดิบ (Meterial) เคลื่อนเข้าสู่สายการผลิตแต่ละหน่อยผลิตด้วยตัวของมันเองจนไปถึงหน่วยผลิตสุดท้ายและออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป  ส่วนคนงานก้อมีหน้าที่กำกับดูแลเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตเพื่อปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักนั้น ๆ

งานลักษณะนี้  จะทำให้งานของคนงานแคบลง  บางครั้งคนงานอาจจะต้องดูแลเครื่องจักรเครื่องเดียว  ทำหน้าทีผลิตสินค้าหรือวัตถุดิบแบบเดียวตลอดไป  ก็อาจจะทำให้เกิดผลเสียของการทำงานในระบบนี้  คือ  จะทำให้คนงานเกิดความเบื่อหน่ายต่องานที่จะต้องทำจำเจอยู่กับงานลักษณะเดิมทุกวัน

  1. การผลิตด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ (Automation) เป็นการนำเครื่องจักรอัตโนมัติมาใช้ในกระบวนการผลิตแทนแรงงาน  การผลิตแบบนี้จะเป็นการผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Production
  2.  
  3. การวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Research and Development) สินค้าประเภทเดียวกันที่ออกสู่ตลาดในปัจจุบันมีปริมาณมากขึ้นและมีหลายบริษัทที่ผลิตจำหน่าย  การแข่งขันการจำหน่ายในตลาดก็เข้มข้นมากขึ้น  การวิจัยและพัฒนาสินค้า  ก็เป็นส่วนที่มีความสำคัญที่จะช่วยให้  สินค้าติดตลาดหรือพยุงสินค้าให้อยู่ได้ในตลาด  ผลของการวิจัยนำมาเป็นส่วนในการปรับปรุงสินค้าที่เป็นสีสรร  กลิ่น  รูปลักษณ์  ราคา  ในการออกสินค้าใหม่  หรือใช้ปรับปรุงสินค้าเก่าที่จำหน่ายอยู่แล้วในตลาด  เป็นต้น  เพื่อจะเอาชนะคู่แข่งของบริษัทอื่น ๆ ที่เป็นคู่แข่งในท้องตลาดที่เป็นสินค้าประเภทเดียวกัน  นอกจากนี้การโฆษณาก็เป็นหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มยอดการจำหน่ายได้

นอกจากทางที่กล่าวมาข้างต้น  ความสำคัญของการบริหารการผลิตก็คือการหาวิธีช่วยให้การผลิต  มีความสะดวก  มีประสิทธิภาพ  โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้ปริมาณในเวลาที่ต้องการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดแต่กำไรได้มาก

 

 

อ้างอิงจาก

(ธีรวุฒิ บุณยโสภณ และวีรพงษ์, 2537 : 56-57)


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที