TPA Magazine

ผู้เขียน : TPA Magazine

อัพเดท: 28 พ.ย. 2006 09.59 น. บทความนี้มีผู้ชม: 23800 ครั้ง

คำพูดที่ว่า ปรับตัวก่อน ได้เปรียบ ยังคงใช้ได้ดีจนกระทั่งทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโลก ธุรกิจในปัจจุบันก้าวเข้าสู่ยุคการค้าเสรี การแข่งขันทางการค้ามีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ


ตอนที่ 2 (ตอนจบ)

หลักการทั่วไปของการสอบเทียบ
โดยทั่วไป การวัด แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
 
     1. การวัดทางด้านฟิสิกส์หรือการวัดลักษณะื่ทางกายภาพ เช่น เวลา ความยาว อุณหภูมิ และมวล เป็นต้น
 
     2. การวิเคราะห์ทดสอบทางด้านเคมี ชีววิทยาและสิ่งแวดล้อม เพื่อตรวจหาปริมาณของสารละลายต่าง ๆ ในผลิตภัณฑ์
 
     การสอบเทียบอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการวัดทั้งทางด้านฟิสิกส์และการวิเคราะห์ ทดสอบทางด้านเคมี ชีววิทยา และสิ่งแวดล้อม จะมีความแตกต่างกัน ผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องเข้าใจในคุณลักษณะของอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้งานควบคู่ไปด้วย เพื่อให้การสอบเทียบมีประสิทธิภาพสูงสุด กล่าวคือ
 
  • อุปกรณ์และเครื่องมือวัดทางฟิสิกส์ (measuring instrument) เช่น เครื่องช่าง โวลต์มิเตอร์ เวอร์เนียร์เทอร์โมมิเตอร์ เกจวัดความดัน เป็นต้น การสอบเทียบเครื่องมือวัดประเภทนี้ จึงสามารถทำได้โดยผ่านระบบการสอบเทียบ และอาศัยตัวมาตรฐานการวัดที่ำำได้จัดทำมาเพื่อการสอบเทียบของห้องปฏิบัติการ ในระดับต่าง ๆ ที่สามารถสอบกลับได้สู่มาตรฐานแห่งชาติหรือหน่วยมูลฐาน (SI Units) เช่่น เครื่องมือวัดประเภทเวอร์เนียร์จะต้องสอบเทียบโดยเกจบล็อก เครื่องชั่งสอบเทียบโดยใช้ตุ้มน้ำหนัก เป็นต้น
 
  • อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ทดสอบ เป็นอุปกรณ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ ตรวจหาคุณสมบัติของสารละลายอย่างใดอย่างหนึ่ง การสอบเทียบอุปกรณ์เหล่านี้ ส่วนใหญ่ต้องอาศัยวัสดุอ้างอิง (reference materials) หรือวัสดุอ้่างอิง ที่ได้รับการรับรอง (certified referrence materials) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสมบัติเฉพาะของเครื่องวิเคราำะห์ทดสอบ
 
นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดอื่น ๆ ที่ผู้ใช้งานควรคำนึงถึง ได้แก่
 
  • ควรมีการกำหนดช่วงระยะเวลาสำหรับการบำรุงรักษา ทั้งการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน และการบำรุงรักษาเชิงแก้ไข
 
  • ควรจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวัด ได้แ่ก่ บันทึกเครื่องมือ วิธีการวัด การสอบเทียบที่สามารถยืีนยันการวัดว่าถูกต้องและสามารถสอบกลับได้สู่มาตรฐาน การวัดแห่งชาติหรือหน่วยมูลฐาน (SI Units) เนื่องจากเอกสารเหล่านี้ จะเป็นประจักษ์พยานของการปฏิบัติงาน ซึ่งทำให้ทั้วผู้บริหารขององค์กร ลูกค้าและองค์กรให้การรับรองต่าง ๆ มีความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ทั้งที่เกิดมาแล้วในอดีตจนถึงปัจจุบัน และต่อเนื่องไปในอนาคต
 
  • การสอบเทียบเครื่องมือจะ้ต้องทำทั้งก่อนนำมาติดตั้งใช้งาน และเป็นช่วงระยะเวลา เช่น ทุก 6 เดือนหรือ 1 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ลักษณะของการใช้งาน การบำรุงรักษา และสมบัติเฉพาะของเครื่ิองมือ เป็นต้น และควรเลือกใช้บริการจากห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้รับการรับรองความสามารถ (accredit) ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025
 
  • แม้จะมีการสอบเทียบเครื่องมือแล้ว ผลการวัดก็ยังมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นเสมอ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ใช้งานจะต้องคำนึงถึงอยู่ตลอดเวลา คือระบบการวัดจะต้องมีึความถูกต้องมากกว่าความถูกต้องที่ต้องการของผลิตภัณ ที่นำมาวัด ตั้งแต่ 3 เท่าขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ผลิต ที่จะหาจุดสมดุลระหว่างความเสี่ยงที่ผลิตภัณฑ์จะไม่เป็นไปตามข้อกำหนด กับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
 
ประโยชน์ที่จะำได้รับ
     การสอบเทียบเึครื่องมือวัดที่เหมาะสมจะสร้่างความมั่นใจว่า ผลิตภัณฑ์และบริการได้ตามคุณภาพที่กำหนด ซึ่งกล่าวโดยสรุป การสอบเทียบมีประโยชน์ ดังต่อไปนี้
 
     เพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ ในทุกกระบวนการหรือขั้นตอนการผลิตจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการวัด ไม่ว่าจะเป็นการวัดอุณหภูมิ การวัดน้ำหนีก การวัดความยาว การวัดสมบัติเฉพาะทางไฟ้ฟ้า หรือการวัดอื่น ๆ เครื่องมืิอวัดและตรวจวิเคราะห์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตเหล่านี้ จึงถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วย ให้การผลิตมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่ิอผลการที่้เกิดจาก เครื่ิองมือวัดและตรวจวิเคราะห์แสดงผลได้ถูกต้องและแม่นยำย่อมสนับสนุนให้การผลิตภัณฑ์ มีความถูกต้อง สอดคล้องกับมาตรฐานทีกำหนดไว้ รวมทั้งช่วยให้กระบวนการตัดสินใจรับ หรือไม่รับผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
     ใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม กระบวนการสอบเทียบยังเป็นกระบวนการที่ช่วยบ่งบอก ถึงความคลา้ดเคลื่อนของเครื่องมือวัดที่ใช้ในงาน โดยทำกานเปรียบเทียบกับมาตรฐานการวัด (reference standards equipment) ที่รู้ค่าความถูกต้องแน่นอน ผลการเปรียบเทียบที่เกิดขึ้นจะเป็นปัจจัยสำคัญและมีความเกี่ยวข้่องกับการกำหนดค่า ความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือวัด โดยผลการวัดที่ถูกต้องจะช่วยให้การปรับแ้ก้ไข กระบวนการผลิต เพื่อการชดเชยความบกพร่องของผลิตภัณฑ์เป็นไปอย่างถูกต้อง ทำให้ของเสียลดลงหรือแทบไม่มีเลย ซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่นั้น เกิดประโยขน์สูงสุดภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย สำหรับการทำลายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการผลิตใหม่

เป็นรากฐานที่สอดคล้ิองตามมาตรฐานสากล หรือมาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่งของ ภาคอุตสาหกรรมที่ว่าการวัดจะต้องสามารถสอบกลับได้สู่มาตรฐานแห่งชาติ การสอบเทียบเครื่องมือถือเป็นข้อกำหนดหนึ่งในระบบมาตรฐานต่าง ๆ เช่น มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 และระบบการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 เป็นต้น และปัจจียที่ขาดไม่ได้ คือในการสอบเทียบเครื่องมือนั้นจะต้องมีความสามารถสอบกลับได้ สู่หน่วยวัด SI โดยผ่านมาตรฐานแห่งชาติหรือมาตรฐานสากล การสอบเทียบที่เกิดขึ้น จึงเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และลดค่าใช้จ่ายในการวัดและทดสอบซ้ำ

 
     ประกันความคงเส้นคงวา และสร้างความมั่นใจในความสามารถประกอบเข้ากันได้ การสอบเทียบเครื่องมือช่วยควบคุมคุณภาพของกระบวนการผลิต ให้ดำ้เนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำใ้ห้การผลิตมีความคงเส้นคงวา และยังช่วยให้การผลิตผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนต่าง ๆ โดยผู้ผลิตรายเดียวกัน หรือผู้ผลิตต่างรายกันที่ใช้มาตรฐานการผลิตภัณฑ์เดียวกัน สามารถนำชิ้นส่วนต่าง ๆ มาประกอบเข้าด้วยกันได้อีกด้วย
 
สรุป
 
     การสอบเทียบมีความสำคัญไม่เฉพาะต่อโรงงานอุตสหกรรมที่ต้องการขอการรับรอง ระบบมาตรฐานคุณภาพเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงอุตสหกรรมทุกประเภท เนื่องจากการสอบเทียบ เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นใํํํํํํํํํํํํํํนผลการวัดของ เครื่องมือวัดต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งเปรียบเสมือนหลักประกันที่ใช้ในการควบคุม คุณภาพในกระบวนการผลิตนั่นเอง ฉะนั้นเำพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิต ยกระดับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขันทางการค้า ระหว่างประเทศ การสอบเทียม จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็น
 
เอกสารอ้่างอิง
 
1. international organization for standardzation; International vocabulary of basic and general terms in metrology (VIM). 2nd Switzerland, 1993
 
2. ISO/IEC 17025 : 1999, General requirement for the callbration and cornpetence testing laboratories.
 
3. ISO 10012-1:1992 Quality assurance requirement for measuing equipment
 
4. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม : นิยามศัพท์มาตรวิทยา (มอก. 235 เล่ม 14-2531).



โดย : ธ.ธัญญรัตน์ และอนุสรณ์ ทนหมื่นไวย
ขอขอบคุณ : วารสาร For Quality

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที