สุนิสา

ผู้เขียน : สุนิสา

อัพเดท: 18 ส.ค. 2012 16.04 น. บทความนี้มีผู้ชม: 11592 ครั้ง

การวางแผนทรัพยากรมนุษย์


การวางแผนทรัพยากรมนุษย์

 

การวางแผนทรัพยากรมนุษย์

( Human Resource Planning )


การวางแผน หมายถึง การกำหนดแนวทาง วิธีการ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะกระทำใน อนาคต โดยการวิเคราะห์ถึงโอกาสความเป็นไปได้ กำหนดแนวทางในการป้องกันปัญหาและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น และเป็นการตระเตรียมทรัพยากรในด้านต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า


การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Planning)

เป็นส่วนของกิจกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่ต้องดำเนินการต่อจากการวิเคราะห์งาน ซึ่งเป็นกระบวนการที่มุ่งจะพยายาม ให้องค์การมีทรัพยากรบุคคลเพียงพอ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ สำหรับปฏิบัติภารกิจขององค์การให้ บรรลุวัตถุประสงค์ในอนาคต

ความหมายของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์

R Waynd Mondy ได้อธิบายว่าการ วางแผน ทรัพยากรมนุษย์ เป็นกระบวนการทบทวนความต้องการ ด้านทรัพยากรมนุษย์ขององค์การอย่างเป็นระบบ เพื่อให้มั่นใจว่า จำนวนบุคลากรที่มีคุณสมบัติ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานมีเพียงพอ เมื่อถึงเวลาที่องค์การต้องการ กระบวนการนี้จึงเป็น การคาดคะเนความต้องการบุคลากรกับจำนวนตำแหน่งงาน ที่จะเปิดรับพนักงานในระยะเวลาที่ได้ระบุไว้ในอนาคต

Arthur w .Sherman ได้ให้คำจำกัดความของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ไว้ว่า เป็นกระบวนการพยากรณ์ ความต้องการทรัพยากรบุคคล โดยเปรียบเทียบความต้องการที่ จะใช้พนักงานกับจำนวนพนักงานที่มีอยู่จริง แล้วจึงดำเนินการตัดสินใจตามความเหมาสม เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่าง จำนวนบุคลากรที่ต้องการในอนาคต กับจำนวนที่ต้องสรรหาเพิ่ม วิธีการที่ใช้เพื่อพยากรณ์ ความต้องการทรัพยากรมนุษย์ใช้ทั้งวิธีเชิงปริมาณ และคุณภาพควบคู่กันไป

พะยอม วงศ์สารศรี ได้เรียบเรียงว่า การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ หมายถึงกระบวนการพยากรณ์ ความต้องการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ เป็นการล่วงหน้าว่าต้องการบุคคลประเภทใด ระดับใด เป็นจำนวนเท่าใด และเมื่อใด พร้อมกำหนดวิธีการที่จะได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องการว่าจะได้มาจากที่ใด อย่างไร ตลอดจนกำหนดนโยบาย และระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อที่จะใช้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่ ในองค์การให้ได้ประโยชน์สูงสุด

 

 

 

วัตถุประสงค์ของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์

1.      เพื่อคาดคะเนความต้องการ จำนวนและประเภทของทรัพยากรบุคคล ที่จะปฏิบัติงาน รวมถึงระดับของทักษะ ความรู้ และความสามารถที่ต้องการ

2.      เพื่อให้ได้มาและธำรงไว้ซึ่งทรัพยากรมนุษย์ ในจำนวนและคุณภาพที่ต้องการ

3.      เพื่อบริหารการใช้ทรัพยากรบุคคล ในองค์การที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด และป้องกันงานที่มีความรู้ความสามารถออกจากงาน หลังจากที่ได้รับ การพัฒนาจากองค์การแล้ว

4.      เพื่อคาดคะเนล่วงหน้าถึงปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ เช่น ปัญหา การขาแคลนบุคลากร และปัญหาการมีบุคลากรเกินความต้องการเป็นต้น

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที