ปิยาภรณ์

ผู้เขียน : ปิยาภรณ์

อัพเดท: 26 ส.ค. 2012 00.03 น. บทความนี้มีผู้ชม: 3986 ครั้ง

การจัดการทรัพยากรน้ำ


สวนแนวตั้งฝีมือ ป.โท ‘สจล.’ ตอบโจทย์ผู้อาศัยคอนโดมีเนียม

เป็นที่ทราบว่าไลฟ์สไตล์ของคนเมืองปัจจุบัน มักใช้ชีวิตอยู่คอนโดมีเนียมมากกว่าจะเป็นอพาร์ตเมนต์ ทาร์วเฮาส์หรือบ้านจัดสรร ทั้งนั้นเพราะด้วยข้อจำกัดของเวลา ประกอบกับสถานที่ทำงานส่วนมากมักอยู่ในเมือง จึงทำให้มีผู้คิดค้นการทำสวนแนวตั้งขึ้น

                เหตุนี้จึงทำให้ “พิชญ์สิริ  ตรีนุสรณ์” นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ่คุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เกิดความคิดที่อยากจะออกแบบสวนแนวตั้งโดยไม่ใช้ดินขึ้นมา เพื่อสร้างสมดุลต่อการปลูกพืชในอาคารและระบบทดแทนน้ำ

                โดยพัฒนาร่วมกับ “รศ.ดร.อิทธิสุนทร  นันทกิจ” อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง

                เบื้องต้น “พิชญ์สิรี” บอกว่า ที่มาของสวนแนวตั้ง มีจุดเริ่มต้นมาจากการเห็นพื้นที่สีเขียวในเมืองกรุงลดน้อยลง อีกทั้งไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ยึดติดกับที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่จำกัด

                “สวนแนวตั้งที่ทำขึ้นจะเหมาะกับบ้านจัดสรร คอนโดมีเนียม และห้างสรรพสินค้าที่มีพื้นที่จำกัด ที่ต้องการความรวดเร็วในการจัดสวน ไม่ต้องมีการดูแลมากนัก อีกทั้งสวนแนวตั้งที่เคยมีมากลับใช้ปประโยชน์ไม่เต็มที่ ระบบการทดแทนน้ำไม่มี ดิฉันจึงได้ริเริ่มดีไซน์สวนแนวตั้งขึ้นมา”

“แต่การปลูกพืชแนวตั้งในประเทศไทยมีข้อมูลและการศึกษาเกี่ยวกับการปลูกน้อย โดยเฉพาะเกี่ยวกับรูปแบบการปลูกที่เหมาะสมกับการปลุกพืชในอาคารและนอกอาคาร รวมถึงวัสดุที่ใช้ในการปลูก ซึ่งปัจจัยสำคัญในการปลูกพืชแนวตั้งคือ ระบบการให้น้ำแบบอัตโนมัติ ที่จะต้องตอบสนองความต้องการน้ำของพืชที่ปลูกแนวตั้งในระบบต่างๆ”

                “จึงมีการออกแบบระบบปลูกพืชแนวตั้ง โดยการให้น้ำอัตโนมัติ โดยไม่ใช้ดิน เพื่อลดการดูแลรักษา เพื่อมุ่งพัฒนาระบบปลูกพืชแนวตั้งที่สามารถปลูกไม้ประดับในอาคารได้ ที่สำคัญต้นไม่จะต้องสามารถเจริยเติบโตตามปกติ และมีราคาถูก จนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

                นอกจากนั้น  “พิชญ์สิรี” ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงรูปแบบสวนแนวตั้ง 4 แบบด้วยกันคือ

                หนี่ง แบบเคลื่อนย้าย ลักษณะเป็นแท่งแปดเหลี่ยม สูง 2  เมตร  ติดตั้งอยู่บนล้อ โครงสร้าทำจากแป๊บเหล็ก ชั้นปลุกพืชทำจากท่อพีวีซีขนาด 2.5  นิ้ว รียงซ้อนกัน 15 ชั้น ใช้วัสดุแบบ Bio Actn โดยไม่ต้องดูแลเกี่ยวกับการให้น้ำ และปุ๋ยเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน

                สอง แบบติดตั้งผนังในอาคารถาวร โครงสร้างทำจากแป๊บเหล็กขนาด 3ส่วน4 นิ้ว ชั้นปลูกพืชทำจากท่อพีวีซีขนาด 2.5 นิ้ว เรียงซ้อนกันเป็นชั้น จำนวนชั้นขึ้นอยู่กับความสูงที่ต้องการ ทำการปลูกไม้ประดับในวัสดุปลูก Bio Actn โดยมีระบบให้น้ำอัตโนมัติ ทั้งยังมีการติดตั้งเครื่องตั่งเวลาแบบน้ำหยด

                สาม  แบบยึดติดผนังนอกอาคารแบบถาวร โครงสร้างทำจากแป๊บเหล็กขนาด 3ส่วน4 นิ้ว ชั้นปลูกพืชทำจากท่อพีวีซีขนาด 6 นิ้ว กันเป็นชั้น จำนวนชั้นขึ้นอยู่กับความสูงที่ต้องการ ทำการปลูกไม้ประดับในวัสดุปลูก Bio Actn กระถางพลาสติก มีระบบให้น้ำแบบอัตโนมัติ โดยเครื่องตั้งเวลา

                สี่  แบบเคลื่อนย้ายได้ ทำเป็นลักษณะผ้าม่านต้นไม้ ห้อยในแนวตั้ง ตัวม่านทำจากวัสดุพีวีซี ถ้าเป็นแผ่นประกบกับผ้าสักหลาดเพื่อใช้เป็นงวัสดุนำความชื้น ด้านหน้าทำเป็นกระเป๋าขนาดเล็กเรียงเป็นแถวคล้ายกระสอบปุ๋ย ใช้ใส่ต้นไม้ประดับเป็นสวนแนวตั้ง ระบบนี้เหมาะสำหรับสักสวนในงานนิทรรศการต่างๆ

“รศ.ดร.อิทธิสุนทร  นันทกิจ” ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ผลงานเรื่องสวนแนวตั้งของนักศึกษาปริญญาโทถือเป็นผลงานที่ดีเยี่ยม นักศึกษามีความตั้งใจ และต้องการที่จะพัฒนาการเกษตรในรูปแบบใหม่ ที่สามารถตอบสนองวิถีชีวิตคนเมืองที่ค่อยๆเปลี่ยนไป

“ทางคณะจึงร่วมสนับสนุนการศึกษาวัยกับนักศึกษา โดยได้ช่วยกันคิดค้นและพัฒนา เริ่มตั้งแต่นำวัสดุที่ปลูกพืชมาทดลอง เพื่อดูว่าดูดซับน้ำได้ดีหรือไม่ เป็นแหล่งสะสมโรคและแมลงหรือเปล่า ระบบการไหลเวียนของน้ำเป็นอย่างไร จนที่สุดออกมาได้ดี และเราพร้อมที่จะพฒนาต่อด้วยการติดตั้งเซนต์เซอร์การให้น้ำเป็นเวลา รวมถึงการปลูกพืชติดผนังที่ไม่ทำลายสภาพผนังอาคาร”

ซึ่งเชื่อแน่ว่าจะมีประโยชน์ไม่น้อยแก่วิถีชีวิตคนเมืองปัจจุบัน ที่ชอบอาศัยอยู่ในคอนโดมีเนียมแบบทุกวันนี้


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที