สุวรรณี

ผู้เขียน : สุวรรณี

อัพเดท: 28 เม.ย. 2013 14.31 น. บทความนี้มีผู้ชม: 2577 ครั้ง

การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีสำคัญอย่างไร และท่านจะตักตวงใช้ประโยชน์จากเออีซีได้อย่างไร สิ่งสำคัญในการเริ่มต้นคือศึกษาข้อตกลงของเออีซีรวมถึงเอฟทีเออาเซียนกับประเทศต่างๆ ในรายละเอียดเงื่อนไขการเปิดเสรีให้ถ่องแท้


ธุรกิจไทยจะบุกอาเซียนอย่างไร

เออีซีเป็นการเปิดเสรีสินค้าและบริการรวมทั้งการลงทุน ลดอุปสรรคระหว่างกัน สร้างความโปร่งใส่ในแง่กฎระเบียบ ข้อบังคับในการกำกับมากขึ้น สร้างโอกาสในการทำธุรกิจและพบช่องทางในการเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างกัน
 
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวในงานสัมมนาเสริมศักยภาพผู้ประกอบการไทยสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อเร็วๆ นี้ว่า เมื่อยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมการก้าวเป็นเออีซียังมีเวลาเหลืออีก 2 ปีกว่า หลายท่านอาจคิดว่าเป็นเวลาที่นาน หรือไม่มากพอต่อการรับมือกับสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น แต่หากท่านมีการศึกษาและเตรียมพร้อมอย่างต่อเนื่อง 2 ปีกว่าที่เหลือนี้ท่านจะรู้สึกว่าเวลาเดินช้า และรอเวลาที่จะเข้าไปแสวงหาประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น แต่ถ้ายังไม่ได้เตรียมตัวก็จะรู้สึกว่าเวลาที่เหลือมีไม่มากนัก
 
ทำความเข้าใจกับเออีซี
 
พันธกรณีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นการเปิดการค้าและบริการเสรีรูปแบบหนึ่ง เพื่อลดอุปสรรคทั้งหมดลง สามารถเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ การลงทุน แรงงานอย่างเสรีใน 10 ประเทศอาเซียน ซึ่งหากมองในแง่เศรษฐกิจปัจจุบันการเคลื่อนย้ายสินค้าสำเร็จลุล่วงไปนานแล้วจากการที่ภาษีเป็นศูนย์ ยกเว้นสินค้าบางรายการเท่านั้นที่ยังเข้าข่ายเป็นสินค้าอ่อนไหวมาก อย่างไรก็ดีข้อกำหนดสำคัญของการได้รับสิทธิดังกล่าวก็คือ การได้มาซึ่งแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origin) ซึ่งต้องควรศึกษาในรายละเอียดว่าทำอย่างไรจะได้แหล่งกำเนิดสินค้า
 
สำหรับการเคลื่อนย้ายลงทุนเสรีนั้นจะต้องปฎิบัติกับนักลงทุนอาเซียนเสมือนนักลงทุนประเทศตนเอง ส่วนการเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นแรงงานที่มีฝีมือ 8 สาขา โดยส่วนใหญ่เป็นอาชีพต้องสอบใบประกอบวิชาชีพ ที่จะต้องมีการจัดทำมาตรฐานกัน
 
อย่างไรก็ดี การเปิดประตูการค้าและบริการเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้กรอบอาเซียน จะเห็นว่าตลาดอาเซียน 600 ล้านคน ซึ่งตลาดไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ยังมีการเปิดเสรีการค้าระหว่างอาเซียนกับประเทศอื่นๆ ที่เรียกว่า อาเซียนบวก 6 คือ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ อินเดีย 6 ประเทศ เมื่อรวมกันแล้วมีประชากรกว่า 2,500 ล้านคน
 
นายฉัตรชัย เลื่อมประเสริฐ ผอ.สำนักพัฒนาความพร้อมทางการค้า กล่าวว่า ถ้าคนไหนมองภาพในเชิงบวกก็จะเห็นว่าธุรกิจตลาดใหญ่มหาศาล แต่ถ้ามองในเชิงลบ คนเหล่านี้จะมองว่าแค่ขายในประเทศ 60 ล้านคน ยังขายไม่ค่อยได้ อุปสรรคเยอะเหลือเกิน อีกประเภทคือพวกท้าทาย ทำอย่างไรจะไปเข้าไปตลาดนี้
 
การปรับตัวประเด็นง่ายๆ คือ จะทำอย่างไรให้เราสู้ได้ ตั้งรับได้ และจะบุกอย่างไร คาถาง่ายๆ 3 ประการ คือ
 
1. ต้องพัฒนาธุรกิจสินค้าและบริการในเรื่องคุณภาพ

2. ต้องได้มาตรฐานที่อาเซียนยอมรับ

3. ต้องมีความปลอดภัยของสินค้าและบริการ ซึ่งไปได้ทั่วโลกไม่เฉพาะแค่อาเซียน
 

ผู้ประกอบการไทยจึงต้องเปลี่ยนวิธีการมองตลาดในรูปแบบใหม่ เพราะสภาพแวดล้อมการค้า และกฎระเบียบเปลี่ยนไป ต้องปรับตัวตามให้ทันยุคกระแสการค้าที่กำลังจะเกิดขึ้น
 
ประสบการณ์ทำธุรกิจในอาเซียน
อ่านต่อคลิก http://logisticsviews.blogspot.com/2013/04/3.html
 
 
 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที