ขนิษฐา

ผู้เขียน : ขนิษฐา

อัพเดท: 13 มี.ค. 2007 14.31 น. บทความนี้มีผู้ชม: 922269 ครั้ง

สร้างเสริมการเรียนรู้ โดย นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม ชั้นปีที่ 1


ปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน

นักศึกษา นายเกรียงศักดิ์  หนูชู 

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแบบประหยัด

 

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินหรือที่เรียกกันติดปากในปัจจุบันว่า”ไฮโดรโพนิส์” หรือ”ซอยเลสคัลเจอร์” หมายถึงการปลูกพืชโดยใช้วัสดุใดๆ ที่ไม่ใช้ดิน และพืชจะได้รับจากธาตุอาหารต่างๆ ที่ต้องการจากสารละลายธาตุอาหารที่ให้กับพืชเท่านั้น ทำให้ดินในที่นี้หมายถึงวัสดุใดก็ตามที่มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์แก่พืชได้แก่ ดินชนิดต่างๆ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก พีทมอส เป็นต้น ส่วนวัสดุที่ไม่ใช่ดินก็คือวัสดุอื่นใดที่ไม่มีธาตุอาหารให้แก่พืชอาทิเช่น ทราย กรวด น้ำ ขุยมะพร้าว แกลบ ใยหิน เพอร์ไรท์ เวอร์มิคูไลท์     เป็นต้น ดังนั้นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินจึงเป็นการปลูกพืชในลักษณะที่เราไม่เปิดโอกาสให้พืชได้อาหารจากแหล่งอื่นเลย นอกจากได้จากสารละลายธาตุอาหารที่เราให้แก่พืชเท่านั้น ทำให้เราสามารถควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้กับพืชได้อย่างสม่ำเสมอนั่นเอง

ความเป็นมาของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน

มนุษย์รู้จักวิธีการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินในลักษณะปลูกลงในน้ำมานานกว่า 150 ปี โดยเริ่มจากในสมัยโบราณที่มี การทดลองปลูกพืชลงในน้ำก่อนและมีการเติมแร่ธาตุต่างๆ ลงไป ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เทคนิคการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนี้ปลูกพืชเพื่อเป็น การค้าเช่นในปัจจุบันจนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1925 หรือ พ.ศ.2465 มองหาทางเลือกอื่นๆ ในการปลูกพืชในโรงเรียนทดแทนการใช้ดินเป็นวัสดุปลูกที่มีน้ำหนักมากและต้องยุ่งยากในการเปลี่ยนถ่ายดินบ่อยๆ และเริ่มหันมาให้ความสนใจวิธีการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ในวงการวิจัยจึงได้เริ่มตื่นตัวมาทำการทดลองเกี่ยวกับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินเพื่อเป็นการค้าขึ้นมา จนถึงปีค.ศ.1930 หรือ พ.ศ.2470

ข้อดีและข้อเสีย

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินได้รับการพัฒนาในต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาการปลูกพืชในโรงเรียนโดยการใช้ดินที่มีความยุ่งยากและสิ้นเปลืองแรงงานในการปฏิบัติ และเสี่ยงต่อการระบาดของโรค-แมลง ดังนั้นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนี้จึงอาจไม่ได้มีประโยชน์หรือเกิดผลดีต่อการปลูกพืชในสถานการณ์อื่นๆ เสมอไป จึงควรต้องพิจารณาแล้วแต่ความจำเป็นและเหมาะสมกับสภาพปัญหาในแต่ละแห่ง อย่างไรก็ตามการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินโดยทั่วไปก็มีข้อดีและข้อเสียในตัวเองดังต่อไปนี้

ข้อดี

1.        เป็นระบบที่ช่วยให้สามารถปลูกพืชในแหล่งที่ดินอาจไม่เหมาะสมแก่การปลูกพืชหรือขาดน้ำได้

2.        เป็นระบบที่ทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เพราะได้รับน้ำและอาหารอย่างพอเพียงและตลอดเวลา

3.        เป็นระบบที่สามารถให้จำนวนต้นต่อพื้นที่ได้มาก ทำให้ประหยัดพื้นที่และยังได้ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่สูง

4.        เป็นระบบที่ให้ผลผลิตที่สะอาด เนื่องจากไม่มีการใช้ดิน สามารถลดขั้นตอนการทำความสะอาดที่ทำให้ผลผลิต ต้องโดนน้ำและมีโอกาสเน่าเสียได้

5.        เป็นระบบที่สามารถหลีกเลี่ยงหรือลดการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้ ทำให้ผลผลิตปลอดภัยต่อสารเคมีตกค้าง

6.        เป็นระบบที่ไม่ต้องมีการเตรียมดิน ใส่ปุ๋ย ฉีดยา ทำให้ประหยัดค่าแรงงานและเวลา

ข้อเสีย

1.        เป็นระบบที่ต้องลงทุนสูง เพราะต้องการวัสดุอุปกรณ์เฉพาะหลายอย่างในตอนเริ่มต้น

2.        เป็นระบบที่ต้องพึ่งพาพลังงาน เช่น พลังงานไฟฟ้าตลอดเวลา ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงและหากไฟฟ้าขัดข้องเป็นเวลานานเกินไปและไม่มีระบบไฟฟ้าสำรอง จะทำให้พืชขาดน้ำและตาย

3.        เป็นระบบที่ต้องการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดและต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ในการดูแลรักษาระบบจึงจะประสบความสำเร็จได้

สถานการณ์การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินในปัจจุบัน

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินของบ้านเรามีการปฏิบัติมาเป็นเวลานานแล้ว ส่วนใหญ่เพื่อใช้ในงานวิจัยต่างๆ เกี่ยวกับธาตุอาหาร พืช และเพื่อเป็นงานอดิเรกซึ่งไม่ใช้เพื่อการค้า แต่ในช่วงประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา ได้มีการตื่นตัวนำวิธีการปลูก พืชโดยไม่ใช้ดินนี้มาปลูกพืชในเชิงการค้า โดยเฉพาะการทำการเกษตรด้วยเทคนิควิธีใหม่ๆ ที่สามารถดึงความสนใจจากผู้บริโภคได้ จึงทำให้นักลงทุนอาจเห็นว่าการปลูกพืชโดย ไม่ใช้ดินเป็นการค้าน่าจะเป็นธุรกิจที่กำลังอนาคตที่ดีต่อไป ในขณะนี้จึงมีฟาร์มปลูกพืชโดยวิธีไม่ใช้ดินเกิดขึ้นหลายแห่งทั่วประเทศ ผู้คนหันมาสนใจปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกันในปัจจุบันอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้แก่ กลุ่มผู้ที่ปลูกเป็นการค้า โดยปลูกในพื้นที่กว้าง ใช้อุปกรณ์การปลูกที่ทันสมัย และมีการลงทุนที่สูงมาก เพื่อปลูกผักสลัดต่างประเทศ เช่นผักกาดหอมสายพันธุ์ต่างๆ และผักกินใบอีกหลายชนิด โดยขายในรูปของผักที่ปลอดสารพิษตกค้างจำหน่ายให้แก่โรงแรม ภัตตาคารหรือตาม ซุปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งมีราคาแพงกว่าผักที่ปลูกในดินธรรมดาทั่วไป เพราะมีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง

และอีกกลุ่มหนึ่ง ได้แก่กลุ่มผู้ที่สนใจปลูกในพื้นที่ว่างเปล่าภายในบริเวณบ้านเพื่อเป็นงานอดิเรก และได้ผักที่สะอาดและปลอดภัยจากสารตกค้างไว้บริโภคเอง

 

การปลูกผักโดยไม่ใช้ดินแบบประหยัด

สำหรับผู้ที่สนใจที่ปลูกผักด้วยวิธีไม่ใช้ดินนี้เป็นการค้า แต่มีงบประมาณไม่มากนัก และผู้ที่มีรายได้น้อยและบริเวณบ้านมีพื้นที่ไม่มาก หรือไม่มีส่วนที่เป็นดินเลยแต่ต้องการปลูกผักไว้บริโภคเองก็สามารถที่จะปลูกผักโดยไม่ใช้ดินนี้แต่ลงทุนต่ำกว่าได้

วิธีการปลูกพืชผักโดยไม่ใช้ดินด้วยเทคนิค DWT(Deep Water Technique)เป็นวิธีการปลูกพืชผักในสารละลายธาตุอาหารในภาชนะที่ไม่มีการหมุนเวียนของน้ำ โดยเราสามารถจัดหาภาชนะที่สามารถกักเก็บน้ำได้สูง 8-10 นิ้ว และมีขนาดเท่าใดก็ได้ขึ้นกับความต้องการและความสะดวกในการทำงาน แต่ต้องมีการเติมอากาศหรือเป่าอากาศลงในน้ำละลายนั้นเพื่อการให้ออกซิเจนแก่รากพืช

ในการจะปลูกพืชผักกินใบ โดยวิธีไม่ใช้ดินแบบประหยัดนี้ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อนได้ออกแบบชุดปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินด้วยเทคนิค DFT นี้ ที่มีขนาดพอเหมาะสมและสะดวกต่อการทำงาน 1 ชุด สามารถผลิตผักกินใบหลายชนิด เพื่อการปลูกไว้บริโภคเองหรือหากต้องการผลิตเป็นการค้าก็สามารถเพิ่มจำนวน โต๊ะขึ้นให้มากเท่าที่ต้องการและจัดระบบการปลูกหมุนเวียนให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที