จริยา

ผู้เขียน : จริยา

อัพเดท: 29 เม.ย. 2014 03.11 น. บทความนี้มีผู้ชม: 10165 ครั้ง

การเก็บเงินเพื่อลูก


เริ่มต้นออมเงิน ลงทุน สร้างเงินให้ลูก ทำได้ยังไง

ปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่สมัยใหม่เริ่มให้ความสนใจกับการออมและการลงทุน โดยเฉพาะการเริ่มลงทุนให้ลูกตั้งแต่ลูกยังเด็กๆ และให้ชื่อลูกเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นการฝากเงิน พันธบัตรรัฐบาล รวมถึงการซื้อหุ้นในชื่อของลูก แต่ลูกซึ่งเป็นผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะจะสามารถเป็นเจ้าของสินทรัพย์เหล่านี้ได้หรือไม่ วันนี้เรามีวิธีมาให้ชมกัน

เงินฝาก

1. กรณีลูกยังไม่มีบัตรประชาชน (อายุน้อยกว่า 7 ปี) การเปิดบัญชีเงินฝากจะต้องทำโดยการเปิดในชื่อคุณพ่อเพื่อลูก คุณแม่เพื่อลูก คุณพ่อและคุณแม่เพื่อลูก หรือการเปิดโดยใช้ชื่อลูกนำหน้า เช่น ลูกโดยคุณพ่อ ลูกโดยคุณแม่ หรือลูกโดยคุณพ่อและคุณแม่ เท่านั้น
 

2.  หากลูกมีบัตรประชาชนแล้ว แม้อายุยังไม่ถึง 15 ปี ก็สามารถเปิดบัญชีออมทรัพย์ชื่อลูกได้เลย แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความยินยอมในการเปิดบัญชีด้วย

3.  หากลูกมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป สามารถเปิดบัญชีชื่อตัวเองได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากคุณพ่อคุณแม่ เรียกได้ว่าเปิดบัญชีได้เหมือนกับบุคคลที่บรรลุนิติภาวะทั่วไป
 

สำหรับดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากเงินฝาก ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยเงินฝากประเภทไหนก็ตาม จะถือเป็นเงินได้ของลูกทั้งสิ้น ดังนั้น หากลูกมีเงินได้จากดอกเบี้ยถึงเกณฑ์ต้องยื่นแบบภงด. หรือต้องเสียภาษี เงินได้ดังกล่าวจะเป็นของลูก และหากลูกยังไม่สามารถยื่นแบบภงด.ได้ด้วยตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบภงด. ให้กับลูกด้วย

โดยเราจะแบ่งเวลาการออมออกเป็น 3 ระยะ คือ

การออมระยะสั้น 


การออมระยะปานกลาง
• เป็นการออมเพื่อเป็นค่าเทอมในระดับอนุบาลจนกระทั่งเรียนจบมัธยมปลาย ซึ่งต้องใช้วินัยในการออมเงินค่อนข้างสูงโดยจะเป็นการออมในลักษณะบังคับห้ามขาย เช่น LTF ที่กำหนดให้ขายเมื่อถือครบ 5 ปีเท่านั้น

• ตัวอย่างการออมเพื่อการศึกษาโดยใช้ LTF โดยเริ่มสะสมเงินขณะที่ลูกอายุ 1 ขวบเพื่อเป็นค่าเทอมให้ลูกเรียนชั้นอนุบาล(อายุ 5 ปี) การออมลักษณะนี้จะได้รับประโยชน์ 2 ต่อ คือ เก็บเป็นค่าเทอมลูกแล้วยังได้ลดหย่อนภาษีอีกด้วย

 

 

การออมระยะยาว

• เป็นการออมเพื่อเป็นค่าเทอมในระดับอุดมศึกษาขึ้นไป ต้องใช้วินัยในการออมค่อนข้างสูงมาก ดังนั้นรูปแบบการออมควรเป็นลักษณะออมแบบอัตโนมัติโดยใช้ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ระยะยาว ที่มีช่วงเวลาการได้รับเงินคืนพอดีกับช่วงเวลาจ่ายค่าเทอม

• ตัวอย่างการออมเพื่อการศึกษาโดยเริ่มสะสมเงินส่วนนี้ขณะที่ลูกอายุ 3 ขวบเพื่อเป็นค่าเทอมในระดับมหาวิทยาลัยปีที่ 1 (อายุ 18 ปี) โดยใช้การออมในรูปแบบประกันชีวิตชนิดสะสมทรัพย์ระยะเวลา 15 ปี โดยเริ่มออมตั้งแต่ลูกอายุ 3 ขวบ จะได้รับเงินคืนที่อายุ 18 ประเด็นสำคัญอยู่ที่ผลประโยชน์ที่จะได้รับถึง 3 รูปแบบ คือ ได้รับความคุ้มครองชีวิต เป็นเงินออมเพื่อการศึกษาแล้วยังลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย แต่ถ้าระหว่างการออมนั้นมีเหตุจำเป็นต้องใช้เงินเราสามารถกู้กรมธรรม์ตนเองเพื่อนำเงินมาหมุนก่อนได้ ทั้งนี้ควรดูเงื่อนไขของแต่ละกรมธรรม์ก่อนการตัดสินใจกู้

 

ส่วน พันธบัตรที่รัฐบาลไทยเป็นผู้ค้ำประกัน

 

สามารถซื้อในชื่อของลูกเองได้ แม้ว่าจะยังเป็นผู้เยาว์ (อายุไม่ถึง 20 ปี) โดยลูกต้องมีบัตรประชาชน และคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้มีอำนาจปกครองยินยอม ต้องลงนามกำกับในเอกสาร (ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ของแต่ละสถาบันการเงินที่เป็นตัวแทนจำหน่าย) ทั้งนี้ เมื่อได้รับดอกเบี้ยจากพันธบัตร เงินได้ดังกล่าวจะเป็นของลูกเช่นเดียวกับดอกเบี้ยเงินฝาก ดังนั้น หากลูกยังไม่สามารถยื่นแบบภงด.ได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบให้กับลูกด้วย

ดังนั้น ความร่ำรวยและชีวิตที่มีอิสรภาพทางการเงิน มักเริ่มต้นมาจากคำว่า “ออม” เสมอ ใครที่เริ่มเก็บออมได้เร็วกว่า 
ย่อมรวยเร็วกว่า และโปรดรู้ไว้ว่า... คุณกำลังเดินหน้าสู่ความมั่งคั่ง คุณสามารถออมได้แน่นอน เพียงเปลี่ยนจากเดิมที่เคยคิดว่า
 “ใช้จ่ายก่อน... เหลือเท่าไหร่ค่อยออม” มาเป็น “ออมก่อน... เหลือเท่าไหร่ค่อยใช้” ส่วนจะออมเดือนละเท่าไหร่ก็ตามใจ สูตรใครสูตรมัน

 

เป็นเทคนิคการออมสินมีหลายแบบที่คุณอยากเลือกและได้ใช้จริง แต่นี้เพื่อลูกในอนาคต หรือ มีลูกแล้วก็สามารถเริ่มใช้ได้คะ

 

ขอบคุณแหล่งที่มา

http://www.tsi-thailand.org/index.php?option=com_content&task=view&id=1526&Itemid=1431

http://cefirodiy4u.wordpress.com/2013/01/29/%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A1-%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2/

http://blog.th.88db.com/?p=10573

http://www.thaihealth.or.th/Content/9623-%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A1.html

http://www.momypedia.com/article-7-27-410/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%87/

: http://money.sanook.com/182224/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81/

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที