พุทธิชัย

ผู้เขียน : พุทธิชัย

อัพเดท: 22 ธ.ค. 2006 16.29 น. บทความนี้มีผู้ชม: 212766 ครั้ง

เรียนเทคนิคการใช้ AutoCAD ด้วยการเรียนผ่านสื่อภาพเคลื่อนไหวแบบออนไลน์ ประหยัดเวลาและสะดวกด้วยตนเอง


รู้จักหน้าตาของโปรแกรม AutoCAD2006

สวัสดีครับ ผมชื่อ พุทธิชัย โพธิ์ศรีสุข ผมมีความตั้งใจที่จะทำสื่อผสมระหว่าง ตัวหนังสือและ ภาพเคลื่อนไหวเพื่อให้ทุกท่านได้เรียนรู้ออนไลน์ด้วยตัวเอง ขึ้นมาโดยเริ่มจาก AutoCAD ก่อนเป็นลำดับแรก คิดว่าคงจะมีหลายตอนมากพอสมควร คอยติดตามไปเรื่อยๆแล้วกันนะครับ

ตอนที่ 1


AutoCAD
นับเป็นโปรแกรมประเภท Computer Aided Design / Drafting (CAD) ยอดนิยมในเมืองไทยโปรแกรมหนึ่ง จาก Autodesk ตอนนี้ก็พัฒนามาถึงรุ่น 2006 แล้ว (ตอนผมเริ่มใช้เป็นเวอร์ชั่น 2.16) มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก เพราะตัวโปรแกรม มีความสามารถทางด้านการทำงานได้ทั้งงาน 2 มิติ และ3 มิติ
มีหลายคนอยากจะใช้โปรแกรมนี้เป็น แต่เมื่อเห็นหน้าตาโปรแกรมแล้วอาจจะรู้สึกสับสนได้ เพราะลักษณะหน้าจอ หรือปุ่มต่างๆของ AutoCAD เองนั้นดูมีลักษณะเฉพาะตัว ดังนั้นเพื่อเป็นการเริ่มต้นกันอย่างถูกต้อง ผมขอเริ่มแนะนำหน้าตาหรือ Interface ของเจ้า AutoCAD2006 กันก่อนเลยนะครับ

18414_2006_I01.gif

ส่วนประกอบสำคัญบนหน้าจอ AutoCAD2006
ให้สังเกตหมายเลขบนรูปภาพที่ผมทำเครื่องหมายไว้นะครับ เรียงลำดับได้ดังนี้

1.Drawing area หรือ พื้นที่วาดงาน สังเกตได้จากสีพื้นจอที่จะเป็นสีดำ ซึ่งสีตรงส่วนนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง เป็นพื้นที่ทำงานต่างๆของเรานั่นเอง ขนาดของพื้นที่จะขยายไปมาได้ในขณะที่มีการใช้คำสั่ง Zoom
2.Toolbar หรือ ปุ่มเครื่องมือ สำหรับ AutoCAD รุ่นใหม่ที่ทำงานบน Windows จะมีปุ่มเครื่องมือเพื่อใช้ในการสั่งคำสั่งต่างๆ แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มการใช้งาน(จะอธิบายละเอียดในภายหลัง)
3.Commnad Line หรือ แถบแสดงคำสั่ง แสดงว่าขณะนี้มีการเรียกใช้คำสั่งอะไรอยู่ มีทางเลือกของคำสั่งอย่างไรบ้าง และได้ผลของคำสั่งนั้นอย่างไร
4.Drop down Menu หรือ เมนูคำสั่ง เป็นบริเวณแสดงคำสั่งและกลุ่มคำสั่งที่ใช้งานของโปรแกรม AutoCAD
5.UCS Icon หรือ ไอคอนแสดงทิศทางการทำงาน เนื่องจาก AutoCAD เป็นโปรแกรมในกลุ่ม เวคเตอร์(Vector) ซึ่งจำเป็นจะต้องกำหนดทั้งขนาดและทิศทางในการทำงานที่ถูกต้องเป็นสำคัญ
เพื่อความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น ดูไฟล์ภาพเคลื่อนไหวจาก ลิงค์ด้านล่างนี้นะครับ
http://www.thai3dmodel.com/ACADOnline/AutoCAD_Interface.htm


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที