Solution Center Minitab

ผู้เขียน : Solution Center Minitab

อัพเดท: 20 ก.ย. 2015 14.01 น. บทความนี้มีผู้ชม: 32173 ครั้ง

สมการถดถอยแบบพหุนามอาจเป็นการวิเคราะห์ที่ทำให้สับสนได้ อันเนื่องมาจากการเพิ่มจำนวนตัวแปรลงในตัวแบบ เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเราต้องการให้มันอยู่ในตัวแบบหรือ เป็นเพราะเรามีข้อมูลของมันอยู่ในมือ สำหรับ ตัวแปรทำนายบางตัวที่มีนัยสำคัญ ซึ่งอาจมีนัยสำคัญเพราะความสัมพันธ์ของตัวแปรจริงๆหรือเพราะเหตุบังเอิญ


การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุนาม: การใช้ค่า Adjust R-Squared และค่า Prediced R-Squared เพื่อปรับค่าความถูกต้องของจำนวนตัวแปร (Multiple Regression Analysis: Use Adjusted R-Squared and Predicted R-Squared to include the correct number of

สมการถดถอยแบบพหุนามอาจเป็นการวิเคราะห์ที่ทำให้สับสนได้ อันเนื่องมาจากการเพิ่มจำนวนตัวแปรลงในตัวแบบ เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเราต้องการให้มันอยู่ในตัวแบบหรือ เป็นเพราะเรามีข้อมูลของมันอยู่ในมือ สำหรับ ตัวแปรทำนายบางตัวที่มีนัยสำคัญ ซึ่งอาจมีนัยสำคัญเพราะความสัมพันธ์ของตัวแปรจริงๆหรือเพราะเหตุบังเอิญ

คุณสามารถทำเพิ่มพจน์พหุนามที่มีดีกรีลำดับสูงขึ้น เพื่อทำให้เส้นมีความบิดโค้ง สมรูปกับข้อมูลได้ตามความเหมาะสม แต่ในการทำเช่นนั้นต้องดูด้วยว่ากำลังทำเพื่อเชื่อมต่อจุดข้อมูลทั้งหมด หรือ ทำให้ได้ตัวแบบที่แท้จริง ทั้งนี้ในการทำแบบนี้จะทำ ให้ค่า R-squared ที่มี มีค่าเพิ่มขึ้น และอาจทำให้คุณสับสนโดยการเพิ่มพจน์ตัวแปรลงไปในตัวแบบ

จากบทก่อน ได้แสดงให้เห็นว่า ค่า R-squared อาจทำให้ตีความผิดได้ เมื่อถึงตอนวิเคราะห์ความสมรูปของตัวแบบ (goodness-of-fit) สำหรับตัวแบบเส้นตรงในสมการถดถอย ซึ่งเราได้แสดงให้เห็นว่าไม่ควรเพิ่มตัวแปรทำนายเกินความจำเป็น ลงในตัวแบบ ซึ่งมาถึงตอนนี้ ค่า adjust R-squared และ ค่า predicted R-squared อาจจะสามารถนำมาช่วยการศึกษา ตรงนี้ได้

case6_pic1

ปัญหาบางประการเกี่ยวกับค่า R-squared

จากครั้งที่แล้ว เราแสดงให้เห็นแล้วว่า ค่า R-squared ไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่า ตัวสัมประสิทธิ์ และการทำนายนั้นมีความ ลำเอียงเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งทำให้เราต้องใช้แผนภาพเศษเหลือ (residual plots) มาร่วมในการประเมิน ดังนั้นจึงมีการนำค่า adjusted R – squared และ ค่า predicted R-squared มาช่วยแก้ปัญหาของ R-squared นี้

ปัญหาที่ 1 ทุกครั้งทีคุณทำการเพิ่มตัวแปรทำนายลงในตัวแบบ ค่า R – squared จะมีค่าเพิ่มขึ้นเสมอ ถึงแม้ว่าอาจจะ ไม่ทั้งหมด แต่จะไม่ทำให้ค่า R – squared ลดลงเลย และตัวแบบที่มีพจน์ตัวแปรเพิ่มขึ้นทำให้ตัวแบบนั้นมีความเหมาะสมกับ ข้อมูลมากขึ้น แต่เหตุผลที่ตัวแบบนั้นสมรูปกับข้อมูลเพิ่มขึ้น เพราะว่ามีพจน์ตัวแปรเพิ่มขึ้นในตัวแบบเท่านั้นเอง

ปัญหาที่ 2 ตัวแบบที่มีตัวแปรทำนายที่มากเกินไปและมีพจน์พหุนามกำลังสอง ตัวแบบจะเริ่มเก็บเอาผลของสิ่งรบกวน ของข้อมูลนั้นๆมารวมด้วย ซึ่งเงื่อนไขนี้ ทำให้ตัวแบบนั้นอาจทำให้มีค่า R – squared สูงขึ้นและทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ และทำให้ตัวแบบนั้นใช้ในการทำนายได้มีประสิทธิภาพลดลง

ค่า adjusted R – squared คืออะไร

ค่า adjusted R – squared ใช้เปรียบเทียบความสามาถในการอธิบาย (Explanatory power) ของสมการตัวแบบ ที่มีจำนวนตัวแปรทำนายแตกต่างกัน

สมมติว่าคุณต้องการเปรียบเทียบตัวแบบที่มีตัวแปรทำนายจำนวน 5 ตัว ที่มีค่า R – squared สูงกับตัวแบบหนึ่งที่มี ตัวแปรทำนายหนึ่งตัว ในการเปรียบเทียบสองตัวแบบนั้น จะทำการหาว่าตัวแบบที่มีตัวแปรทำนาย 5 ตัวนั้น มีค่า R – squared สูงนั้นเพราะตัวแบบนั้นดีกว่าจริงๆ หรือเป็นเพียงเพราะมีจำนวนตัวแปรมากกว่า ซึ่งการเปรียบเทียบนี้จะใช้ ค่า  adjusted R – squared เป็นตัวหาคำตอบ

ค่า adjusted R – squared จะเป็นการนำค่า R – squared มาปรับเพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนตัวแปรทำนายที่อยู่ใน ตัวแบบ ค่า adjusted R – squared จะมีค่าเพิ่มขึ้นจากเดิมก็ต่อเมื่อพจน์ที่เพิ่มเข้ามาใหม่นั้นทำให้ตัวแบบอธิบายความได้ดีขึ้น จากค่าความคลาดเคลื่อน และค่า adjusted R – squared จะมีค่าลดลงถ้าพจน์ที่เพิ่มเข้ามาในตัวแบบนั้นทำให้ตัวแบบอธิบาย ความได้น้อยกว่าค่าความคลาดเคลื่อน ค่า adjusted R – squared ยังสามารมีค่าเป็นลบได้ แต่โดยทั่วไปแล้วจะไม่เป็นเช่นนั้น แต่อย่างหนึ่งคือ จะมีค่าน้อยกว่า ค่า R – squared เสมอ

เพื่อทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น มาลองดูตัวอย่าง ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ถดถอยตามนี้ จะเห็นว่า ค่า adjusted R – squared ที่มีค่าสูงสุดอยู่ที่ตำแหน่งไหน และมีค่าลดลงเมื่อมีการพจน์ตัวแปรทำนายเพิ่มขึ้น ในขณะที่ ค่า R – squared ยังมีค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

case6_pic2

จากผลลัพธ์นี้ จะทำให้เห็นว่าตัวแบบที่ดีน่าจะมีจำนวนตัวแปรทำนาย 3 ตัวเท่านั้น จากบทความที่แล้ว แสดงให้เห็น ว่าตัวแบบที่เป็นแบบ under-specified (ที่มีรูปตัวแบบอย่างง่าย และมีตัวแปรที่มีอทธิพลต่อค่าตอบสนองแต่ไม่ได้ครอบคลุมไว้ ในตัวแบบ) อาจทำให้ค่าทำนายนั้นเป็นค่าประมาณที่มีความลำเอียง (bias estimate) แต่ถ้าตัวแบบเป็นแบบ  over specified (ตัวแบบมีความซับซ้อน กล่าวคือ มีตัวแปรที่ไม่ได้มีอิทธิพลต่อค่าตอบสนองรวมอยู่ในตัวแบบด้วย) อาจทำให้ความเที่ยงตรง ของค่าสัมประสิทธิ์และค่าทำนายมีค่าลดลง และโดยความเป็นจริงแล้ว เราต้องการตัวแบบที่มีเฉพาะพจน์ของตัวแปรทำนาย ที่มีความสำคัญจริงๆเท่านั้น (อ่านตัวอย่างได้ที่บทความ Using Minitab’s Best Subsets Regression)

ค่า Predicted R – squared คืออะไร

ค่า Predicted R – squared จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าตัวแบบที่เรามีนั้นสามารถทำนายค่าตอบสนองค่าใหม่ได้ดีขนาดไหน ตัวสถิตินี้จะสามารถช่วยบอกว่าตัวแบบของเรานั้นเป็นเพียงตัวแบบที่สมรูปกับข้อมูลแต่มีไม่มีความสามารถในการทำนายค่า ตอบสนองของข้อมูลค่าใหม่ (อ่านตัวอย่างเพิ่มเติมได้จากบทความเรื่อง Using regression to make predictions)

Minitab จะทำการคำนวณค่า Predicted R – squared อย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยการหักข้อมูลที่สังเกตได้ออกจาก ชุดข้อมูลทีละตัว แล้วทำการประมาณสมการถดถอย จากนั้นทำการหาว่าตัวแบบนั้นให้ผลค่าทำนายของข้อมูลที่หักออกไป นั้นได้ดีอย่างไร ซึ่งค่า Predicted R – squared นั้น สามารถมีค่าเป็นลบได้ เช่นเดียวกันกับค่า adjusted R – squared และยังมีค่าน้อยกว่าค่า R – squared เสมอ

ถึงแม้ว่าคุณอาจจะไม่ได้นำตัวแบบนี้เพื่อไปใช้ในการทำนายค่าตอบสนอง ค่า Predicted R – squared ก็ยังให้สาระช้อมูลที่ดีต่อคุณ

ประโยชน์ที่สำคัญของค่า Predicted R – squared คือ การป้องกันที่จะทำให้คุณสร้างตัวแบบเป็นแบบ over specified ซึ่งมีจำนวนตัวแปรทำนายเกินความจำเป็น และทำให้ตัวแบบนั้นมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้

ตัวอย่างของตัวแบบ over specified และค่า Predicted R – squared

คุณสามารถทดลองกับตัวอย่างนี้ได้ด้วยตัวเองโดยการใช้ Minitab กับไฟล์ project file ซึ่งมีข้อมูลอยู่ 2 แผ่นงาน สามารถdownload ได้จาก Minitab 30-day trial version

มีวิธีง่ายๆในการดูว่า ตัวแบบนั้นเป็นแบบ over specified หรือไม่ ในการวิเคราะห์ตัวแบบเส้นตรงถดถอยที่มีตัวแปร ทำนายที่ทีแต่ละตัวมี degree of freedom เท่ากับ 1  คุณจะได้ค่า R – squared เท่ากับ 100% เสมอ

ในแผ่นงาน ทำการสร้างข้อมูลขึ้นมา 10 แถว สำหรับค่าตอบสนองจำนวน 10 ค่า และตัวแปรทำนายจำนวน 9 ตัว และในตัวแปรทำนายทั้ง 9 ตัวนี้ และมี degree of freedom เท่ากับ 9 เราจะได้ค่า R – squared เท่ากับ 100%

case6_pic3

จากผลนี้เราจะเห็นเหมือนกับว่าตัวแบบนี้สามารถอธิบายความผันแปรที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด อย่างไรก็ดีเราจะรู้ว่าตัวแปร ทำนายอย่างสุ่มนี้จะไม่มีความสัมพันธ์ใดใดกับค่าตอบสนองอย่างสุ่มเลย เพราะเราทำการทดลองหาความเหมาะสมผ่านค่า ความผันแปรแบบสุ่ม

จากตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างที่มีลักษณะไม่ปกติ ที่นี้ลองมาดูกรณีข้อมูลจริงบ้าง ตัวอย่างการจัดอันดับ president ซึ่ง ข้อมูลอยู่ในไฟล์ great presidents ซึ่งเราพบว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างค่า approval rating ของ president ที่มีค่าสูงสุด กับ ค่าอันดับในอดีต ซึ่งเราสามารถอธิบายได้ว่า เส้นที่ลากในแผนภาพนั้น เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าข้อมูลไม่มีความสัมพันธ์ ใดใดและเส้นตรงนี้ให้ค่า R – squared  เท่ากับ 0.7%

case6_pic4

สมมติว่าเราทำการปรับตัวแบบจนเป็นแบบ over-specified ด้วยการเพิ่มพจน์พหุนามกำลังสาม (Cubic polynomial) ซึ่งได้ผลลัพธ์ตามแผนภาพด้านล่าง

case6_pic5case6_pic6

จะเห็นว่า ทั้งค่า R-squared และ ค่า adjusted R-squared มีค่าดูดีมาก รวมทั้งค่าสัมประสิทธิ์ทุกตัวก็มีนัยสำคัญ เพราะค่า p-value ทุกตัวมีค่าน้อยกว่า 0.05 และแผนภาพเศษเหลือ (residual plots) ในที่นี้ไม่ได้แสดงไว้ ก็ให้ผลลัพธ์ที่ดูดี เช่นกัน

ในการทำเช่นนี้ คือเราทำให้เส้นมีความโค้งงอไปเพื่อเชื่อมจุดข้อมูลอย่างต่อเนื่อง แทนที่จะทำการหาความสัมพันธ์ ที่แท้จริงของตัวแปรแต่ละตัว

ตัวแบบที่เราได้มาจะมีความซับซ้อนและค่า predicted R-squared ก็ให้ผลที่ต่างออกไป ซึ่งมีค่าเป็นลบ และสามารถ แปลความได้ว่า ถ้า 0% แปลว่าไม่ดี ดังนั้นค่าที่ติดลบยิ่งแย่ลงไปอีก

ค่า predicted R-squared ที่เป็นลบไม่ได้หมายความว่า ตัวแบบนั้นเป็นแบบ over specified เสมอไป แต่ถ้าเมื่อไหร่ ก็ตามที่คุณเริ่มเห็นว่า ค่า predicted R-squared เริ่มมีค่าลดลง ทุกครั้งที่มีการเพิ่มพจน์ตัวแปรทำนายลงในตัวแบบ เว้นแต่ ตัวแปรทำนายนั้นจะมีผลเป็นนัยสำคัญ ไม่เช่นนั้นการเพิ่มตัวแปรทำนายนั้นอาจทำให้ตัวแบบกลายเป็น over specified

บทสรุปเกี่ยวกับค่า adjusted R-squared และค่า predicted R-squared

ข้อมูลทุกตัวมีค่าความผันแปรที่ไม่สามารถอธิบายรวมอยู่ด้วยเสมอ ซึ่งค่า R-squared นี้ไม่ได้บอกไว้ว่าค่าสูงสุด ที่ควรเป็นอยู่ตรงไหน การปรับแต่งค่า R-squared ให้มีค่าเพิ่มขึ้น จึงอาจเป็นเพียงแค่การเพิ่มตัวแปรทำนายเพื่อให้อธิบาย ในสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้

ในกรณีนี้ คุณจะได้ค่า R-squared สูงขึ้น แต่อาจทำให้เกิดผลที่ผิดพลาดได้ และลดความเที่ยงตรง และทำให้ ความสามารถในการทำนายลดลงด้วย ซึ่งค่า adjusted R-squared และค่า predicted R-squared จะทำให้คุณสามารถ ประเมินได้ว่าตัวแปรทำนายกี่ตัวที่ควรจะอยู่ในตัวแบบ

ใช้ค่า adjusted R-squared เพื่อเปรียบเทียบตัวแบบที่มีจำนวนตัวแปรทำนายไม่เท่ากัน

ใช้ค่า predicted R-squared เพื่อบ่งชี้ว่าตัวแบบนั้นสามารถทำนายค่าตอบสนองของข้อมูลใหม่ได้ดีอย่างไรและ ตัวแบบนั้นมีความซับซ้อนเกินไปหรือไม่

การวิเคราะห์การถดถอยเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มาก แต่จะต้องใช้ให้ถูกต้องและไม่หลงไปกับหลุมพรางบางข้อ ที่กล่าวมา

Comments
Name: Enogwe Samuel Ugochukwu

Time: Tuesday, September 3, 2013

ขอบคุณสำหรับบทความ แต่อยากให้คุณอธิบายถึงค่า R-squared สำหรับกรณี multicollinearity

Name: Jim Frost

Time: Wednesday, September 4, 2013

สวัสดี และ ขอบคุณสำหรับข้อความ

ผมได้เขียนอธิบายไว้ในบทความก่อนหน้านี้แล้ว multicollinearity ไม่ได้มีผลต่อการบอกว่าตัวแบบนนั้นดี หรือไม่อย่างไร ดังนั้นจึงไม่ได้มีผลอะไรกับค่า R-squared

คุณสามารถอ่านบทความก่อนหน้าเพิ่มเติมได้ที่ http://blog.minitab.com/blog/adventures-in-statistics/what-are-the-effects-of-multicollinearity-and-when-can-ignore-them


บทความต้นฉบับ : http://blog.minitab.com/blog/adventures-in-statistics/multiple-regession-analysis-use-adjusted-r-squared-and-predicted-r-squared-to-include-the-correct-number-of-variables

เนื้อหาบทความโดยบริษัท Minitab Inc. ประเทศสหรัฐอเมริกา

แปลและเรียบเรียงโดยสุวดี นําพาเจริญ และ ชลทิขา จํารัสพร, บริษัท โซลูชั่น เซ็นเตอร์ จํากัด webadmin@solutioncenterminitab.com


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที