ทีมงาน

ผู้เขียน : ทีมงาน

อัพเดท: 22 ธ.ค. 2015 03.58 น. บทความนี้มีผู้ชม: 63666 ครั้ง

Union of Japanese Scientists and Engineers (JUSE) ได้ทำการรวบรวมชีวประวัติของท่าน ศาสตราจารย์ ดร.คาโอรุ อิชิกาว่า เป็นบทความภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ฟรีทาง http://www.juse.or.jp และทางสมาคมฯ ได้คัดบทความบางส่วนมาแปลเป็นภาษาไทยและเผยแพร่ใน Website ของสมาคมฯ ซึ่งท่านสามารถติดตามอ่านและดาวน์โหลดเอกสารฟรีได้ที่ http://www.tpa.or.th


บทที่ 3 : ความทรงจำที่มีต่อศาสตราจารย์ คะโอรุ อิชิกาวา (Memories of Prof. Kaoru Ishikawa)

3.2  ศาสตราจารย์ อิชิกาวา  ในฐานะ เพื่อน  รุ่นพี่  เจ้านาย และ ครู  (Prof. Ishikawa as a Friend, a Senior, a Boss and a Teacher)

ระลึกถึง ดร. คะโอรุ อิชิกาวา (Thoughts about Dr. Kaoru Ishikawa)
W. Edwards Deming

ข้าพเจ้า รู้จัก และคุ้นเคย กับ ดร. อิชิกาวา เมื่อประมาณปี 1952  ข้าพเจ้ามักจะ อ้างอิงผลงานของท่าน ในการ ชักตัวอย่าง สินแร่เหล็ก    เหล็กเป็นลำเรือ มาถึงท่าเรือที่ญี่ปุ่น    เหล็กทั้งลำเรือนั้น หนักเท่าไร?

ดร.อิชิกาวา และอีกหลายคน ได้ไปเพื่อแก้ไขปัญหานั้น  พวกท่าน ได้คิดค้นวิธีการใหม่ โดย การชักตัวอย่างของสินแร่เหล็ก จาก เหล็กทั้งลำเรือ   ท่านและคณะกรรมการของท่าน นำเสนอ รายงานในวันที่ 22 ธันวาคม ปี 1955 ที่ บริษัท Yawata Steel  วิธีใหม่ในการชักตัวอย่าง ใช้เหล็กน้อยลง 10 %  เทียบกับวิธีการของเหมืองบางเหมือง  และ น้อยลง 2% สำหรับเหมืองอื่นๆ  วิธีการใหม่นี้ ได้รับการยอมรับทางด้านวิศวกรรมศาสตร์   ข้อสรุปก็คือ บริษัทเหล็กญี่ปุ่น  ที่ผ่านมา ได้จ่ายมากเกินไปสำหรับเหล็กของพวกเขา

วิธีการเหล่านี้ที่พัฒนาขึ้นโดย คณะกรรมการของ ดร. อิชิกาวา  ได้กลายมาเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ สำหรับการชักตัวอย่าง ของวัตถุที่มีปริมาณมาก

ดร.อิชิกาวา สร้าง QC Circle ไปทั่วทั้งญี่ปุ่น และสอนคนญี่ปุ่น ให้รู้จักการทำประโยชน์ให้แก่การพัฒนาวิธีการเหล่านั้น

ท่านได้เชิญข้าพเจ้าหลายๆ ครั้งไปที่บ้านท่าน ซึ่งเรา มีความสุขสนุกสนานและอาหารที่อร่อย

ดร.อิชิกาวา จะได้รับการระลึกถึง และ เคารพจากคนจำนวนมาก  ตลอดไป สำหรับหนังสือของท่าน และ การอุทิศที่มากมายต่อการบริหาร

บิดาของท่าน  คุณ Ichiro Ishikawa เป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่  ไม่เห็นแก่ตัว ได้รับความเคารพอย่างสูง  เป็นผู้นำของ Federated Economic Societies  ท่านเป็นประธานคนแรกของ JUSE  ท่านได้มาเยี่ยมข้าพเจ้าที่บ้านข้าพเจ้าที่วอชิงตัน

(ประธานกิตติมศักดิ์  คณะกรรมการ  Deming Prize)


 

 

ความทรงจำต่อ ศาสตราจารย์อิชิกาวา  (Memories of Prof. Ishikawa)
Tetsuichi Asaka

ความทรงจำต่างๆ มากมาย   ของ ช่วง 40 ปี ของมิตรภาพที่ยาวนาน กับ ศาสตราจารย์อิชิกาวา  ผุดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง   ข้าพเจ้ามีพื้นที่จำกัดในการเขียน  ข้าพเจ้าจึงพยายามเลือกบางเรื่องของความทรงจำเหล่านั้น

  1. ข้าพเจ้าไปเยี่ยม Nobeoka Plant ของบริษัท Asahi Kasei Corporation เรื่องการประกันคุณภาพของ ด้ายเรยอง (Bemberg)  นี่เป็นประสบการณ์ครั้งแรกของข้าพเจ้ากับศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้ใช้เวลาในหน้างานจริงของโรงงาน  มีการปรึกษาหารือกัน กว่า 4 วัน   โดยกักตัวเองที่หน้างาน  ตั้งแต่  8 นาฬิกาในตอนเช้า จนถึง 10 หรือ 11 นาฬิกาตอนกลางคืน  ทำการปรึกษาหารือกันตลอดเวลา  ในเวลาอาหารเย็นนั้น เราได้รับสิทธิพิเศษ ด้วย สาเกญี่ปุ่น ขนาด 180 มล  1 ขวด  อย่างไรก็ตาม ข้างนอกของประตูเลื่อน ทีมใหม่สำหรับการปรึกษาต่อไป ได้เตรียมพร้อมรอคิวของตัวเองอยู่  เรายุ่งเกินไปเกินกว่าที่จะผ่อนคลาย หรือ สนุกสนานกับอาหาร

    ศาสตราจารย์ 2 คน มาจากโตเกียว  ดังนั้นโรงงานจึงต้องการที่จะใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้ให้มากที่สุด เราซึ่งยังหนุ่มแน่นอยู่ ทุ่มเทให้เข้ากับการปรึกษาหารือ ทั้งวันและคืน การปรึกษาหารือกัน 14 ถึง 15 ชั่วโมงต่อวันทุกๆ วัน  จึงจะเลิกได้  เรา เจ็บคออย่างสุดๆ และในตอนสุดท้าย เสียง เราเกือบจะหมด   ดังนั้น เราต้องแสดงด้วยท่าทาง เมื่อเรากลับโอซาก้า จาก โออิตะ โดยรถไฟสายเบปปุ  นี่เป็นหนึ่งในความทรงจำที่น่ารัก ที่เราเคยมีร่วมกัน (ช่วงแรกๆ ของ SQC)
     
  2. ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้ให้คำแนะนำอย่างหนักแน่นว่า ข้าพเจ้า ควรเล่นกอล์ฟ และ ปาจิงโกะ และบินโดยเครื่องบิน  ข้าพเจ้าไปซื้อไม้กอล์ฟ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเล่นเลย   ส่วนปาจิงโกะ เมื่อเราเยี่ยมบริษัทที่ฮิโรชิมาด้วยกัน  ท่านได้ชวนข้าพเจ้าไปเล่นด้วยกัน  ในวันต่อมา  ทั้งโรงงานได้ยินเรื่องนี้  และข้าพเจ้าจำต้องเผชิญหนากับ ใบหน้าที่ยิ้มเยอะมาที่ข้าพเจ้า   จากนั้น ข้าพเจ้า ไม่เคยพัฒนาขึ้นเลย จนท้อถอย  และ เลิกเล่นในที่สุด  ส่วนเรื่องขึ้นเครื่องบิน  ข้าพเจ้าเริ่มรู้สึกถึงความสะดวก และใช้บริการเครื่องบินมาจนถึงบัดนี้

    ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้ใช้ เกล็ดประวัติเหล่านี้ ใน คำกล่าว ของท่าน ในงานฉลอง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ของข้าพเจ้า  เมื่อเวลาที่ข้าพเจ้าเกษียณ
     
  3. ปี 1987 เป็นปีที่ครบรอบ 30 ปี ของ การก่อตั้ง Union of Japanese Scientists and Engineer’s Karuizawa Course (QC Seminar for Executives)   ข้าพเจ้าได้กล่าวกับ ศาตราจารย์ อิชิกาวา ว่า เราต้องเกษียณ จาก แนวหน้า เพื่อบันทึก  3 ทศวรรษที่ผ่านมา  และปล่อยให้ผู้สืบทอดของเราทำงานต่อไป   ท่านตอบว่า  “คุณ คุณทำร่วมกับผมนานเกินไปหน่อยแล้ว”  และไม่ยอมตอบ รับ ข้อเสนอของข้าพเจ้า  เสียงของศาสตราจารย์อิชิกาวา มีเสียงแหบมาหลายปีแล้ว ก่อนหน้านี้ และท่านสามารถจัดการได้เพียงการบรรยาย เพียง 3 ชั่วโมงเท่าน้น  ท่านเอา เคยบอกว่า นั่นไม่ใช่เสียงท่าน แต่เป็นเสียงไมโครโฟน ที่ท่านใช้ ซึ่งเสีย   ท่านเป็นคนที่ดื้อรั้น และ ไม่เต็มใจที่จะฟังข้าพเจา
     
  4. ท่านเป็นที่รู้จักอย่างมาก ต่อข้อเท็จจริง ที่ว่า ท่านเป็น ผู้ริเริ่มกิจกรรม QC Circle ซึ่งเป็นที่ยอมรับของทุกๆ คน   ท่านผลักดันตัวท่านอย่างมาก ถึงแม้ว่า ท่านจะมีกำหนดการที่ยุ่งมาก ในการเข้าร่วม สัมมนาที่ตระเวนจัดโดย JUSE   หรือการประชุมท้องถิ่น และ การบรรยาย  ท่านได้บรรยาย ให้กำลังใจผุ้คน และสร้างสรรค์กระดูกสันหลังของ กิจกรรม QC Circle ซึ่ง ยังไม่ไปพร้อมกันในโลก  ในบางจุด คนทั่วไปยังเข้าใจผิดว่า กิจกรรม QC Circle นั้นเป็นอย่างเดียวกับ  TQC   ศาสตราจารย์อิชิกาวา มีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านเคยเน้นประเด็นนี้ในการสัมมนาของผู้บริหารระดับสูง ซึ่ง TQC ตัวมันเองคือการบริหารธูรกิจ และ คุณต้องไม่เข้าใจผิดเกี่ยวกับกิจกรรม QC Circle
     
  5. เป็นเวลา 15 ปี ที่ศาสตราจารย์อิจิกาวา ได้ทำงานอย่างหนักในการจัดตั้ง สมาชิกคณะกรรมการ สำหรับ QC Symposium ที่จัดที่ Hakone   ท่านได้รวบรวม จิตวิญญาณ ของวงศ์ตระกูล ในตอนเย็น และจะถกเถียงและดื่มจนถึง ตีสี่   นั่นคือ “นิสัย” ของท่าน แต่ข้าพเจ้า เห็นดัวยกับคนอื่น ที่จะหยุดตอนเที่ยงคืน และกลับไปที่ห้องของเรา  อย่างไรก็ตาม  มันดูเหมือนคนที่เรียกตัวเองว่า เป็นแผน  ไปยังห้องของท่านศาสตราจารย์ และ ดื่มต่อที่นั่น

    ท่านรักคนที่ทำงานกับท่านอย่างจริงใจ และ ท่านยังคงบอกความเชื่อของท่านให้แก่เขา
     
  6. ในวันที่ 1 เดือนเมษายน ปี 1989 ในงานเลี้ยงที่เป็นเจ้าภาพโดย JSO Japan  ข้าพเจ้าเห็นนักวิจัยหนุ่มคนหนึ่ง ซึ่ง ทำงานอยู่ในกลุ่มวิจัยศาสตราจารย์อิชิกาวา  เชิญท่านให้ดื่ม  ข้าพเจ้าไปห้ามนักวิจัยหนุ่มคนนั้น แต่ศาสตราจารย์ยังคงดื่มกับเขาต่อไป เหมือนกับ ปกป้องเขา

    หลังจากนั้น 2 สัปดาห์ สุขภาพของท่าน เลวลงอย่างรวดเร็ว และท่านเสียชีวิตในวันที่ 16

เพื่อ QC sector เพื่อญี่ปุ่น และโลก  และเพื่อธุรกิจ  เพื่อจิตวิญญาณของครอบครัวท่าน   ศาสตราจารย์อิชิกาวา ทำงานโดยไม่คิดถึงตัวเอง เพื่อ ทุกระดับชั้นของคน  ท่านเผาตัวเอง และไปสู่สวรรค์  ข้าพเจ้ารู้สึกมากว่า นั่นคือสิ่งนั้น  ความรับผิดชอบของเราในปัจจุบัน คือ ทำงานหนัก เพื่อตอบแทนท่าน ถึงแม้ว่า จะเป็นเพียงเศษเสี้ยวของความบากบั่นที่ยิ่งใหญ่ของท่าน

(ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์   University of Tokyo)


 

 

บทเรียน ที่เรียนจาก ศาสตราจารย์ (Lessons Learned from the Professor)
Hitoshi Kume

มันเป็นฤดูฝนในปี 1986  เมื่อข้าพเจ้าได้รับการแจ้งจาก กองเลขานุการของ คณะวิศวกรรมศาสตร์  University of Tokyo  ให้เตรียมการ เสนอ ศาสตราจารยือิชิกาวา ให้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์  ข้าพเจ้าเริ่มเตรียมการ  รวบรวมข้อมูลจาก กองเลขานุการ ซึ่ง กำลังเตรียมเอกสาร และ ขอให้ศาสตราจารย์อิชิกา จัดเตรียมเอกสารที่จำเป็น   งานที่สำคัญที่สุดที่ข้าพเจ้าต้องทำคือ เตรียมประวัติความสำเร็จของท่าน   ด้วยาความร่วมมือจาก คนจำนวนมาก ข้าพเจ้าเสร็จสิ้นงานนั้น ในช่วงปลายปี 1986 และ วันขึ้นปีใหม่ของปี 1987

ในกระบวนการจัดเตรียมประวัติความสำเร็จนั้น  ข้าพเจ้าแปลกใจและประทับใจอย่างมากต่อ ความโดดเด่นของผลงานของท่าน     ข้าพเจ้าประทับใจมากว่า ท่านผู้นำที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง ของกลุ่มผู้นำ ซึ่งอุทิศตนให้กับการฟื้นฟูญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่สอง  ได้อยู่ที่นี่นั่นเอง

ศาสตราจารย์อิชิกาวา ไม่ค่อยชอบถกเถียงมากนัก  หมายความว่า  ท่านไม่ค่อยจะถกเถียงบ่อยว่า TQC คืออะไร หรือ การควบคุมคุณภาพคืออะไร  ท่านปฏิบัติสิ่งที่สถานประกอบการต้องการ สิ่งที่ญี่ปุ่นต้องการ และ สิ่งที่โลกต้องการ ท่านได้แสดงให้เราเห็นว่า การควบคุมคุณภาพ นั้นต้องให้ความสำคัยแก่การปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี

มันคือปี 1959 ซึ่งข้าพเจ้า ได้เห็นบบทเรียนของท่านเป็นครั้งแรก หลังจากนั้น ข้าพเจ้าได้คิดว่า ข้าพเจ้าจะไม่สามารถได้รับการสอนที่เป็นรายละเอียดจากท่าน ว่าให้ทำสิ่งนั้นให้ทำสิ่งนี้   ข้าพเจ้าอาจจะไม่รู้สึกว่า ท่านจะให้การสอนแก่ข้าพเจ้า แต่บางที ข้าพเจ้าอาจจะไม่มั่นใจที่จะบอก   แต่ข้าพเจ้าคิดว่า การเตรียมการประวัติความสำเร็จของท่าน สำหรับการรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นั้น ได้บอกข้าพเจ้าถึงคำแนะนำของท่านอย่างชัดเจน ซึ่งนั่นคือ การควบคุมคุณภาพ หรือ สิ่งที่เราต้องทำ   ข้าพเจ้าโชคดีที่ได้พบท่าน ในฐานะผู้ให้คำปรึกษา และ มีความประทับใจอย่างจริงใจ ที่ได้บังเอิญพบกับท่านเหมือนพรหมลิขิต

การพัฒนาของการควบคุมคุณภาพ ในญี่ปุ่น เป็นหนี้อย่างมากต่อความเชื่อมั่นอย่างสูงของท่านในการควบคุมคุณภาพ   และ จิตใจที่แข็งแกร่ง  ไม่ย่อท้อ และไม่ชอบที่จะแพ้ของท่าน ในการนำเสนอมัน  เราต้องเรียนสิ่งเหล่านี้อย่างจริงใจจากท่าน แต่ บุคลิกนิสัยที่เป็นเลิศของท่าน บางครั้ง แสดงความดื้อรั้นและดื้อดึง ในทุกๆ วัน ด้านนอกของการศึกษา ทำให้เกิดปัญหาต่อผู้อื่น  ข้าพเจ้าคิดว่า ข้าพเจ้าจะเล่า เกล็ด ที่ข้าพเจ้าได้เคยเกี่ยวข้องด้วย

เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักศึกษาปริญญาโท  สมาชิกของห้องแล็ปอิชิกาวา มักจะไปเดินเขา ทุกๆ ฤดูใบไม้ร่วง  ในปีหนึ่ง พวกเราวางแผนที่จะไปปีนภูเขา Takamatsuyama  ที่แหลม Miura   พร้อมกับ Mr. Takamatsu ซึ่งปัจจุบันนี้ ทำงานอยู่ที่ Showa Denko  ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน   ในโอกาสนั้น ศาสตราจารย์อิชิกาวา จะแต่งกายที่ดูดี น่าประทับใจพร้อมกับ เป้ และ รองเท้าปีนเขา   แต่ในวันปรกติ ท่านไม่ค่อยจะแต่งตัว  ท่านดื่มอย่างมากในวันก่อนๆ  หลังจากปีนเขาเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ท่านหายใจหนัก  และมักจะอยู่หลังคนอื่นๆ  และเป็นคนสุดท้ายในกลุ่ม  ท่านสั่งให้เราหยุด  ท่านจะไม่พูดว่า “ฉันเหนื่อยแล้ว  ขอพักสักครู่”  ท่านพูดว่า “ฉันต้องการกินส้มแมนดาริน  งั้นจะรอที่นี่สักพัก”  แล้วนั่งลงที่ถนน  ท่านหยิบเอาผลไม้ออกมาจากเป้  และใช้เวลาทานมัน  ประมาณ 30 นาที  พวกเรานักศึกษาได้ยืนอยู่บนยอดเขา รอท่านมาถึง

ศาสตราจารย์อิชิกาวา เป็นผู้ดื่มสาเกที่หนักมาก   บางคนเรียกท่านว่า “Shusen” (แปลว่า ฤาษีภูเขาที่รัก สาเก)   หลังจากที่ท่านเกษียณจาก University of Tokyo  ท่านป่วน และเข้าโรงพยาบาลของ University of Tokyo Mr. Kawai ภายหลังเป็นประธานบริษัท  Komatsu จำกัด มีความเป็นห่วงสุขภาพของเขา และบอกเพื่อนๆ ของเขา ให้หาหนทาง กันให้ศาสตราจารย์อิชิกาวา ออกจากการดื่ม  ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับคำพูดเขาอย่างยิ่ง และ ก่อตั้งกลุ่ม ที่ชื่อว่า “กลุ่ม ลด ปริมาณสาเกของ ศาสตราจารย์อิชิกาวา”  ซึ่งสุดท้าย ก็ล้มเหลว   ข้าพเจ้าขอร้องให้รุ่นพี่ของกลุ่มเรา เป็นประธานของกลุ่ม แต่เขาเองกลับเป็นนักดื่มอีกต่างหาก  นี่คือความผิดของข้าพเจ้า  อย่างไรก็ตาม มันจะไม่เกิดขึ้น ถ้าข้าพเจ้าเลือกคนที่ถูกต้อง

ประมาณ 1 ปีก่อนการเสียชีวิตของท่าน ท่านได้รับการผ่าตัดลำใส้ใหญ่ที่โรงพยาบาล  St. Luke’s International Hospital  แต่การฟื้นตวของท่านจากการผ่าตัด ก็ไม่ราบรื่น  ข้าพเจ้าเกรงว่าท่านคงเจ็บปวดจากบาดแผลมาก แต่ท่านไม่เคยบ่น  สุขภาพของท่านแย่ลงอย่างมาก โดยเฉพาะหลังจากท่านได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์  และทุกๆ คน คิดว่า มันคงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในการจัดปาร์ตี้ฉลองเครื่องราชอิสริยาภรณ์  คุณนายอิชิกาวา คิดเหมือนกันว่า น่าจะเป็นเรื่องที่ดีที่ไม่จัดปาร์ตี้  และเราก็เสนอแนะให้ท่านเลิกล้มการจัด แต่ท่านไม่ฟัง  ท่านเพียงแต่บอกว่า ให้จัดต่อไปตามกำหนดการ   เราขอร้องให้ท่านอยู่ที่โรงพยาบาลจนกระทั่งถึงวันปาร์ตี้ เพื่อท่านได้พักผ่อนอย่างจริงจัง และ มีสุขภาพที่ดีขึ้น  คราวนี้ ท่านฟังข้าพเจ้า  ปาร์ตี้ประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ที่ต้องขอบคุณต่อ ความร่วมมือจากทุกๆ ฝ่าย  และ ได้จบลงโดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด    ศาสตราจารย์อิชิกาวา กล่าวปราศรัยบนเวที  ถึงแม้ว่าท่านจะเจ็บป่วยมาก  แต่ท่านเหมือนกับนักแสดงผู้ยิ่งใหญ่  ไม่มีสัญญาณแห่งความเจ็บป่วยเลย   จากประสบการณ์ที่ยาวนานในการบรรยาย  ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้กล่าวคำปราศรับที่ประทับใจ  สรุปสุดท้ายด้วยการไม่สนับสนุนต่อ กระทรวงเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ (ปัจจุบัน คือกระทรางเศรษฐกิจ  การค้า และอุตสาหกรรม)  และ กระทรวงการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม (ปัจจุบัน กระทรวงการศึกษา วัฒนธรรม กีฬา  วิทยาศาสตร์ และเทคโนโยลี) นั่นคือตวของท่าน

(ศาตราจารย์ม สาขาวิชา Reaction Chemistry, คณะวิศวกรรมศาสตร์  University of Tokyo)


 

ศาสตราจารย์ดูแล ลูกศิษย์ที่ คาดหวังไม่ค่อยได้คนหนึ่ง
(Professor Took Care of an Unpromising Student)
Noriaki  Kano

ข้าพเจ้าเป็นลูกศิษย์คนหนึ่งในการปรึกษาของศาสตราจารย์อิชิกาวา เป็นเวลา 7 ปีครึ่ง  ตั้งแต่ข้าพเจ้าเป็นนักศึกษาปริญญาตรีปีสุดท้ายจนกระทั่งจบปริญญาเอก   การเป็นนักศึกษาที่นานเช่นน้น ก็เพราะว่า ข้าพเจ้าเป็นนักศึกษาที่เรียกว่า “ คาดหวังไม่ค่อยได้” นั่นเอง  ในช่วงนั้น  ข้าพเจ้าถูกท่านบังคับ  สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากที่สุดสำหรับศาสตราจารย์ก้คือ  ทำอย่างไรจึงจะสร้างความคึกคักให้กับนักศึกษาที่คาดวังไม่ค่อยได้ และทำให้เขาเหล่าน้นได้เข้าใจในความสามารถที่พวกเขาไม่รู้  ให้ได้มีความมั่นใจขึ้น  จุดนี้ ศาสตราจารย์อิชิกาวา มีความอดทนมาก และฟังนักศึกษาของท่านอย่างตั้งใจ ท่าน ให้กำลังใจพวกเราอยู่เสมอโดยยกตัวอย่างจุดดีบางอย่างที่ท่านได้ค้นพบ  เมื่อท่านต้องเผชิญกับความยากลำบาก   เมื่อพวกเรารายงานท่าน อย่างภาคภูมิใจ ท่านมักจะชี้ให้เห็นจุดอ่อนของพวกเรา  ในความคิดที่เป็นตรรกะ  การค้นหา และ ขีดจำกัดของพวกเรา ในการใช้ประโยชน์วิธีการที่ถูกต้อง  ถึงแม้ว่า เพราะเราจะได้ถึงผลลัพธ์ที่น่าสนใจ ท่านไม่เคยชมพวกเราอย่างตรงๆ   ตรงกันข้าม ท่านใช้โอกาสเหล่านี้ เพื่อใช้ประโยชน์ผลลัพธ์นี้ ในบางวิธีการ  ท่านให้คำแนะนำ บรรณาธิการของวารสาร ให้ ถาม เรา ถึง การอุทิศทำประโยชน์ของพวกเรา   ท่านได้ให้คำแนะนำเรา เป็นสมาชิกกล่มวิจัยบางกลุ่ม ที่เกี่ยวข้องกับผลลัพธ์นั้น  ท่านได้แนะนำพวกเรากับบริษัทซึ่ง การศึกษาของพวกเราเอาไปใช้ประโยชน์ได้

นอกจากนี้ ในช่วงที่อยู่ที่มหาวิทยาลัย ข้าพเจ้ายังได้รับการแนะนำที่กรุณาจากท่านนอกมหาวิทยาลัย  คือระหว่างดื่ม หลังจาก ประชุม หรือ ระหว่างเดินทางในงาน    ท่านยังได้รับฉายาว่า  Mr. Preacher  (นักเทศน์)  อีกด้วย   ความจริงแล้ว ท่านรักที่จะเทศนาพวกเราระหว่างดื่มวิสกี้ และเรารู้สึกว่าขาดอะไรไปบางอย่าง เมื่อท่านไม่ได้เทศนา  การดื่มร่วมกับท่าน เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง คือ  “ได้รับการเทศนาจากท่าน   การเทศนาครั้งหนึ่งที่เป็นที่ประทับใจของข้าพเจ้ามาก คือ

มันเป็นช่วงดึก ที่โรงแรม ใน Kagoshima ในปี 1972  เมื่อข้าพเจ้าได้ร่วมในการประเมินโรงงานหนึ่งพร้อมกับท่าน    ข้าพเจ้าถูกดุว่า แนะนำผิดที่โรงงานหนึ่งในโตเกียว  ซึ่งข้าพเจ้ามีความเกี่ยวข้องในฐานะที่ปรึกษามาเป็นเวลา 2 ปี ภายใต้การชี้แนะของท่าน    ข้าพเจ้าขอโทษท่านว่า  “ผมได้พยายามทำดีที่สุดแล้ว”   แต่ข้าพเจ้ากลับถูกดุจากท่านมากขึ้น “ฉันไม่ได้บอกว่า ให้เธอทำดีที่สุดของเธอ  แต่บอกว่า ให้ทำให้ดี”   ข้าพเจ้ารู้จึกช็อคที่ได้ยินดังกล่าว  เพราะจนถึงวันนั้นข้าพเจ้าได้รับการบอกว่า ให้เน้นที่กระบวนการมากกว่าผลลัพธ์  แล้วความสำเร็จก็จะตามมา”   มันใช้เวลานานมากกว่าที่ข้าพเจ้าจะเข้าในสิ่งที่ท่านต้องการจะสอนข้าพเจ้า  ท่าน ได้ชี้ในเชิงเปรียบเทียบว่า  ความผิดพลาดของข้าพเจ้า นั้นก็คือ “การควบคุมกระบวนการ เพื่อ การควบคุมกระบวนการ”  มากกว่า   “การควบคุมกระบวนการ  เพื่อ ผลลัพธ์ที่ดี”

ข้าพเจ้าโชคดีที่ได้ร่วมไปกับท่านในการเดินทางในงาน ไปยังหลายๆ ประเทศ เช่น เยอรมัน อิตาลี อิหร่าน  เกาหลีใต้ มาเลย์เซีย  สวีเดน ไต้หวัน และ อังกฤษ   ถึงแม้จะเป็นการยกย่อง แต่ไม่มีใครสามารถสรรเสริญการบรรยายเป็นภาษาอังกฤษของท่าน ว่าเชี่ยวชาญ  จุดด้อยของท่านดูเหมือนว่า  จะเป็นเรื่องกมารทำความเข้าใจภาษาอังกฤษ  ระหว่างช่วงการถามและตอบ   ศาสตราจารย์อิชิกาวา ดูเหมือนจะไม่เข้าใจในสิ่งที่คนอื่นถาม แล่  แต่คาดคะเนคำถาม ตามคำศัพท์ตัวอย่างที่ท่านสามารถหยิบขึ้นมาได้  เนื่องจากท่านเป็นผู้เขียนที่เป็นผู้ในในเรื่อง  “sampling”   ท่านดูเหมือนว่าจะรู้จักการ นำเอา “sampling” เพื่อ การทำความเข้าใจ  อย่างไรก็ตาม ท่านสามารถปรับตัวได้เป็นอย่างดี ในการรับรู้ความหมายของคำถาม และ ตอบได้ อย่างสมบูรณ์   และแลกเปลี่ยนความเห็นสั้นๆ กับ ผู้ถามคำถาม   การบรรยายของท่าน นั้น เป็นการ approach การสอน ให้แก่ใจของผู้ฟัง มากกว่า สมองของพวกเขา โดยการนำเสนอกรณีปฏิบัติจริง พร้อมกับการอธิบายอย่างง่ายๆ     สิ่งนี้ ตรึงใจพวกเขา และด้วยบุคลิกภาพของท่าน  ท่านสามารถนำพาพวกเขาไปสู่ ทิศทางของท่านได้    มีตัวอย่างที่ดีจากการบรรยายของท่านให้กับผู้บริหารระดับสูงชาวอิหร่าน  มีคำถามจากรองประธานคนหนึ่งว่า  “ผมไม่รู้ว่า จะทำอย่างไรให้ ผู้จัดการฝ่ายผลิต มีความเข้าใจที่ดีกับ process concept (แนวคิดของกระบวนการ)”    ท่านตอบว่า  “คุณมีอำนาจที่จะแต่งตั้งและปลดเขาได้ ดังนั้น คุณสามารถปลดเขาออกได้ถ้าเขาไม่มีหูที่จะฟังคุณ  แน่นอน เราทำอย่างนั้นไม่ได้ในญี่ปุ่น  อย่างไรก็ตาม คุณทำได้ เพราะคุณอยู่ในอิหร่าน ใช่ไหม?”  ผู้ฟังปรบมือเสียงกึกก้อง

ข้าพเจ้ารู้สึกแปลกใจที่ได้เห็นกอง คลิปหนังสือพิมพ์  เมื่อข้าพเจ้าไปเริ่มรื้อถอนถ้ำในบ้านของท่าน ตามคำเรียกร้องของ Mrs. Keiko Ishikawa  หลังจากการเสียชีวิตของท่าน  คลิปหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในต่างประเทศ  และได้มีการจัดเรียงเป็นประเทศๆ    ทุกๆ คนในยุคสมัยของท่านคงมีประสบการณ์ในการพยายามรวมรวมข่าวและบทความในหนังสือพิมพ์ ที่สามารถเอามาใช้ภายหลัง ถ้าต้องการ  ลองมาดูกระบวนการของการเตรียมการ และจัดระเบียบ บทความที่เป็นประโยชน์จากหนังสือพิมพ์คร่าวๆ

  1. ทำเครื่องหมายที่บทความ ซึ่งคุณมีความสนใจ  พร้อบกับวันที่  ชื่อหนังสือพิมพ์ และประเภทของเรื่อง
  2. ตัดออกมา
  3. จัดระเบียบแยกตามประเภท
  4. นำมาอ้างอิง เมื่อต้องการ

กระบวนการที่ซับซ้อนที่กล่าวมาแล้วนั้น ทำให้หลายๆ คนส่วนใหญ่ ยอมแพ้ในการเก็บรวบรวม  เป็นที่เลื่องลือว่า ศาสตราจารย์อิชิกาวา อ่านทุกซอกทุกมุมของหนังสือพิมพ์ จากหน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย   อย่างไรก็ตาม จะมีพวกเรากี่คนที่รู้ว่า ท่านได้ทำคลิปรวมรวมไว้ หลังจากอ่าน    ข้าพเจ้ารูสึกประทับใจบ่อยๆ ต่อความรู้ที่กว้างขวางของท่าน ซึ่งรวมทั้ง ความรู้ทางการเมือง และ เศรษฐกิจ  ในประเทศที่เราไปด้วยกัน  ถึงแม้จะเป็นประเทศที่เราไปเยี่ยมครั้งแรกก็ตาม   ท่านจะต้อง รวมรวมข่าวสารข้อมูลผ่าน คลิปหนังสือพิมพ์เหล่านี้

ทุกๆ เดือนมกราคม  ท่านได้เชิญลูกศิษย์ของท่าน ไปบ้านท่าน เพื่องานฉลองปีใหม่  ซึ่งท่านและครอบครัวของท่าน ต้อนรับพวกเราอย่างอบอุ่น   ครั้งหนี่ง หลังจากที่เรารู้ว่า ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้แต่งงาน  กับ Mr. Keiko Ishikawa โดยการดูตัว  เราถามคำถามที่ไม่สุภาพว่า มีสตรีกี่คนที่ท่านเคยสัมภาษณ์ เพื่อการแต่งงาน ก่อนมาพบกับเธอ   ท่านตอบว่า รูปถ่ายของเธอ เป็นอันดับที่ 52  ในความชอบของท่าน    ข้าพเจ้าจึงถาม Mrs. Ishikawa ด้วยคำถามที่หยาบว่า “ท่านมีอะไรที่จะพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ไหม?”  เธอตามอย่างช้าๆ ว่า เธอไม่ค่อยแคร์มากนัก เพราะรูปถ่ายของท่าน มาถึงเธอ หลังจากลำดับที่ 52  ข้าพเจ้าเลยคิดว่า ท่านคง พยายามเหนือภรรยาของท่าน  อย่างไรก็ตาม Mrs. Ishikawa เหนือกว่าท่านก้าวหนึ่ง

ในหลายๆ ความทรงจำ ข้าพเจ้ามีสิ่งหนึ่งที่ขอปฏิเสะ   ข้าพเจ้าคัดค้านท่านอย่างรุนแรง เมื่อ เรา มี การทะเลาะวิวาทในมหาวิทยาลัยที่ University of Tokyo  ปลายปี 1970  ในช่วงนั้น  ศาสตราจารย์ส่วนใหญ่ เตรียมตัวที่จะ หนี  แต่ศาสตราจารย์อิชิกาวา ยังคงยืนยันในการให้ความเห็น โดยไม่มีการขอโทษ ระหว่าง การประชุมกับ นักศึกษาประท้วงความเห็นของศาสตราจารย์อิชิกาวา โดยการทุบโต๊ะ  อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์อิชิกาวา ปฏิเสธและยังคงพูดปราศรัยต่อไป  มันเลวร้ายเกินกว่าที่จะกล่าว  ข้าพเจ้าโต้เถียงท่านบ่อยๆ แม้ในสัมมนาของท่าน    ในขณะที่ข้าพเจ้าอยู่ปีที่ 3 ของหลักสูตร ปริญญาเอก  และเป็นนักสึกษาอาวุโสสูงสุดของสัมมนาของท่าน   โดยปรกติแล้ว  นักศึกษารุ่นพี่ จะคอยปรามนักศึกษารุ่นน้อง  แต่ข้าพเจ้าทำเหมือนกับเป็นเครื่องมือของพวกเขา  ท่านคงเคยคิดว่า ข้าพเจ้า น่าจะเป็นักศึกษาที่ไร้ความหวัง และ เจ็บแค้น  แต่ท่านไม่เคย พูดจาแดกดัน หรือดุด่าว่า ข้าพเจ้าในเหตุการณ์ต่างๆ ในภายหลังเลย

ปัจจุบัน ข้าพเจ้า เป็นศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัย บางครั้ง ก็จินตนาการว่า ข้าพเจ้าจะทำอย่างไร ถ้า นักศึกษาโดยเฉพาะในระดับปริญญาเอก ได้ทำในสิ่งที่ข้าพเจ้าเคยทำในสมัยเรียน  ข้าพเจ้ามั่นใจว่า ข้าพเจ้าคงไม่สามารถที่จะจัดการกับพวกเขาได้ เหมือนกับที่ศาสตราจารย์อิชิกาวาได้ทำ  เมื่อข้าพเจ้ามองย้อนกลับไปสู่วันที่ยังไม่เติบโตเต็มที่ ข้าพเจ้าอยากที่จะมุดดินหนี   มันเป็นความกรุณาของท่านที่ยอมรับข้าพเจ้าไว้ โดยปราศจากการวิพากษ์วิจารณ์

ข้าพเจ้าไม่สามารถจินตนาการได้ว่า ข้าพเจ้าจะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มี ศาสตราจารย์อิชิกาวา  ข้าพเจ้าเป็นหนี้ ศาสตราจารย์อิชิกาวา  ที่ทำให้ข้าพเจ้าได้มาอยู่ที่นี่

(ศาตราจารย์  วิทยาลัยวิศวกรรม Science University of Tokyo)
หมายเหตุ  Science University of Tokyo ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น Tokyo University of Science


ส.ส.ท. ได้รับอนุญาตจาก JUSE ในการแปลและเผยแพร่บทความเรื่อง  “Kaoru Ishikawa, The Man and Quality Control”


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที