ทีมงาน

ผู้เขียน : ทีมงาน

อัพเดท: 22 ธ.ค. 2015 03.58 น. บทความนี้มีผู้ชม: 63663 ครั้ง

Union of Japanese Scientists and Engineers (JUSE) ได้ทำการรวบรวมชีวประวัติของท่าน ศาสตราจารย์ ดร.คาโอรุ อิชิกาว่า เป็นบทความภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ฟรีทาง http://www.juse.or.jp และทางสมาคมฯ ได้คัดบทความบางส่วนมาแปลเป็นภาษาไทยและเผยแพร่ใน Website ของสมาคมฯ ซึ่งท่านสามารถติดตามอ่านและดาวน์โหลดเอกสารฟรีได้ที่ http://www.tpa.or.th


บทที่ 15 : งานวิจัยของ ดร.อิชิกาวา (The Research of Dr. Ishikawa) - 15.2 ข้อเสนอจาก ดร.อิชิกาวา (Proposal by Dr. Ishikawa)

 

(1) การปฏิรูปความคิดในการบริหาร  การบริหารด้วยการเคารพในความเป็นมนุษย์ (Thought revolution in management, Management with respect for humanity)

การใช้ QC ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือหนึ่งของการควบคุมคุณภาพ แต่ยังเป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารองค์กร  ดร.อิชิกาวา ได้เน้นความสำคัญของสิ่งนี้เสมอมา

“ข้าพเจ้าคิดถึงการนำมาใช้ที่เหมาะสมของ QC…..สามารถนำมาสู่การปฏิรูปรูปแบบของการบริหารของบริษัท และ การปฏิรูปความคิดในการบริหาร” (1981, [B9], p.3)

เราสามารถมองเห็นอย่างชัดเจนถึง แก่นของผลงานของท่าน ที่ได้เขียน ทั้งในช่วงแรก และช่วงหลัง

“มันเป็น การควบคุมคุณภาพที่ใหม่ ซึ่งจะนำ การปฏิรูปอุตสาหกรรม มาสู่รูปแบบการบริหารหรือองค์กร ในประเทศของเรา”  (1954, [B1], p.1)

“ข้าพเจ้าได้ทำงานกับบริษัทหลอมถ่านหิน เป็นเวลา 8 ปี หลังจากจบการศึกษาจาก ภาควิชาเคมีประยุกต์ ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ University of Tokyo ในปี 1939   ในช่วงนั้น ข้าพเจ้ามีประสบการณ์ 2 ปี ไปเป็นทหารเรือของพระเจ้าจักรพรรดิ   ข้าพเจ้าประหลาดใจว่าทำไมบริษัทญี่ปุ่น และองค์กรญี่ปุ่น ทำสิ่งที่แปลกๆ อย่างนั้น   เมื่อข้าพเจ้าได้ศึกษาการควบคุมคุณภาพ  ข้าพเจ้าเริ่มที่จะเชื่อว่า การนำเอาการควบคุมคุณภาพเข้ามาใช้อย่างเหมาะสม สามารถปรับเปลี่ยนสิ่งที่แปลก เหล่านั้นได้  หรือ หมายความว่า สามารถนำเอาการพัฒนาปรับปรุง เข้ามาสู่โครงสร้างองค์กร หรือ การปฏิรูปความคิดในการบริหาร   ข้าพเจ้าได้พยายามอย่างต่อเนื่อง ในการนำเอาการควบคุมคุณภาพเข้ามาใช้ พร้อมกับไอเดียนี้” (1980, [60])

ท่านได้มาสู่ไอเดียนี้ได้อย่างไร?   ตามที่แสดงใน Session 8.3 ข้างบน  ข้าพเจ้าคาดคิดว่า บิดาท่าน คุณ Ichiro คงมีอิทธิพลต่อความคิดของท่าน

ท่านได้มองการบริหาร ดังนี้

“มองเน้นที่ทรัพยากรมนุษย์ทางการบริหาร  ถ้าคุณควบคุมได้อย่างเหมาะสม และ เข้าใจ 3 ปัจจัยการบริหารที่สำคัญ ซึ่งได้แก่ คุณภาพ  ต้นทุน(กำไร) และ ปริมาณ   การบริหารจะประสบความสำเร็จได้”  (1964, [B1], p. 56)

“เพราะว่า บริษัทนั้น อยู่ในสังคมมนุษย์  เป้าหมายเบื้องต้น ควรจะเน้นที่ คนที่เกี่ยวข้องกับบริษัท (ลูกค้า  พนักงาน และครอบครัวของพวกเขา  ผู้ถือหุ้น  คนที่เกี่ยวข้องกับการรับช่วงผลิต และ โลจิสติกส์)  ทำให้เขาได้บรรลุถึงศักยภาพของพวกเขาอย่างมีความสุข” (1980, [60]”

ในด้านนี้ ท่านได้พูดอย่างมั่นใจถึงความสำคัญของการบริหาร ด้วยการเคารพในความเป็นมนุษยชาติ

“มนุษยชาติ คือ มนุษย์ ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยตัวของตัวเอง ด้วยเจตนาของตัวเอง และด้วยตัวของตัวเอง  แตกต่างจากสัตว์ เครื่องจักร หรือ มนุษย์ ไม่ทำเพราะเขาถูกบอกให้ทำ   มนุษยชาติ ยังหมายถึง มนุษย์ที่คิดไตร่ตรองโดยใช้สมองของเขา  มนุษยชาติ นำการบริหาร ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถที่ไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์”  (1968, [60])

ไอเดียนี้ เป็นที่รู้จักในชื่อ  “the Industrial Democracy (ประชาธิปไตยทางอุตสาหกรรม)”   เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า  บริษัทชั้นเลิศของอเมริกันหลายๆ แห่ง ได้พยายามที่จะใช้แง่มุมนี้ไปใช้ในการบริหาร  ความเห็นของ ดร.อิชิกาวา เป็นแก่นแท้ของการบริหาร  ท่านยังได้ชี้ให้เห็นว่า คุณภาพ (Quality, Q) ต้นทุน (Cost, C)  การส่งมอบ (Delivery, D หรือ Quantity ปริมาณ) เป็นเป้าหมายขั้น 2 ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร  และเรียกว่า  “เป้าหมายขั้น 2 สำหรับการบริหารที่ดี (secondary targets for good management)”

(Hiroshi  Osada,  Noriaki Kano)


 

(2)  การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร/ การต่อต้าน ลัทธิมืออาชีพ (Company-wide quality control/ Anti-professionalism)

ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในเรื่องไอเดียของความเป็นมืออาชีพทางด้านคุณภาพนั้น  มีเพียงแต่ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องคุณภาพซึ่งก็คือฝ่ายตรวจสอบหรือฝ่ายควบคุมคุณภาพจะต้องรับผิดชอบในเรื่องเกี่ยวกับคุณภาพ เป็นผู้ดำเนินการจริง  แต่ตั้งแต่ดร.อิชิกาวา มีความสงสัยในไอเดียนั้น (1981 [B9], p. 33) ท่านได้ยืนยันถึงเรื่อง การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร กับการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคนตั้งแต่ผู้จัดการถึงผูปฏิบัตงาน (ที่ขาดไม่ได้)

“ในเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ  ผู้บริหารสูงสุด ต้องมีความรับผิดชอบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของบริษัท และกำหนดให้เป็นนโยบายองค์กร   มันจะสำเร็จได้นั้นต้องให้พนักงานทุกคน รวมถึงผู้บริหารระดับกลาง วิศวกร  พนักงานที่เกี่ยวข้องกับงานธุรการ รวมทั้งพนักงานหน้างานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในนั้น  ถึงแม้ว่า เพียงวิศวกรบางคนศึกษาและพยายามทำ มันก็จะไม่สำเร็จ  สิ่งที่เราต้องการสำหรับความสำเร็จคือ การทำความเข้าใจ  ความมุ่งมั่น และ การปฏิบัติจากผู้บริหารสูงสุด 

เพื่อที่จะนำการควบคุมคุณภาพไปพร้อมกับพนักงานทุกๆ คน เราจะต้อง สร้างมนุษยสัมพันธ์ให้เกิดขึ้น  หรือหมายความว่า  มันเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องสร้าง โครงสร้างความร่วมมือทั่วทั้งบริษัท”  (1964, [B1], p.15)

เราจะเห็นได้ว่า นี่คือ ต้นแบบของการควบคุมคุณภาพแบบญี่ปุ่น เมื่อเปรียบเทียบรายงานการสอนของ Dr. Joseph M. Juran และ บทสรุปการบรรยายของ Dr. Juran ที่เขียนโดย ดร.อิชิกาวา

“Dr. Juran ได้มาถึงบทสรุปต่อไปนี้ หลังจาก กลับจากการเยี่ยมโรงงานในญี่ปุ่น

  1. บริษัทญี่ปุ่นดูเหมือนพยายามที่จำนำเอาการควบคุมคุณภาพเข้ามาใช้ ผ่านโครงสร้างระดับองค์กร   ในวิธีการแบบนี้  การฝึกอบรมการควบคุมคุณภาพ จะเป็นสิ่งจำเป็นที่หน้างาน  นอกจากนี้ โรงงาน ต้องเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างทุกๆ ฝ่ายงาน อย่างไรก็ตาม ถ้าเราทิ้งการควบคุมคุณภาพไว้ที่หน้างาน  พวกเขาจะไม่เข้าในความสำคัญของ ปัญหาคุณภาพ  ดังนั้น พวกเขาจะเอาใจใส่เฉพาะที่หน้างานของตนเอง  และมีอคติต่อการควบคุมคุณภาพ  ดังนั้น วิศวกรที่หน้างาน จะเสียเวลาในการทำเรื่องที่ไม่มีจุดหมาย ......นี่เป็นปัญหาที่เราจัดให้มีวิศวกรที่หน้างาน..... เราต้องตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ (ส่วนทีเหลือขอตัดออก)”    (Chuuzou Kamio (1954), “Dr.Juran 4. Visiting Company & Plant…Nippon Steel Pipe,”  Hinshitsu Kanri (Statistical Quality control), Vol.5, No.8, pp.400-401)

    “Dr. Juran กล่าวว่า การควบคุมคุณภาพ จะต้องถูกนำเข้ามาใช้ โดยฝ่ายควบคุมคุณภาพ  ในอีกด้านหนึ่ง  ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่น กล่าวว่า มันต้องถูกนำเข้ามาใช้โดยฝ่ายวิศวรรม หรือโดยวิศวกรรมที่หน้างาน พร้อมกับความร่วมมือของฝ่ายควบคุมคุณภาพ ถ้าจำเป็น” (1954, [134])

            ดร.อิชิกาวา ได้สรุปในครั้งแรกเกี่ยวกับความคิดของท่านในเรื่องการควบคุมคุณภาพโดยรวมที่ญี่ปุ่น น่าจะอยู่ในรายงานที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ นำเสนอการควบคุมคุณภาพของญุ่ป่น ในโอกาสที่คณะผู้แทน (หัวหน้าคณะ Mr. Nobobu  Yamaguchi,  รองหัวหน้าคณะ ดร.อิชิกาวา) ที่ไปเยี่ยมสหรัฐอเมริกา โดยการสนับสนุนของ Japan Productivity Center ในเดือนมกราคม ปี 1958  รายงานนี้ เป็นข้อมูลที่ดีที่จะได้รู้ถึงการนำเอาการควบคุมคุณภาพเข้ามาใช้ในญี่ปุ่น ในขณะนั้น

“ในบริษัทที่ได้เริ่มนำเอาแนวคิดการควบคุมคุณภาพเข้ามาใช้ ในช่วงเริ่มต้น  กิจกรรมการการควบคุมคุณภาพได้ริเริ่มขึ้นเรียบร้อยแล้วในประมาณ ปี 1952 ไปทั่วทั้งบริษัท ไม่เพียงแต่ฝ่ายคุมคุณภาพเท่านั้น แต่ยังรวมฝ่ายโลจิสติกส์ ฝ่ายขาย ฝ่ายวิศวกรรม และฝ่ายอื่นๆ  ในเวลาเดียวกัน  ผู้บริหารสูงสุด เริ่มนำเอา guidance ของการควบคุมคุณภาพ มาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารธุรกิจ” (1958, [37], (1))

ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น ดร.อิชิกาวาได้ยืนยันว่า การควบคุมคุณภาพจะต้องดำเนินการไปทั่วทั้งบริษัท  ท่านได้ถ่ายทอดไอเดียต่อไปนี้ ในบท essay  “Total Management and QC”  พิมพ์ลงในปกในของวารสาร Hinshitsu Kanri (Statistical Quality Control)

“ข้าพเจ้าหวังว่า การควบคุมคุณภาพในญี่ปุ่น จะต้องดำเนินไปเป็นการควบคุมคุณภาพในภาพที่กว้าง หรือ total quality control ซึ่งรวมเอาต้นทุน และปริมาณการขาย  ไม่ได้เป็นภาพแคบในความหมายของ Dr. Juran”  (1956,  [4])

“หลักการพื้นฐานของการควบคุมคุณภาพ คือ การผลิต และขาย สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ หลักการนี้ คือ การบริหารธุรกิจอย่างแน่นอน”  (1956, [4])

ท่านยังได้กล่าวถึงอิทิพลของ Dr. Juran ต่อความเคลื่อนไหวของ total quality control

“ความเคลื่อนไหวดังกล่าว ได้มีความคึกคักขึ้น  ซึ่งเป็นเป้าหมายของ การบรรยายของ Dr. Juran  ตามที่ได้กล่าวข้างต้น”   (1958, [37], (1))

เราไม่มั่นใจว่า คำว่า “การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (company-wide quality control)” มาจากไหน  ท่านได้กล่าวไว้ดังข้างล่างนี้

“เราตั้งใจที่จะเข้าใจคำศัพท์  “การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร”  หรือ  “Total quality Control”   หรือ  QC ในความหมายที่กว้าง  เป็นต้น เพื่อความสะดวกของเรา ตั้งแต่ในอดีตในญี่ปุ่น   คำว่า QC จึงเป็นที่รู้จักกันดี  ดังนั้น จึงเป็นธรรมชาติที่จะอธิบายในความหมายเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้กล่าวข้างต้น”  (1960, [78])

พิจารณาจากคำกล่าวของท่านข้างต้น  คำว่า “การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร”  จึงได้มีการใช้มาก่อนทศวรรษ 1960  ท่านยังได้อธิบายไอเดียของคำจำกัดความ ในข้อความต่อไปนี้

“จากการวิจัย และสำรวจผู้บริโภค  มาระยะหนึ่ง  การควบคุมคุณภาพที่มีความต่อเนื่องเป็นที่เรียกร้อง เพื่อทำระให้ระบบมีความสมบูรณ์ ซึ่งนำเอากลไกที่ดีต่างๆ เข้ามาสู่ทุกฝ่ายงานพนักงานทุกๆ คน ไม่ว่าประธาน จนถึง ภารโรง ไม่เพียงแต่ฝ่ายที่อยู่แนวหน้า เช่น ฝ่ายออกแบบฝ่ายจัดซื้อ(วัตถุดิบ)  ฝ่ายตรวจสอบ หรือขาย  แต่รวมถึงทีมงานเช่น วิจัย  วิศวกรรม คลังสินค้าและโลจิสติกส์  การออกแบบเพื่อการผลิต  เครื่องจักรเครื่องมือ  การซ่อมบำรุง  การบัญชี และธุรการทั่วไป  หรือหมายความว่า พนักงานทุกคน จะต้องเริ่มคิดถึงบทบาทของเขาคืออะไรในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพ”  (1960, [78])

(Noriaki   Kano)


 

(3)  การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ของ ดร.อิชิกาวา (Dr. Ishikawa’s “company-wide quality control”)

ดร.อิชิกาวา ได้อธิบายภาพลักษณ์ของ  “การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร” โดยหลักคิดของท่าน ที่แสดงไว้ในภาพ 15.1  ข้างล่างนี้  ตามภาพ วงกลมของ การควบคุมคุณภาพ จะวางอยู่ นอกสุดของ วงที่เรียกว่า control (PDCA)  ในขณะที่ วงกลมของการประกันคุณภาพ (Quality Assurance) หรือ  QC ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ จะวางอยู่ตรงกลาง  ไอเดียนี้ เขียนไว้ในหนังสือของท่าน  (1964,[B1], p. 57)   QC Circle วางทับซ้อนบน 3 วงกลม และ ทุกๆ วงรวมกันแล้ว ประกอบขึ้นเป็น TQC   กล่าวโดยทั่วไปได้ว่า วัตถุประสงค์สูงสุดของ TQC คือ การประกันคุณภาพ   ดร.อิชิกาวา ได้เน้นเป็นพิเศษที่ การประกันคุณภาพ สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่ง เป็น จุดต้นน้ำที่สุดของ การประกันคุณภาพ

(Hiroshi  Osada)

การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร คืออะไร

ภาพ 15.1  การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร คืออะไร?  (1981, [B9], p. 130)


 

(4)  คำกล่าวที่เหมาะสมกับเวลา  (Timely quotes)

ดร.อิชิกาวา ส่งเสริมการควบคุมคุณภาพ ด้วยคำกล่าวที่เหมาะสมจำนวนมาก ในแต่ละช่วงเวลา

ดร.อิชิกาวา ได้ ยืนยืน ต่อ นโยบายการค้าเสรีที่ประกาศโดย รัฐบาลญี่ปุ่นในปี 1960  โดยนำเสนอ “การนำเสนอการควบคุมคุณภาพสำหรับการค้าเสรี” (1960, [81])   ท่านยังยืนยันว่า การนำเสนอ และ ส่งเสริมการควบคุมคุณภาพ เป็นหนทางที่ดีที่สุด สำหรับโลกอุตสาหกรรม ซึ่งมอมเมาอย่างมากกับ การค้าเสรี

ในช่วงกลางทศวรรษ 1960  ท่านได้สร้างสรรค์คำขวัญขึ้นมา 2 คำดังนี้

“Secure Profits by Quality control (รับประกันกำไรโดยการควบคุมคุณภาพ)” (1966, [87])

“Quality Control and Customer’s Benefit (การควบคุมคุณภาพ และ ประโยชน์ของลูกค้า)” (1966, [14])

คำขวัญแรกนั้นได้รับการนำเสนอให้แก่ ระดับบริหาร ซึ่งคิดว่าการนำเอา QC เข้ามาใช้นั้น ยาก เพราะผลกระทบจากการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นที่ลดต่ำลง ในปี 1965  ในขณะเดียวกัน คำขวัญที่สองนั้น เป็นคำขวัญที่มีต่อคนที่คิดว่า การรับประกันกำไร นั้น ปฏิเสธ ผลประโยชน์ของผู้บริโภค

ท่านตอบโต้ว่า “เพราะว่าหลักการพื้นฐานของ QC นั้น คือ การผลิตสิ่งที่ลูกค้าต้องการจะซื้อด้วยความยินดี  QC นำมาสู่การเพิ่มขึ้นของ การขาย และกำไรของบริษัท   ในขณะที่ กำไรของบริษัทนั้น จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้า คุณไม่เข้าใจ QC ได้ดี”  (1966, [14])

ท่านยังได้กล่าวยืนยันอีกว่าควร  “ขายผลิตภัณฑ์คุณภาพดี ในราคาที่สูง “ มากกว่า “ขายสินค้าดี ราคาต่ำ” มาหลายปีแล้ว  พร้อมกับการยกตัวอย่าง การส่งออกด้วยการตัดราคา ของผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่น  คำพูดนี้ได้เกิดก่อนมานานแล้ว (1966, [14])

ในช่วงท้ายทศวรรษ 1960  ท่านได้ให้คำขวัญดังต่อไปนี้

“Quality Control Toward the World (การควบคุมคุณภาพไปสู่โลก)” (1968, [93])

“World Enterprise and QC---A Road to a World Enterprise( วิสาหกิจของโลกกับ QC—หนทางไปสู่ วิสากิจของโลก)”  (1969, [98])

ในวัตถุประสงค์เพื่อเร่งการรับรู้ของ การเสริมสร้างคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่น  ท่านได้เสนอให้เห็นถึงความสำคัญของการวิสัยทัศน์ระดับโลก แก่บริษัทญี่ปุ่น ซึ่งโน้มเอียงไปเน้นภายในประเทศ เพราะ จิตวิญญาณที่โดดเดี่ยว  ในอีกด้านหนึ่ง ท่านยังได้กล่าวคำขวัญต่อไปนี้ เพื่อให้พวกเรามีความอ่อนน้อมถ่อมตน

“จงมองดูโลก พร้อมกับเสริมสร้างพื้นฐานธุรกิจของคุณด้วย QC”  (1968, [200])

“กำจัดการถดถอย โดยการใช้ประโยชน์ การควบคุมภาพแบบญี่ปุ่น”  (1969, [43])

“สร้าง สังคมที่มั่งคั่ง ด้วย การควบคุมคุณภาพ”  (1971,  [100])

ในทศวรรษ 1970  มี 3 คำขวัญ ได้รับการนำเสนอ ต่อ ปัญหามลภาวะ

ในทศวรรษ 1980  ท่านได้เน้นความสำคัญของ การสร้างความแข็งแกร่งให้กับการบริหาร เพื่อสร้างโลกที่เจริญรุ่งเรือง ผ่านการควบคุมคุณภาพ  ในทิศทางของโลกาภิวัฒน์  คำขวัญในขณะนั้น มีดังนี้

“ไม่มีเขตแดนสำหรับการควบคุมคุณภาพ  มันเป็นความสามารถทางการบริหารที่จะอยู่ในคำถาม”  (1980, [115])

“ความมั่งคั่งของโลก ผ่านคุณภาพ”  (1982, [28])

(Noriaki  Kano)

 

(5) คุณภาพมาก่อน  เป็นคุณภาพที่ตรงกับความพึงพอใจของลูกค้า (Quality first, Quality to meet customer’s satisfaction)

มีการถกเถียงกันมายาวนานตั้งแต่อดีตว่า “คุณภาพ” หมายถึงอะไร  ในปัจจุบัน  มันหมายความอย่างกว้างขวางและ ทั่วโลกว่า มีความหมายเดียวกัน “ความพึงพอใจของลูกค้า”   ท่านได้ยืนยันมานานแล้วว่า “เป็น คุณภาพที่ตรงกับความพึงพอใจของลูกค้า”

“เมื่อเราพูดถึง “คุณภาพ” ในความหมายของการควบคุมคุณภาพ  มันจะหมายถึงคุณภาพที่ตรงกับความพึงพอในจของลูกค้า”  (1954, [B1], p.5)

ท่านได้กล่าวยืนยันว่า QC จะต้องมีการนำเอาไปใช้ ไม่เพียงแต่ในขั้นตอนการผลิต แต่ในขั้นตอนของการออกแบบด้วย  เพื่อที่จะทำให้ แนวคิดนั้นเป็นจริงขึ้นมา  นอกจากนี้ ท่านยังชี้ให้เห็นถึงความต้องการของการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพในภาพที่กว้าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับต้นทุน  การส่งมอบ และบริการ ไม่ใช่ “คุณภาพในความหมายที่แคบ”  ซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์เท่านั้น  พูดสั้นๆ ก็คือ  “Total Quality Control”  เป็นสิ่งที่จำเป็น

“เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์คุณภาพทีดี ที่ลูกค้ายินดีที่จะซื้อ  เราต้องเน้นที่คุณภาพของมัน  ที่มีความสมดุลกับต้นทุน และความสมดุลกับปริมาณ  โดยเฉพาะในประเทศของเรา  ความสมดุลนี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจนัก  มันชัดเจนที่ว่า เราต้องตัดสินเรื่องคุณภาพ บนพื้นฐานของความสมดุลนี้ ด้วยการเน้นที่ประเด็นนี้ เราจึงสามารถเรียกมันว่า total quality control”  (1960, [78])

ในวิถีนี้ ท่านได้คิดถึง คุณภาพที่ คาบเกี่ยวกับประโยชน์ของลูกค้าอยู่เสมอ  ภายหลัง ท่านยังได้ชี้ให้เห็นอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ คำและประโยชน์ต่อไปนี้   “Quality Control and Customer’s Benefit (การควบคุมคุณภาพและ ประโยชน์ของลูกค้า”  (1966, [14])    “Consumerism (การคุ้มครองผู้บริโภค)” (1970, [20])  และ  “Consumers and Quality Control (ลูกค้าและการควบคุมคุณภาพ)”  (1985, [31])

นอกจากนี้ ท่านยังได้กล่าวกับเรา ให้ทำให้ “คุณภาพที่ตรงกับความพึงพอใจของลูกค้า” ให้เป็นจริง เป็นนโยบายการบริหารอย่างหนึ่ง ซึ่งจะนำมาสู่กำไรขององค์กรระยะยาว พร้อมกับคำขวัญที่ว่า “Quality first (คุณภาพมาก่อน)”

“ถ้าคุณไล่ตาม “quality first”  กำไรระยะยาวจะเพิ่มขึ้น  ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณไล่ตามกำไรระยะสั้น คุณจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันระดับโลก และ กำไรระยะยาว”

(Noriaki  Kano)


ส.ส.ท. ได้รับอนุญาตจาก JUSE ในการแปลและเผยแพร่บทความเรื่อง  “Kaoru Ishikawa, The Man and Quality Control”



บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที