GIT Information Center

ผู้เขียน : GIT Information Center

อัพเดท: 15 ก.พ. 2016 08.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 2406 ครั้ง

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับขอนำเสนอบทความเรื่อง "ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 58 ยังฉลุย ทองคำและพลอยสีโตเลข 2 หลัก " สนใจบทความอื่นๆ อ่านเพิ่มเติมที่ http://www.git.or.th/Gem สอบถาม พูดคุย หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ที่ https://www.facebook.com/GITInfoCenter


ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 58 ยังฉลุย ทองคำและพลอยสีโตเลข 2 หลัก

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในปี 2558 มีมูลค่า 371,025.45 ล้านบาท (10,993.34 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.68 จากมูลค่า 323,535.87 ล้านบาท (10,061.06 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีก่อนหน้า เป็นสินค้าส่งออกสำคัญในอันดับที่ 3 ด้วยสัดส่วนร้อยละ 5.13 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยโดยรวม โดยมีทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปเป็นตัวขับเคลื่อนหลักด้วยยอดการส่งออกสูงถึงหนึ่งในสาม และมีอัตราการเติบโตถึงกว่าร้อยละ 40 ขณะเดียวกันเมื่อหักมูลค่าการส่งออกทองคำดังกล่าวออกไป การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยขยายตัวที่ร้อยละ 3.62 ด้วยมูลค่า 242,311.31 ล้านบาท (7,186.10 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งสะท้อนศักยภาพการส่งออกที่แท้จริงที่ยังคงเติบโตได้แต่ในอัตราที่ลดต่ำลงมากจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวถึงร้อยละ 13.43    

ตารางที่ 1 มูลค่าการส่งออกสุทธิของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยเปรียบเทียบ ปี 2557 และ 2558

รายการ

มูลค่า (ล้านบาท)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

ม.ค.-ธ.ค. 57

ม.ค.-ธ.ค. 58

ม.ค.-ธ.ค. 57

ม.ค.-ธ.ค. 58

(ร้อยละ)

มูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด

323,535.87

371,025.45

100.00

100.00

14.68

หัก มูลค่าส่งออกทองคำฯ

89,683.27

128,714.14

27.72

34.69

43.52

คงเหลือมูลค่าการส่งออกที่ไม่รวมทองคำฯ

233,852.60

242,311.31

72.28

65.31

3.62

หัก มูลค่าสินค้าส่งกลับจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ

15,868.94

12,272.36

4.90

3.31

-22.66

คงเหลือมูลค่าส่งออกสุทธิ

217,983.66

230,038.95

67.38

62.00

5.53

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 

ตารางที่ 2  มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ปี 2557 และ 2558

 

รายการ

มูลค่า (ล้านบาท)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

ม.ค.-ธ.ค. 57

ม.ค.-ธ.ค. 58

ม.ค.-ธ.ค. 57

ม.ค.-ธ.ค. 58

(ร้อยละ)

1. ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป

89,683.27

128,714.14

27.72

34.69

43.52

2. เครื่องประดับแท้

123,695.40

124,730.82

38.23

33.62

0.84

2.1 เครื่องประดับเงิน

54,395.27

53,505.73

16.81

14.42

-1.64

2.2 เครื่องประดับทอง

60,970.75

62,357.21

18.85

16.81

2.27

2.3 เครื่องประดับแพลทินัม

3,526.45

3,941.37

1.09

1.06

11.77

2.4 อื่นๆ

4,802.93

4,926.51

1.48

1.33

2.57

3. เพชร

59,021.64

59,943.45

18.24

16.16

1.56

 3.1 เพชรก้อน

5,656.55

5,362.07

1.75

1.45

-5.21

 3.2 เพชรเจียระไน

52,753.13

54,515.11

16.31

14.69

3.34

 3.3 อื่นๆ

611.96

66.28

0.19

0.02

-89.17

4. พลอยสี

29,412.70

35,064.90

9.09

9.45

19.22

 4.1 พลอยก้อน

1,759.42

1,536.08

0.54

0.41

-12.69

 4.2 พลอยเนื้อแข็งเจียระไน

18,170.89

21,175.63

5.62

5.71

16.54

 4.3 พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน

9,482.39

12,353.19

2.93

3.33

30.28

5. เครื่องประดับเทียม

13,051.07

13,158.15

4.03

3.55

0.82

6. อัญมณีสังเคราะห์

3,807.78

3,862.18

1.18

1.04

1.43

7. อื่นๆ

4,864.01

5,551.81

1.50

1.50

14.14

รวมทั้งสิ้น

(1+2+3+4+5+6+7)

323,535.87

371,025.45

100.00

100.00

14.68

 

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 

ทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูป เป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่สุดในหมวดอัญมณีและเครื่องประดับ (พิกัดศุลกากรตอนที่ 71) มีมูลค่า 128,714.14 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.69 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับโดยรวม เติบโตสูงขึ้นจากปี 2557 ถึงร้อยละ 43.52 และมีปริมาณการส่งออกราว 127 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 24.51 โดยการส่งออกที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากแรงเทขายเพื่อทำกำไรจากบรรดานักลงทุนที่วิตกกังวลกับสถานการณ์ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจของจีนและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐเป็นหลัก

 

ในส่วนของตลาดส่งออกทองคำนั้น สวิตเซอร์แลนด์เป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุด มีสัดส่วนร้อยละ 41.92 ขณะที่หลายประเทศในอาเซียนได้กลายเป็นตลาดส่งออกทองคำที่สำคัญของไทยด้วยสัดส่วนการส่งออกรวมกันสูงเกือบร้อยละ 43 โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) ซึ่งประชากรมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นตามลำดับ และมักนิยมเก็บออมเงินในรูปของทองคำแท่งเพื่อสะสมความมั่งคั่งมากกว่าการฝากธนาคาร โดยมีกัมพูชาเป็นดาวเด่นที่นำเข้าทองคำจากไทยในปี 2558 เพิ่มขึ้นถึงกว่าเท่าตัว ด้วยสัดส่วนเกือบหนึ่งในสี่ของยอดส่งออกทองคำรวม และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเพราะผู้ค้าทองของไทยหลายรายได้รุกเข้าไปเปิดตลาดสำเร็จแล้ว 

เครื่องประดับทอง มีมูลค่าส่งออก 62,357.21 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.81 ขยายตัวร้อยละ 2.27 โดยปี 2558 เป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปีที่ราคาทองคำปรับลดลงต่ำกว่า 1,100 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์1 ส่งผลให้เครื่องประดับทองมีราคาที่ดึงดูดใจผู้ซื้อ นับเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยกระตุ้นให้ความต้องการซื้อเครื่องประดับทองกลับมาคึกคักอีกครั้ง ขณะที่ เครื่องประดับเงิน มีมูลค่าส่งออก 53,505.73 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.64 และมีสัดส่วนร้อยละ 14.42 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด โดยมีสาเหตุหลักมาจากการส่งออกไปยังรัสเซียที่เศรษฐกิจยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องนั้นมีมูลค่าลดลงจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 64.29  

สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกเครื่องประดับแท้ที่สำคัญที่สุดของไทย ด้วยมูลค่า 33,397.70 ล้านบาท มีสัดส่วนราวร้อยละ 27 ของการส่งออกเครื่องประดับแท้ทั้งหมด ปรับลดลงร้อยละ 0.53 และยังถือเป็นตลาดผู้บริโภคเครื่องประดับขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย ในปี 2558 สหรัฐอเมริกามีการนำเข้าและ/หรือการบริโภคเครื่องประดับแท้เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นตามลำดับ โดยการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นสินค้าจากอินเดียและจีนที่มีราคาถูกลงอันเป็นผลมาจากการอ่อนค่าของเงินรูปีและเงินหยวนที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่สินค้าจากทั้งสองประเทศดังกล่าว ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Euromonitor ระบุว่า ราคาเฉลี่ยต่อหน่วยของเครื่องประดับแท้ที่จำหน่ายในสหรัฐฯ ในปีที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 และชาวอเมริกันนิยมซื้อเครื่องประดับระดับกลางถึงบนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ตลาดหลักอื่นๆ สำหรับเครื่องประดับแท้ของไทย ซึ่งประกอบด้วย ฮ่องกง เยอรมนี และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ยังส่งออกไปได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.77, 6.32 และ 7.97 ตามลำดับ

เพชรเจียระไน เป็นสินค้าส่งออกสำคัญอีกรายการหนึ่งที่มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 14.69 ด้วยมูลค่า 54,515.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าได้ร้อยละ 3.34 แม้ว่าในปีที่ผ่านมาราคาเพชรในตลาดโลกจะลดต่ำลง อีกทั้งตลาดเพชรเจียระไนก็ค่อนข้างซบเซา โดยมีสาเหตุหลักมาจากการปรับลดลงของอุปสงค์ในการบริโภคเพชรและเครื่องประดับเพชรในประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดเพชรขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ เนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนต้องระมัดระวังการใช้จ่ายจากภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและนโยบายการปราบปรามทุจริตคอรัปชั่นอย่างจริงจังของภาครัฐ ทั้งนี้ ในส่วนของตลาดเพชรเจียระไนนั้น การส่งออกจากไทยไปฮ่องกงและญี่ปุ่นยังคงขยายตัวได้ดีที่อัตราร้อยละ 17.55 และ 70.40 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปยังประเทศศูนย์กลางการค้าเพชรโลกทั้งเบลเยียม อินเดีย และอิสราเอล ล้วนมีมูลค่าลดลงทั้งสิ้น

พลอยสี ซึ่งถือเป็นสินค้าดาวเด่น หรือกล่าวได้ว่าเป็น “ฐานรากแห่งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย” ยังคงเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการส่งออกในปี 2558 ด้วยอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 19.22 คิดเป็นมูลค่า 35,064.90 ล้านบาท แม้ว่าในช่วงปี 2558 ตลาดพลอยสีโลกอาจไม่คึกคักเหมือนที่ผ่านมาเนื่องด้วยอุปสงค์จากตลาดจีนลดลงอย่างฮวบฮาบจากที่เคยเฟื่องฟูเติบโตแบบก้าวกระโดดติดต่อกันหลายปี ตลาดส่งออกพลอยสีที่สำคัญของไทย 3 อันดับแรก ประกอบด้วย ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และ จีน ซึ่งยังคงเติบโตได้ดีด้วยอัตราการขยายตัวร้อยละ 28.19, 18.66 และ 22.11 ตามลำดับ ทั้งนี้ การส่งออกพลอยเจียระไนของไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ดังนี้

-  พลอยเนื้อแข็งเจียระไน มีสัดส่วนร้อยละ 60.39 ของมูลค่าการส่งออกพลอยสีโดยรวม คิดเป็นมูลค่า 21,175.63 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 16.54 โดยแบ่งเป็นเป็นการส่งออกทับทิม แซปไฟร์ และ มรกต ซึ่งเป็น 3 รายการสินค้าในหมวดพลอยเนื้อแข็งเจียระไนในสัดส่วนร้อยละ 37.63, 44.91 และ 17.46 ตามลำดับ ซึ่งสินค้าทั้ง 3 รายการ มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นทั้งหมด

-  พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน มีสัดส่วนร้อยละ 35.23 ของมูลค่าการส่งออกพลอยสีโดยรวม คิดเป็นมูลค่า 12,353.19 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 30.28 โดยการส่งออกไปยังฮ่องกงเพียงประเทศเดียวมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 63.29 ของมูลค่าการส่งออกพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนทั้งหมด

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าแม้สถานการณ์การค้าในตลาดโลกสำหรับสินค้าบางรายการในปี 2558 จะไม่ค่อยสดใสนัก แต่อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยก็ยังสามารถฟันฝ่าสร้างการเติบโตแก่มูลค่าการส่งออกได้ เนื่องด้วยความเชี่ยวชาญการค้าของบรรดาผู้ประกอบการ และความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้า ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่จะต้องได้รับการส่งเสริมให้คงอยู่และ/หรือเข้มแข็งยิ่งขึ้นเพื่อก้าวย่างอย่างมั่นคงต่อไปในปี 2559

สำหรับท่านที่ต้องการอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มและเข้าถึงสถิติการนำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ สามารถลงทะเบียนใช้บริการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการตลาดที่ www.git.or.th/gem หรือกดไลค์หน้าเพจเฟซบุ๊ค GITInfoCenter เพื่อรับข้อมูลข่าวสารด้านอัญมณีและเครื่องประดับอย่างต่อเนื่อง



1 จากข้อมูลของ kitco.com ราคาเฉลี่ยทองคำในตลาดโลกในปี 2558 อยู่ที่ 1,160.06 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ โดยมีระดับราคาต่ำสุดอยู่ 1,049.40 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2558 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที