Kaizen Man

ผู้เขียน : Kaizen Man

อัพเดท: 23 ธ.ค. 2006 05.48 น. บทความนี้มีผู้ชม: 79664 ครั้ง

“Creative & Idea Kaizen” แปลจากวารสารรายเดือน “Soi to Kufu” ของ Japan Human Relations Association สมาคมที่ให้คำปรึกษาเรื่องไคเซ็นทั้งในและนอกประเทศญี่ปุ่นมานานนับสิบปี
* ช่วยให้พนักงานในองค์กรรู้จัก กิจกรรมไคเซ็นที่ถูกต้อง
* ส่งเสริมให้พนักงานทำไคเซ็นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรด้วยตัวอย่างการทำกิจกรรมไคเซ็น, แนวคิด ปรัชญา, ทรรศนะผู้บริหารต่อกิจกรรมไคเซ็น นำเสนอในรูปแบบที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย


กิจกรรมไคเซ็นต์ที่ดำเนินการตามแบบโตโยต้า บริษัท โคนันเดงกิ จำกัด (มหาชน) โรงงานนิชิโนมิย่า


ค่อย ๆ เริ่มทีละน้อย

ในการที่จะก้าวขี้น ด้วยช่วงก้าวที่ยาวภายในอึดใจเดียวนั้น หรือการที่จะโดดพุ่งจากพื้นดินสู่ที่สูง ๆ ในครั้งเดียวนั้น ย่อมอันตรายมาก หากก้าวพลาดย่อมมีการเจ็บตัวเกิดขึ้น ในการประยุกต์ใช้กระบวนการผลิตแบบเซลล์หรือหนึ่งคนหนึ่งแผงงานก็เช่นเดียวกัน หากผิดพลาดในการประยุกต์ใช้แล้วย่อมเกิดความเสียหายมาก ดังนั้น จึงควรทำไปทีละขั้น ซึ่งตัวอย่างทดลองตัวอย่างหนึ่งก็คือ กรณีการประยุกต์ใช้ของบริษัทโคนันเดงกิ


ทำกิจกรรมที่เหมาะกับขนาดขององค์กร
ชื่อของกิจกรรม คือ กิจกรรม TKK ซึ่งย่อมาจากอักษรตัวหน้าของคำจำกัดความนั่นคือ T มาจากรูปแบบจากโตโยต้า (Toyota) K คือ นำมาปรับให้เหมาะกับรูปแบบของโคนัน (Konan) และ K ตัวสุดท้ายคือ กิจกรรมไคเซ็น (Kaisen) ซึ่งได้เริ่มทำกิจกรรมนี้มาได้ 7 เดือนแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในกระบวนการเตรียมตัว แต่ผลที่ได้รับก็ยังมีปรากฏตามมาทีละน้อย ซึ่งจะนำเสนอดังต่อไปนี้
- เริ่มจาก 5 ส
ในกระบวนการเริ่มต้นของทุกกระบวนการไม่จำกัดเพียงในกิจกรรมตามรูปแบบโตโยต้าเท่านั้น ในกิจกรรมความปลอดภัยก็เช่นกัน จะมีการเริ่มใช้ 5 ส ก่อน หากไม่เริ่มต้นจากตัวนี้ก่อน ตัวอื่นก็ย่อมจะไม่มีการเริ่มต้น
ซึ่งในปัจจุบันนี้ บริษัทโคนันเดงกิได้เริ่มนำมาก่อนวิธีการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System: TPS) เสียอีก ซึ่งในปัจจุบัน 5 ส นั้น ได้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นฐานของบริษัทนี้ไปแล้ว
ปัญหาหนึ่งก็คือ ความร่วมมือของบริษัทวัตถุดิบ
ถึงแม้ว่าจะมีการพยายามประยุกต์ใช้รูปแบบโตโยต้าก็ตาม แต่หากยังต้องพึ่งการผลิตจากบริษัทภายนอกแล้วย่อมเป็นการยากที่จะทำให้เกิดความคล่องตัวในกระบวนการ เช่น ตามแผนการผลิตแล้ว บริษัทวัตถุดิบจะต้องส่งของมาในวันที่เท่านั้นเดือนเท่านี้ เป็นวัสดุAจำนวน 10 ชิ้น หากสินค้าไม่มาตามวันทีกำหนดไว้แล้ว ย่อมทำให้ตารางงานของบริษัทปั่นป่วนไปด้วย จะป้องกันการเก็บของเกินสต็อกด้วยการสั่งของมาให้พอดีนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ถ้าบริษัทวัตถุดิบไม่ส่งของมาตามกำหนด จึงจำเป็นที่จะต้องสั่งของปริมาณมากมาเก็บที่โกดังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
หากมองจากมุมของบริษัทผู้ผลิตวัตถุดิบแล้ว เขาย่อมต้องรับงานจากบริษัทอื่นนอกจากบริษัทบริษัทโคนันเดงกิ การที่เขาจะให้สิทธิพิเศษในการผลิตสินค้าให้บริษัทใดก่อนนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้


จากการผลิตสินค้าชุดใหญ่เปลี่ยนเป็นการผลิตสินค้าชุดเล็กให้ได้มากที่สุด
เริ่มต้นจากฝ่ายประกบชิ้นส่วนก่อน ซึ่งเดิมนั้นได้มีการผลิตชุดใหญ่มาตลอด ทำเหมือนกับการผลิตสินค้าล็อตเล็ก ๆ
ในการผลิตสินค้าล็อตใหญ่นั้น จะไม่ใช้สายพานลำเลียงแต่จะใช้โต๊ะทำงานไม่กี่ตัววางเรียง ๆ กันอยู่ข้าง ๆ และใช้พนักงานหลาย ๆ คนอยู่ประจำที่โต๊ะและทำงาน
สินค้าที่ยังอยู่ระหว่างการผลิตจำนวนมากนั้น พื้นที่วางของ จัดว่ามีความจำเป็นมาก และอาจเป็นเหตุให้เกิดการหยิบหรือสับเปลี่ยนชิ้นงานอย่างเปล่าประโยชน์ได้ นอกจากนี้ยังทำให้เวลาในการผลิตต่อหน่วย (lead time) นานขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การส่งสินค้าให้ทันกำหนดส่งแบบฉิวเฉียดและมักจะมีการรีบเร่งเกิดขึ้นบ่อยมาก

รูปแบบการทำงานแบบร้านแผงลอย
อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปแบบการทำงาน

หลากหลายหน้าที่ เริ่มจากการแยกโต๊ะประกอบงานให้ออกจากกัน งานติด-ประกอบที่เคยใช้คนหลายคนแบ่งหน้าที่กันทำก็เปลี่ยนเป็นให้พนักงานหนึ่งคนต่อโต๊ะประกอบงานหนึ่งตัว โดยฝึกให้พนักงานหนึ่งคนนี้ปฏิบัติงานเกือบทั้งหมดอย่างชำนาญ รูปแบบการทำงานแบบนี้จะทำให้ต้องใช้อุปกรณ์และเครื่องมือหลากหลายชนิดขึ้น ดังนั้น จึงต้องมีการเตรียมสิ่งเหล่านี้ไว้รอบ ๆ โต๊ะประกอบงานโต๊ะละหนึ่งชุดด้วย


- การจัดตั้ง (mizu sumashi)
Mizu Sumashi เป็นชื่อเรียกการแบ่งงานที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาใหม่ โดย Mizu Sumashi หมายความว่า พนักงานประกอบสินค้าจะไปรับสินค้าที่อยู่ในระหว่างการผลิต และจัดเตรียมชิ้นส่วนที่จะนำไปประกอบไว้ เมื่อทำอย่างนี้แล้ว การแบ่งงานของพนักงานประกอบกับพนักงานจัดเตรียมชิ้นส่วน และพนักงานรับสินค้าการระหว่างผลิต ก็จะมีความชัดเจนยิ่งขึ้น ในโรงงานทุกโรงนั้นไม่ใช่ว่าจะปฏิบัติงานด้วยระบบนี้ทุกโรง แต่เราก็ตั้งใจว่าเราจะเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่สามารถทำได้ก่อน

- การแจ้งให้ทราบด้วยการ์ดในกรณีเร่งด่วน
พนักงานที่ดูแลรับผิดชอบในเรื่องของ Mizu Sumashi นั้น จะต้องจัดเตรียมชิ้นส่วนจำเป็นที่จะนำมาประกอบและจัดให้เป็นเซ็ตให้เรียบร้อยในกล่องเพื่อที่จะส่งมอบให้พนักงานประกอบสินค้าต่อไป
ในการส่งมอบกล่องนั้น ภายในกล่องจะต้องแนบใบแสดงรายการ (เป็นใบที่แสดงรายละเอียดจำพวกชื่อของชิ้นส่วนหรือจำนวนที่ใส่อยู่ในกล่อง) ติดไปด้วย ชิ้นงานที่มีกำหนดส่งงานในวันนั้น จะแนบการ์ดพื้นสีเหลืองตัวอักษรสีดำ ซึ่งเขียนว่า ส่งงานวันนี้ เข้าไปในซองที่ใส่ใบแสดงรายการด้วย พนักงานประกอบก็จะจัดลำดับการทำก่อนหลังตามการ์ดที่แนบมาด้วยนี้
- การประกอบงานไว้อย่างคร่าว ๆ
โดยทั่วไปแล้วเนื้องานของ Mizu Sumashi คือ การจัดเตรียมชิ้นส่วนที่จำเป็นสำหรับการประกอบชิ้นงานเท่านั้น จึงไม่ใช้เวลาเท่าไรนักในการทำ ในอีกทางหนึ่งนั้น การประกอบชิ้นงานเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลามาก ดังนั้นในการแก้ไขในความไม่สมดุลของเวลาที่เกิดขึ้นนี้ พนักงานที่เป็นผู้ทำ Mizu Sumashi อาจจะทำการประกอบชิ้นส่วนไว้อย่างคร่าว ๆ ในบางเวลาก่อนที่จะส่งมอบให้พนักงานประกอบก็ได้เพื่อลดความแตกต่างด้านเวลา
- การแจ้งให้ทราบด้วยไฟเตือน
โดยหลักการ พนักงานที่ทำ Mizu Sumashi จะต้องขนย้ายสินค้าที่ประกอบเสร็จจากพนักงานฝ่ายประกอบออกไป แต่ทว่าในบางเวลาพนักงานประกอบสินค้าต้องเคลื่อนย้ายสินค้าออกไปเอง ทั้งนี้เป็นเพราะว่าพนักงานที่รับผิดชอบเรื่อง Mizu Sumashi อาจจะลืมสังเกตในบางที จึงมองข้ามไป
ในการแก้ปัญหานี้ จึงมีการติดหลอดไฟเตือนไว้ที่โต๊ะประกอบงาน และเมื่อพนักงานประกอบชิ้นงานเสร็จแล้ว ก็กดสวิตช์ให้ไฟเตือนติดเพื่อที่พนักงาน Mizu Sumashi จะได้รับรู้และมาขนสินค้าที่ประกอบแล้วออกไป


ทำ 2 ทีมให้เป็นหนึ่งเดียว
ในการผลิตสินค้าชนิดเดียวกันที่มีขนาดเล็กและใหญ่นั้น จะมีการแบ่งทีมผลิตออกเป็น 2 ทีม คือทีมที่ผลิตชิ้นงานใหญ่กับทีมที่ผลิตชิ้นงานเล็ก (ชิ้นงานขนาดใหญ่ จะใช้พื้นที่ในการทำงานมากกว่าขนาดเล็กและขนาดของเครื่องมือที่ใช้ก็แตกต่างไปเช่นกัน) ในบางเวลาที่ชิ้นงานขนาดใหญ่มีทีท่าว่าจะเสร็จไม่ทันกำหนดส่ง ทีมผลิตชิ้นงานขนาดใหญ่ก็จะมีงานหนักมากในขณะที่ทีมผลิตงานขนาดเล็กก็ทำของตนเองไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังมีกรณีตรงกันข้ามกันเกิดขึ้นด้วย ในกรณีแบบนี้ จึงทำการรวมทีมทั้ง 2 ทีมให้เป็นทีมเดียวกัน ถ้างานใดมีทีท่าว่าจะไม่ทันกำหนด ก็ให้ทุก ๆ คนช่วยกันผลิตให้ทันกำหนดส่งงานโดยไม่แบ่งว่าเป็นงานของทีมผลิตขนาดใหญ่หรือทีมผลิตขนาดเล็ก

การตรวจสอบ ณ จุดผลิต
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในการผลิตสินค้าล็อตใหญ่ ๆ นั้น การตรวจสอบความเรียบร้อยของสินค้าจะทำก็ต่อเมื่อสินค้าผลิตครบตามจำนวนแล้วจึงเริ่มตรวจสอบ เช่น ถ้าผลิตสินค้า 100 ชิ้นงาน ก็ต้องรอให้ผลิตให้ครบ 100 ชิ้นงานแล้ว จึงทำการตรวจสอบชิ้นงาน ในการตรวจสอบนั้นเป็นครั้งแรกที่จะได้เจอของเสีย และจะต้องทำการผลิตสินค้าเพิ่มใหม่เพื่อชดเชยกับชิ้นงานเสียที่เกิดขึ้นหรือต้องนำไปแก้ไข ซึ่งการจัดเตรียมชิ้นส่วน วัตถุดิบนั้นจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่กำหนดส่งกระชั้นชิดเข้ามาพนักงานก็มักจะเกิดอาการลนลานในการผลิต
ตั้งแต่เปลี่ยนระบบการประกอบงานให้เป็นแบบแผงลอยทำคนเดียวแล้ว เราก็จัดเตรียมเครื่องมือสำหรับตรวจสอบชิ้นงานไว้ให้ และเมื่อชิ้นงานเสร็จแล้วก็ให้ตรวจสอบแบบชิ้นต่อชิ้นไปเลย ดังนั้น ถ้าพบของเสียหรือมีปัญหาก็จะสามารถแก้ไขได้ ณ จุดนั้นเลยหรือแม้กระทั่งการผลิตใหม่ก็จะทำได้ง่ายกว่า

กิจกรรมปรับปรุงของบริษัทโคนันเดงกิ
อาจจะพูดได้ว่ากิจกรรม TKK เพิ่งจะเริ่มต้นก็จริง แต่ว่าหลังจากนี้ไปจะมีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานที่จำเป็นต้องแก้ไขอีกมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งนี้การตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ของพนักงาน ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อย ๆ หลังจากนี้ไปเราตั้งเป้าไว้ถึงการผลิตแบบของโตโยต้า และทำกิจกรรมนี้ต่อไปเรื่อย ๆ แบบไม่รีบแต่ก็ไม่หยุด
นอกจากนี้ การนำกิจกรรมนี้ไปใช้สนับสนุนในที่ประกอบการจริงก็ถือว่าเป็นกิจกรรมปรับปรุงเช่นกัน โรงงานที่นิชิโนะมิยะนี้ มีพนักงานประจำราว ๆ 90 คน พนักงานแบบพาร์ทไทม์ราว ๆ 60 คน ในจุดที่ลงมือทำงานจริงนั้น ส่วนใหญ่พนักงานพาร์ทไทม์จะเป็นผู้ปฏิบัติ ซึ่งแน่นอนว่าทางบริษัทเองก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งถ้าทางพนักงานพาร์ทไทม์มีข้อเสนอแนะในเรื่องของการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
ข้อเสนอแนะเพื่อที่จะปรับปรุงการทำงานนั้นให้ไปส่งที่สำนักงานและที่จริงแล้วทางสำนักงานก็จะรับไว้พิจารณาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอแนะที่ได้นำไปปฏิบัติแล้วหรือยังไม่ได้นำไปปฏิบัติก็ตาม แต่ทว่าส่วนใหญ่แล้วก่อนที่พนักงานจะส่งข้อเสนอแนะนั้น มักจะมีการปรึกษาเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างานก่อน ดังนั้น เนื้อหาในข้อเสนอแนะที่พนักงานส่งมานั้นจึงไม่ใช่แค่เพียงเขียนความต้องการหรือร้องทุกข์แต่อย่างใด แต่เป็นเนื้อหาที่ได้ผ่านการพิจารณาอย่างละเอียดมาก่อนหน้านี้แล้ว
ข้อเสนอแนะที่ถูกยื่นไปแล้ว ผู้ยื่นจะได้รับบัตรซื้อหนังสือราคา 1,000 เยน โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น และสำหรับข้อเสนอแนะที่มีเนื้อหาดี ๆ นั้นจะถูกจัดอันดับและจะได้รับรางวัลเป็นเงินสด
กิจกรรมกลุ่มย่อยนั้นไม่ได้ทำก็จริงแต่ทว่าส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่ยื่นข้อเสนอแนะมักจะเป็นกลุ่มพนักงานที่ทำงานอย่างเดียวกัน หรือทำงานร่วมกันกับแผนกอื่น ๆ และส่วนใหญ่มักจะยื่นข้อเสนอแนะเป็นกลุ่ม แน่นอนว่าผู้ที่ยื่นข้อเสนอแนะโดยตัวบุคคลเองก็ไม่น้อยเช่นกัน


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที