4 เคล็ดลับ(เพิ่มเติม)ที่ทำให้คุณมั่นใจว่าคุณกำลังทำงานแบบ DOE ไม่ใช่ D.O.A (Four More Tips for Making Sure Your DOE isn’t D.O.A.)

ในบทความก่อนมีการพูดถึงคำแนะนำที่ช่วยในการทำ DOE ตามแบบฉบับของผู้สอนของ MINITAB, คุณLou Johnson และ คุณ Eduardo Santiago
บทความนี้จะช่วยทำให้คุณมั่นใจว่าการทำการทดลองของคุณจะไม่เสียหายตั้งแต่เริ่มต้น

1 : ทำการแบ่งส่วนการทดลองโดยเน้นไปที่ตัวแบบ resolution V

ในหลายๆกรณีจะเลือกทำการทดลองบางส่วนของตัวแบบโดยทำ ½ หรือ ¼ ของการทดลอง  และถึงแม้ว่าจะมีเรื่อง confound หรือ อิทธิพลของปัจจัยร่วมกันอยู่ แต่ถ้าเป็นตัวแบบ Resolution V ที่มีผลกระทบของ Confound น้อยที่สุด แล้วยังสามารถทำการประมาณค่า main effects และ two-way interaction ได้ด้วย ซึ่งการทำการทดลองที่มีจำนวนการทดลองที่น้อยลงจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการทดลองลดลง

2 : การทำการทดลองซ้ำ (Replicate) จะช่วยเพิ่มอำนาจในการทดสอบของการทดลอง

อำนาจในการทดสอบ (Power of test) คือ ความน่าจะเป็น (Probability) ในการตรวจจับอิทธิพลของปัจจัยที่มีต่อค่าตอบสนอง (Response) ค่าอำนาจในการทดสอบเป็นค่าที่ขึ้นกับจำนวนการทำซ้ำ ในการเพิ่มอำนาจในการทดสอบด้วยการเพิ่มจำนวนการทำซ้ำ เท่ากับเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะทำบ่งชี้ว่าปัจจัยใดมีอิทธิพลต่อค่าตอบสนอง

3 : เพิ่มอำนาจในการทดสอบด้วยการทำให้ค่าตอบสนองที่เป็นเลขฐานสอง( binary) ให้เป็นตัวเลข(ฐานสิบ)

เป้าหมายในการทดลองคือการลดจำนวนข้อบกพร่อง (defect) นั่นหมายถึง ค่าตอบสนองมักจะเป็นจำนวนข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ค่าจำนวนข้อบกพร่องเป็นค่าตัวเลขที่ไม่สะท้อนผลลัพธ์มากนักและยังทำให้เกิดต้นทุนการทำงานมากด้วย ถ้าทำการวัดค่าเป็นตัวเลขที่สัมพันธ์กับจำนวนข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจะทำให้จำนวนสิ่งตัวอย่างลดลง และทำให้อำนาจในการทดสอบเพิ่มขึ้นด้วย

4 : ทำการศึกษาตัวแปรทั้งหมดที่สนใจและค่าตอบสนองทั้งหมดที่สำคัญ

ตัวแบบการทดลอง Factorial จะเป็นการศึกษาที่ครอบคลุมตัวแปรตั้งต้นที่น่าจะมีอิทธิพลต่อค่าตอบสนองเกือบทั้งหมด อย่ากังวลกับความซับซ้อนของการทดสอบเพราะจะทำให้คุณพลาดตัวแปรตั้งต้นที่น่าจะเป็นไปได้  การคัดปัจจัยออกจากการทดลองจะทำให้ลดโอกาสในการบ่งชี้ความสำคัญของตัวแปรนั้นลง

คุณมีเคล็ดลับในการทำ DOE ของคุณหรือไม่


บทความต้นฉบับ : http://blog.minitab.com/blog/real-world-quality-improvement/four-more-tips-for-making-sure-your-doe-isnt-doa

เนื้อหาบทความโดยบริษัท Minitab Inc. ประเทศสหรัฐอเมริกา
แปลและเรียบเรียงโดยสุวดี นําพาเจริญ และ ชลทิขา จํารัสพร, บริษัท โซลูชั่น เซ็นเตอร์ จํากัด webadmin@solutioncenterminitab.com